พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีละเมิดลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ: สิทธิฟ้องคดีแพ่งก่อนการปรับโครงสร้าง
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้ละเมิดซึ่งเกิดเหตุเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2545 ส่วนศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 และตั้งผู้บริหารแผนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 และต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 ดังนี้ เมื่อหนี้คดีนี้อันเกิดจากมูลละเมิดเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 และแผนพื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/62 และไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ: ศาลฎีกาอนุญาตฟ้องได้หากมูลหนี้เกิดหลังมีคำสั่งฟื้นฟู
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง อันเป็นการขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12(4) เมื่อศาลล้มละลายได้มีคำสั่งยกคำร้องอันถือได้ว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 90/79(4)
การขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ผู้ร้องหลังจากที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีของผู้ร้องยังมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยให้กระจ่างชัดว่า ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/27 หรือไม่ เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามูลแห่งหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากกรณีเป็นดังที่อ้างผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้คงมีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ร้องจะขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องได้ก็ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา 90/12(4) ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว อีกทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นได้
ผู้ร้องมีหนังสือถึงลูกหนี้ในวันที่ 14 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1 วัน ระบุว่า ผู้ร้องขอเชิญลูกหนี้ยื่นข้อเสนอขายสินค้าที่แน่นอนให้ผู้ร้องพิจารณาสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัท อ. และลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท อ. ในการเสนอขายสินค้าจึงยังไม่เกิด จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัท อ. ว่า ผู้ร้องระบุการประกวดราคาไม่เกิน 69.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสินค้า20.000เมตริกัน จึงขอให้บริษัท อ. หาเรือที่มั่นคงมีตารางแน่นอน ครั้นวันรุ่งขึ้นลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่า ผู้ร้องได้ยืนยันการซื้อสินค้าตามหนังสือสั่งซื้อของผู้ร้องลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่มีถึงบริษัท อ. ที่อยู่ ณ กรุงปารีส แสดงว่า มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27
ผู้ทำแผนกระทำการในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา 90/12(9)
ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ได้ จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้
การขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ผู้ร้องหลังจากที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีของผู้ร้องยังมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยให้กระจ่างชัดว่า ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/27 หรือไม่ เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามูลแห่งหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากกรณีเป็นดังที่อ้างผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้คงมีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ร้องจะขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องได้ก็ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา 90/12(4) ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว อีกทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นได้
ผู้ร้องมีหนังสือถึงลูกหนี้ในวันที่ 14 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1 วัน ระบุว่า ผู้ร้องขอเชิญลูกหนี้ยื่นข้อเสนอขายสินค้าที่แน่นอนให้ผู้ร้องพิจารณาสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัท อ. และลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท อ. ในการเสนอขายสินค้าจึงยังไม่เกิด จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัท อ. ว่า ผู้ร้องระบุการประกวดราคาไม่เกิน 69.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสินค้า20.000เมตริกัน จึงขอให้บริษัท อ. หาเรือที่มั่นคงมีตารางแน่นอน ครั้นวันรุ่งขึ้นลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่า ผู้ร้องได้ยืนยันการซื้อสินค้าตามหนังสือสั่งซื้อของผู้ร้องลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่มีถึงบริษัท อ. ที่อยู่ ณ กรุงปารีส แสดงว่า มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27
ผู้ทำแผนกระทำการในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา 90/12(9)
ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ได้ จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง เริ่มนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้ต้องรับผิด แม้จะมีการพิจารณาภายในของโจทก์เพิ่มเติม
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า จำเลยเป็นผู้ต้องรับผิดและแจ้งให้เลขาธิการของโจทก์ทราบ ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดทางแพ่งว่าเป็นจำเลยตั้งแต่ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่เลขาธิการของโจทก์มีบันทึกถึงผู้ทรงคุณวุฒิด้านให้คำปรึกษากฎหมาย กระทรวงหมาดไทย คือวันที่ 29 ธันวาคม 2537 แม้ต่อมาเลขาธิการของโจทก์จะเสนอขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านให้คำปรึกษากฎหมาย กระทรวงมหาดไทยก็ตาม แต่ผลการพิจารณาก็มิได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดทางแพ่งแต่อย่างใด และแม้เลขาธิการของโจทก์จะลงนามเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2538 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์อันเป็นการเริ่มนับอายุความเปลี่ยนแปลงไป เพราะมิฉะนั้นแล้วอายุความก็ขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2539 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: เริ่มนับเมื่อใดเมื่อโจทก์ทราบตัวผู้รับผิด แม้มีการพิจารณาภายใน
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง สรุปผลว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยแจ้งให้เลขาธิการโจทก์ทราบเมื่อวันที่27 กันยายน 2537 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดในทางแพ่งว่าเป็นจำเลยตั้งแต่ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่โจทก์มีบันทึกถึงผู้ทรงคุณวุฒิแม้ต่อมาเลขาธิการโจทก์จะเสนอขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิก็ตามแต่ผลการพิจารณาก็มิได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดทางแพ่งแต่อย่างใดและแม้เลขาธิการโจทก์จะลงนามเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2538 ก็ไม่ทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์อันเป็นการเริ่มนับอายุความเปลี่ยนแปลงไป เพราะมิฉะนั้นแล้วอายุความก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆแล้วแต่ความล่าช้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 15 มีนาคม 2539พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: โจทก์ไม่ต้องบรรยายเหตุที่ฟ้องไม่ขาดอายุความในคำฟ้อง แต่มีสิทธิสืบพยานพิสูจน์ภายหลังได้
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องถึงเหตุที่ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะหาใช่สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ไม่แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดและเหตุใดจึงมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเกินเวลาปีหนึ่งแล้วได้เมื่อจำเลยต่อสู้เรื่องอายุความโจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำสืบให้เห็นว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันเดือนปีใดจึงยังไม่พ้นปีหนึ่งนับถึงวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: เริ่มนับเมื่อทราบเหตุละเมิดและตัวผู้กระทำผิด หลังคณะกรรมการสอบสวนแจ้งผล
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งของโจทก์ได้สอบสวนแล้วมีความเห็นว่า ไม่สมควรมีผู้หนึ่งผู้ใดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงไม่อาจรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัว ผู้จะพึง ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อกระทรวงการคลังแจ้งความเห็น ของคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง ซึ่งตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี ให้โจทก์ทราบว่าจำเลยขับรถโดยประมาทต้องรับผิดทางแพ่งวันใด จึง ถือได้ว่าโจทก์ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น โจทก์ฟ้องคดีภายในหนึ่งปี คดีโจทก์จึง ยังไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การรับรู้ของผู้แทนกรมทางหลวง vs. ข้าราชการในสังกัด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยฟังว่าพนักงานของโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้องเกิน 1 ปีการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องผิดต่อกฎหมายเนื่องจากโจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ ตามประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 218ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 32 วรรคสอง อธิบดีจึงเป็นผู้แทนของกรมแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ ไม่จำต้อง ถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ผิดต่อกฎหมาย และมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การทราบตัวผู้รับผิดจากการสอบสวนภายใน
การที่โจทก์ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยบางรายการให้ชัดเจน แสดงว่าโจทก์ได้ทราบรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแล้วว่าจำเลยเป็นผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้จะไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอธิบดีโจทก์ได้ลงนามรับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อใด ก็ฟังได้ว่าต้องเป็นช่วงเวลาก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิด มิฉะนั้นอายุความ 1 ปีที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะขยายออกไปเรื่อย ๆแล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันที่ทราบตัวผู้รับผิด แม้ยังไม่ทราบจำนวนเงินค่าเสียหาย
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งรายงานว่าจำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งแม้จะไม่ปรากฏชัดว่าอธิบดีโจทก์ลงนามรับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อใด แต่โจทก์ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดให้แน่นอนดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยเป็นผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในช่วงเวลาก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่ออกคำสั่งคือวันที่ 31พฤษภาคม 2525 และการที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิด มิฉะนั้นอายุความ 1 ปีที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะขยายออกไปแล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2527 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การทราบถึงความรับผิดของผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
การที่โจทก์ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยบางรายการให้ชัดเจน แสดงว่าโจทก์ได้ทราบรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแล้วว่าจำเลยเป็นผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้จะไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอธิบดีโจทก์ได้ลงนามรับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อใด ก็ฟังได้ว่าต้องเป็นช่วงเวลาก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิด มิฉะนั้นอายุความ 1 ปีที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะขยายออกไปเรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ.