พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8392/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนคดีแพ่งอาญา – ดอกเบี้ยจากการลักทรัพย์ – การฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยได้เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยในคดีอาญานั้น จึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกแทนผู้เสียหายได้แล้วแต่ไม่เรียก ฟ้องของโจทก์คดีแพ่งในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622-7623/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการครอบครองยาเสพติด ฟ้องซ้อน และการจำกัดอำนาจศาลในการลงโทษ
การที่จำเลยที่ 5 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนจากอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มาส่งให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างทางถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและยึดเมทแอมเฟตามีนได้เสียก่อน จำเลยที่ 4 ยังไม่ได้รับมอบการครอบครองเมทแอมเฟตามีนจากผู้ขาย จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 4 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีความผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 1 ในการขนส่งเมทแอมเฟตามีนเพื่อให้ถึงปลายทาง และการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 5 ขณะกระทำความผิดเนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนให้จำเลยที่ 5 อยู่ระหว่างถูกจับกุมและการจับกุมยังไม่เสร็จสิ้นเรียบร้อย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 1 ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 86 เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว เมื่อข้อแตกต่างมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
สำหรับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง รวมมากับฟ้องสำนวนหลังด้วย ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นสำนวนแรก การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ในสำนวนหลังอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
สำหรับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง รวมมากับฟ้องสำนวนหลังด้วย ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นสำนวนแรก การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ในสำนวนหลังอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ขาดอำนาจฟ้อง: การถอนฟ้องไม่สมบูรณ์หากคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล
การถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องคดีก่อน ซึ่งมีคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา และขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟัองโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิ์ฟ้องแย้งโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง-อายุความ-ตัวแทน: กรณีฟ้องซ้ำคดีเดิม & ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องตัวแทน
ศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์ต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้สำหรับจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยื่นฟ้องขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุด ก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเช่นกัน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 เพราะไม่ทำให้ผลคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีใหม่หลังศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากขาดนัดพิจารณา ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อนหากจำเลยไม่โต้แย้งทันเวลา
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความเนื่องจากโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความ ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ขณะคดีก่อนยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่ให้จำหน่ายคดีจนคำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน และแม้ต่อมาจำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องในคดีก่อนก็ตามแต่เป็นการยื่นคำร้องเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วและยื่นคำร้องช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบคำร้องคัดค้านเรื่องผิดระเบียบที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีและถึงที่สุดไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าตอบแทนจากกองทุนเกษียณอายุซ้ำ หลังฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไปแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินค่าตอบแทนตามกองทุนเกษียณอายุในการจ้างโดยกล่าวในคำฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและไม่เป็นธรรม อันเป็นมูลคดีเดียวกับคดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เงินสะสม ตามคดีหมายเลขแดงที่ 9638/2545 ของศาลแรงงานกลาง ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีหมายเลขแดงที่ 9638/2545 ของศาลแรงงานกลางยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนตามกองทุนเกษียณอายุในการจ้างที่โจทก์ฟ้องคดีนี้มีมูลมาจากการเลิกจ้างของจำเลย ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยเมื่อโจทก์ฟ้องคดีก่อน แต่โจทก์มิได้ฟ้องรวมไปในคดีก่อน กลับมาฟ้องใหม่ในคดีนี้อีกโดยอาศัยเหตุแห่งการเลิกจ้างคราวเดียวกันในระหว่างที่คดีก่อนยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ค่าเสียหายจากละเมิด - ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, ค่าเสียหายรถจักรยานยนต์
คดีก่อน ศ. พี่สาวโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กรณีจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ และ ศ. ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นการฟ้องในฐานะที่ ศ. เป็นบุตรผู้ตายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดเช่นนี้ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ เป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาท ม. ผู้ตาย ทุกคนรวมถึงโจทก์ด้วย ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย และตามคำฟ้องคดีก่อน ศ. ไม่ได้ฟ้องแทนโจทก์ แม้ต่อศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แก่ ศ. ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ อันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในเรื่องเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และได้ความว่าต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่ ศ. อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เรื่องเดียวกับคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำมาตรา 144 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น
ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144
ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเรื่องเดียวกันซ้ำในศาลต่างกัน เป็นการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการแก้ไขคำฟ้อง
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์คดีนี้ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นเพียงซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำเรื่องเดียวกัน แม้มีการแก้ไขคำฟ้องคดีก่อน ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย