พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซื้อขายคลาดเคลื่อน: โจทก์ชำระหนี้แทนผู้ซื้อ มิใช่ผู้ซื้อโดยตรง สัญญาซื้อขายจึงไม่ผูกพัน
การที่ผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยยอมให้โจทก์ชำระหนี้ค่าซื้อทรัพย์ที่ผู้ซื้อยังค้างชำระแก่จำเลยแทนผู้ซื้อดังนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลย เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้ซื้อ(โดยตรง) จึงไม่มีมูลหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย(ผู้ขาย)อันจะเป็นเหตุให้โจทก์เรียกให้ใช้เงิน (ที่ชำระแทนผู้ซื้อ)
เมื่อฟ้องตั้งรูปคดีว่าเป็นการซื้อขายโดยตรงระหว่างโจทก์จำเลย และมิได้โต้แย้งว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่มาจากบุคคลอื่น แต่ในชั้นฎีกาคัดค้านขึ้นมาว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เป็นการนอกประเด็นเพราะมิได้กล่าวไว้ในฟ้อง และมิได้เป็นข้อโต้แย้งมาแต่ต้น ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้.
เมื่อฟ้องตั้งรูปคดีว่าเป็นการซื้อขายโดยตรงระหว่างโจทก์จำเลย และมิได้โต้แย้งว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่มาจากบุคคลอื่น แต่ในชั้นฎีกาคัดค้านขึ้นมาว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เป็นการนอกประเด็นเพราะมิได้กล่าวไว้ในฟ้อง และมิได้เป็นข้อโต้แย้งมาแต่ต้น ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้ฟ้องต้องแสดงเหตุอันควร มิใช่เพียงกล่าวว่าฟ้องคลาดเคลื่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องโดยกล่าวแต่เพียงว่า ฟ้องของโจทก์ "ยังคลาดเคลื่อนอยู่"ดังนี้ นับว่าโจทก์ไม่ได้แสดงว่า"มีเหตุอันควร" ที่จะขอแก้ฟ้องได้ตามมาตรา 163ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(อ้างฎีกาที่ 70/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้ฟ้องหลังสืบพยานต้องแสดงเหตุอันควร การอ้างฟ้องคลาดเคลื่อนโดยไม่ระบุเหตุผลไม่เพียงพอ
การขอแก้ฟ้องเมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วและสืบตัวจำเลยอีก 1 ปากเช่นนี้ ต้องแสดงเหตุอันควรในการขอแก้นั้น ขอแก้ฟอ้งเพียงแต่กล่าวว่าฟ้องโจทก์คลาดเคลื่อนเพราะเหตุใดโจทก์ไม่ได้กล่าว ถือว่าขอแก้โดยไม่มีเหตุอันควร