คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำระหนี้ค่าหุ้น: ใช้บททั่วไป 10 ปี หากกฎหมายเฉพาะไม่ได้กำหนด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่โจทก์นำมาลงหุ้นเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน เป็นการเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น ไม่ใช่โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) และกรณีนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีล้มละลายกับฟ้องชำระหนี้ตามเช็ค: ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องเรื่องเดิมเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายเพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยทุกคนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการที่ศาลจะต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายนั้นก็ต่อเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือหนี้ในอนาคตก็ตาม อีกทั้งกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่ก่อนศาลจะพิพากษาคดีและภายหลังที่พิพากษาคดีไปแล้ว มีการกำหนดวิธีการแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.อย่างมาก ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่กำหนดไว้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการฟ้องคดีล้มละลายเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของจำเลยโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่เรียกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของบรรดาเจ้าหนี้ทั่ว ๆ ไปของจำเลย และเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยเสียใหม่ โดยมิได้เป็นการฟ้องหรือเรียกร้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามมูลหนี้ที่ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงอันเป็นเรื่องของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อันเป็นการฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับด้วยจำนวนเงิน 550,000 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องให้แก่โจทก์คนเดียวเท่านั้น โดยต้องวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. จึงเห็นว่าการฟ้องคดีนี้เป็นคนละเรื่องกับการฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าว ดังนั้นฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิได้เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิฟ้องชำระหนี้ทั้งหมดได้
จำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์ 45,400 บาท ต่อมาได้มีการตกลงกันที่สถานีตำรวจโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 29,609 บาท และจะผ่อนชำระให้แก่โจทก์เดือนละ 1,000 บาท ส่วนอีก 15,791 บาท จำเลยจะตกลงกันเองกับโจทก์ต่อไป บันทึกดังกล่าวไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเพราะจำเลยยอมรับผิดเพียง 29,609บาทส่วนอีก 15,791 บาท จะได้ไปตกลงกันเองข้อพิพาทในเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังคงมีอยู่หาได้ระงับไปไม่ แต่เป็นเพียงหนังสือรับสภาพหนี้และข้อสัญญาของจำเลยฝ่ายเดียวที่จะผ่อนชำระหนี้สำหรับเงินจำนวน 29,609 บาท ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดในคราวเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้กับการฟ้องชำระหนี้ทั้งหมด: ข้อตกลงที่ไม่ครอบคลุมหนี้ทั้งหมดไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์ 45,400 บาท ต่อมาได้มีการตกลงกันที่สถานีตำรวจโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 29,609 บาท และจะผ่อนชำระให้แก่โจทก์เดือนละ1,000 บาท ส่วนอีก 15,791 บาท จำเลยจะตกลงกันเองกับโจทก์ต่อไป บันทึกดังกล่าวไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเพราะจำเลยยอมรับผิดเพียง 29,609บาทส่วนอีก 15,791 บาท จะได้ไปตกลงกันเองข้อพิพาทในเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังคงมีอยู่หาได้ระงับไปไม่ แต่เป็นเพียงหนังสือรับสภาพหนี้และข้อสัญญาของจำเลยฝ่ายเดียวที่จะผ่อนชำระหนี้สำหรับเงินจำนวน29,609 บาท ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดในคราวเดียวกันได้