พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4307/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขัดแย้ง: การให้กรรมสิทธิ์ร่วมโดยเสน่หาแล้วขอถอนคืนเนื่องจากเนรคุณ เป็นฟ้องที่ไม่ชัดเจน
คำฟ้องโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ กำลังใจจำเลยเพื่อให้มุมานะ ในการศึกษา จึงได้ยอมจดทะเบียนลงชื่อ โจทก์กับจำเลยร่วมกันเป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง หมายความว่า โจทก์ ให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินตามฟ้องโดยเสน่หา แต่คำฟ้อง ของโจทก์ตอนต่อมาบรรยายว่า ที่ดินตามฟ้องโจทก์ลงชื่อจำเลย ร่วมไว้โดยเสน่หา ทั้งยังไม่ได้ให้ โดยเด็ดขาด เพียงลงชื่อไว้แทนชั่วคราว และโจทก์ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนี้อย่างเป็นเจ้าของตลอดมา หมายความว่า โจทก์ยัง ไม่ได้ยกที่ดินให้จำเลยเด็ดขาด เพราะโจทก์ยังคงครอบครองเป็น เจ้าของแต่ผู้เดียว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน ที่โจทก์ยกให้ จึงเป็นฟ้องที่ขัดกันและเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหลังคืนที่ดินตามคำพิพากษาเดิม ศาลไม่ถือว่าฟ้องขัดแย้งกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ยกที่พิพาทตีใช้หนี้ให้โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยได้กลับเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ขอให้รับชำระหนี้ที่บิดาจำเลยกู้มา และคืนที่พิพาทที่มอบไว้ให้ทำประโยชน์ ศาลตัดสินให้โจทก์คืนที่พิพาท โดยวินิจฉัยว่ายังเป็นของจำเลยอยู่โจทก์จึงเรียกค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะที่โจทก์ได้ทำการปลูกมะพร้าวและผลอาสินลงในที่พิพาทดังนี้ คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวข้อเท็จจริงขัดกันอย่างไรศาลรับวินิจฉัยคำฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขัดแย้งในตัว: ลักทรัพย์ vs. รับของโจร – ฟ้องไม่ชัดเจน ศาลต้องยกฟ้อง
ในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้น ถ้าฟ้องกล่าวยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์แล้วตอนปลายกล่าวฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดรับของโจรในทรัพย์รายเดียวกันนั้นอีก ดังนี้ย่อมเป็นฟ้องที่กล่าวขัดแย้งกันในตัว เป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขัดแย้งกันในตัว: ลักทรัพย์ vs. รับของโจร - ศาลยกฟ้อง
ในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้น ถ้าฟ้องกล่าวยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์แล้วตอนปลายกล่าวฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดรับของโจรในทรัพย์รายเดียวกันนั้นอีก ดังนี้ย่อมเป็นฟ้องที่กล่าวขัดแย้งกันในตัวเป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซื้อขายที่ดินโดยอ้างสัญญากู้ ฟ้องกับคำขอขัดแย้งกัน ศาลไม่สามารถบังคับตามคำขอได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินแก่โจทก์ตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ โดยบรรยายฟ้องมีความว่าโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินกัน จำเลยต้องการเงินไปใช้ก่อน โจทก์จึงมอบเงินให้จำเลยไป 700 บาท อีก 100 บาทจะชำระกันเมื่อทำโอน จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นเงิน 800 บาท ต่อมาจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องและได้แนบสำเนาสัญญากู้มาท้ายฟ้องด้วยดังนี้ แม้เดิมจะได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินหรือไม่ก็ดี แต่ที่กล่าวในฟ้องว่าได้ตกลงทำสัญญากู้กันประกอบด้วยตัวสัญญากู้เอง เห็นได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องตกลงจะซื้อขายที่ดินกัน ฉะนั้นจึงถือได้ว่า โจทก์ฟ้อง เรื่องซื้อขายที่ดินอ้างสัญญากู้มาเป็นหลักฐาน ซึ่งมีข้อความชัดเจนเป็นเรื่องสัญญากู้เงินไว้ชัดแจ้งแล้วเช่นนี้ โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินโดยอาศัยสัญญากู้หาได้ไม่ เพราะฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องขัดกันอยู่ ศาลจะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขัดแย้งในตัวเอง: ลักทรัพย์ vs รับของโจร โจทก์ฟ้องทั้งสองฐานไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 19 กันยายน 2490 จำเลยสมคบกันลักไม้สักหรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยรับไม้สักนั้นไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้าย ต่อมาตำรวจค้นพบไม้สักที่จำเลยลักไปที่ข้างรั้วบ้านของจำเลย ขอให้ลงโทษ ดังนี้เป็นฟ้องที่ขัดกันอยู่ในตัว ใช้ไม่ได้ตามกฎหมาย
(อ้างฎีกา 975/2480)
(อ้างฎีกา 975/2480)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขัดแย้งในตัว: ลักทรัพย์ vs. รับของโจร โจทก์ฟ้องได้ฐานเดียว
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 19 กันยายน 2490 จำเลยสมคบกันลักไม้สัก หรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยรับไม้สักนั้นไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้าย ต่อมาตำรวจค้นพบไม้สักที่จำเลยลักไปที่ข้างรั้วบ้านของจำเลยขอให้ลงโทษ ดังนี้เป็นฟ้องที่ขัดกันอยู่ในตัว ใช้ไม่ได้ตามกฎหมาย (อ้างฎีกา 975/2480)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขัดแย้งกันเองจำเลยไม่เข้าใจข้อหา ศาลยกฟ้อง
โจทฟ้องว่าจำเลยเปนผู้ร้ายลักทรัพย์หรือมิฉนั้นรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเปนของร้ายขอไห้ลงโทสตามมาตรา 293,321 นั้น นับว่าเปนฟ้องขัดกันเองลงโทสจำเลยไม่ได้.
อ้างดีกาที่ 722/2481
อ้างดีกาที่ 722/2481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีลักทรัพย์หรือรับของโจรที่ขัดแย้งกัน ทำให้ลงโทษจำเลยไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์หรือมิฉะนั้นรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้ายขอให้ลงโทษตามมาตรา 293,321 นั้น นับว่าเป็นฟ้องขัดกันเองลงโทษจำเลยไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 722/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานขายยาควบคุมพิเศษ การยึดยาของกลางไม่ถือเป็นฟ้องขัดแย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันประเภทยาควบคุมพิเศษโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.6 ว่า จำเลยขายยาไวอากร้า ซึ่งเป็นยาจำพวกขยายหลอดเลือด ซึ่งมีส่วนผสมซิลเดนาฟิล จัดเป็นยาแผนปัจจุบันประเภทควบคุมพิเศษโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดที่โจทก์กล่าวหาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง, 101 พอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาแล้ว แม้ฟ้องโจทก์ในข้อ 2 บรรยายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดยาจำนวนตามฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.6 จากจำเลยเป็นของกลาง ก็ไม่เป็นการบรรยายฟ้องที่ขัดกัน เพราะฟ้องข้อดังกล่าวมิใช่องค์ประกอบของความผิดเป็นเพียงบรรยายถึงการจับกุมจำเลยและการยึดยาของกลางเท่านั้น อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 บัญญัติว่า ... "ขาย" หมายความว่า "ขายปลีก... และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย" การที่ยึดยาของกลางจากจำเลยได้จำนวนเท่ากับที่จำเลยขาย จึงหาทำให้ฟ้องขัดกันไม่ เพราะไม่ว่าจำเลยจะขายหรือมีไว้เพื่อขายยาของกลาง ก็เป็นความผิดฐานขายยาของกลางตามฟ้อง ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว