พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนประมาท ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาแทน
เหตุเกิดรถชนกันผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่บ้าง ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตาม ป.อ. 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา 5 (2) โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30 โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จึงไม่ชอบ และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยมาโดยไม่ชอบจำเลยก็ฎีกาไม่ได้ เนื่องจากเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8103/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ถูกจำคุกในเรือนจำแห่งหนึ่ง และความผิดเกิดขึ้นในอีกท้องที่หนึ่ง
แม้เรือนจำกลางนครศรีธรรมราชจะเป็นภูมิเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ก็ตาม แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) มิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดี กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นจะรับชำระคดีหรือไม่ก็ได้ เมื่อความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดทุ่งสง และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอทุ่งสงท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นเป็นผู้สอบสวน จึงอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดทุ่งสงได้ ที่โจทก์อ้างว่าไม่อาจโอนตัวจำเลยไปคุมขังที่เรือจำจังหวัดทุ่งสงเพื่อฟ้องคดี เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยในการย้ายจำเลยนั้น เป็นเพียงการคาดการณ์เอาเองของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น จึงไม่สมควรให้ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช) รับชำระคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีอาญา แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดกฎกระทรวงออกตามกฎหมาย
ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นทันทึกไว้ โจทก์ได้ระบุการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยบรรยายว่าจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งได้อ้างพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 11, 60 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องมีและแสดงเครื่องหมายดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ถือว่าฟ้องของโจทก์ขาดข้อความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวีธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีอาญาฐานไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัย แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดกฎกระทรวง
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ ปรากฏว่าโจทก์ได้ระบุฐานความผิดในข้อหาใช้รถไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ รวมทั้งการกระทำที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด โดยบรรยายว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์คันที่กล่าวในฟ้องโดยไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งได้อ้าง พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 60 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องมีและแสดงเครื่องหมายดังกล่าว ก็ไม่ถือว่าฟ้องของโจทก์ขาดข้อสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด ทั้งถ้อยคำที่ว่า อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็มีความหมายแสดงโดยปริยายว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องชัดเจนเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด ฟ้องของโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้ จึงชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ไปซึ่งอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การบันทึกข้อมูลไม่ใช่การฟ้องคดี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจาตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดซึ่งศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ วิธีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงต้องมาศาลกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระดังกล่าว
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่พนักงานธุรการของโจทก์นำมาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้โดยสภาพบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจาและเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น
ในวันที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้ พิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง ข้อความที่ระบุในเอกสารบันทึกการฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 20 ว่า ศาลจึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ริบของกลาง ให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ก่อนข้อความที่ศาลบันทึกว่า ศาลออกนั่งพิจารณา เวลา 16.35 นาฬิกา นั้น เป็นข้อความของแบบพิมพ์ซึ่งศาลลืมขีดฆ่าออกเท่านั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถูกต้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีจากสารบบความจึงชอบแล้ว
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่พนักงานธุรการของโจทก์นำมาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้โดยสภาพบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจาและเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น
ในวันที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้ พิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง ข้อความที่ระบุในเอกสารบันทึกการฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 20 ว่า ศาลจึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ริบของกลาง ให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ก่อนข้อความที่ศาลบันทึกว่า ศาลออกนั่งพิจารณา เวลา 16.35 นาฬิกา นั้น เป็นข้อความของแบบพิมพ์ซึ่งศาลลืมขีดฆ่าออกเท่านั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถูกต้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีจากสารบบความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การยื่นเอกสารไม่ใช่การฟ้อง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจาตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวให้โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ซึ่งศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ วิธีปฏิบัติดังกล่าวโจทก์จึงต้องมาศาล กล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระดังกล่าว
การนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพบันทึกดังกล่าวจึงไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวจึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดได้ และจะพิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง แต่ต้องสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
การนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพบันทึกดังกล่าวจึงไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวจึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดได้ และจะพิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง แต่ต้องสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การยื่นเอกสารไม่ใช่การฟ้องคดี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจา โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยไดกระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น โจทก์จึงต้องมาศาลกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว การที่โจทก์ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น และเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพของบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การที่ในวันดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลเองก็ไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษหรือพิพากษายกฟ้องจำเลยได้ กรณีต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงและการนำบทบัญญัติมาใช้บังคับเมื่อไม่มีศาลแขวงในพื้นที่
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะและให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 157 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้องเมื่อคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการจึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรีตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงที่ไม่มีศาลแขวง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และ ป.วิ.อ.
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาล ถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐาน และให้คู่ความ ลงชื่อไว้ การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ และให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่าคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ จึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรี ตามพระราชบัญญัติให้นำ วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย