พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ซ้ำซ้อนหลังศาลตัดสินเรื่องกรรมสิทธิ์เดิม: ฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
แม้คดีก่อนที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยกับคดีนี้คู่ความที่ฟ้องและถูกฟ้องจะผลัดกันเป็นโจทก์ จำเลย แต่คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ในคดีก่อนกับคดีฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยในคดีนี้ก็ถือเป็นคดีประเภทเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาในประเด็นแห่งคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้ขับไล่จำเลยอีก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท คดีโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดียวกัน อันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อน: การฟ้องคดีหมิ่นประมาทในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลอื่นรับไว้แล้ว ทำให้ฟ้องต้องห้าม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครเหนือว่าจำเลยโฆษณาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในหนังสือพิมพ์รายวันศาลแขวงพระนครเหนือได้ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในเหตุอย่างเดียวกันอีกวันกระทำผิดและสถานที่เกิดเหตุก็ตรงกัน คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การไม่ระบุที่ตั้งที่พิพาทในคำฟ้อง ไม่เป็นเหตุฟ้องต้องห้าม หากคู่ความและศาลรับรู้ร่วมกัน
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าที่พิพาทตั้งอยู่ในเขตตำบล อำเภอ และจังหวัดใด แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและจำเลยก็ไม่ได้ให้การโต้เถียงในเรื่องที่ตั้งของที่พิพาทก็เป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความและศาลต่างก็ยอมรับว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นนั้นเองไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีและโจทก์ร่วม: เมื่อฟ้องของผู้ว่าคดีต้องห้าม โจทก์ร่วมก็ย่อมเสียอำนาจฟ้องไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์ เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 1274/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีประมาทจากอุบัติเหตุรถชน เมื่อศาลเคยพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายแล้ว ฟ้องใหม่เป็นฟ้องต้องห้าม
คดีก่อนจำเลยได้เคยยื่นฟ้องโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ชนกันศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายรายเดียวกันอีก เมื่อคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันและคู่ความรายเดียวกัน และศาลได้พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยโดยวินิจฉัยถึงข้อที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดีนั้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อในการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดียวกัน: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกซ้ำ แม้เป็นทรัพย์ต่างกัน ย่อมเป็นฟ้องที่ต้องห้าม
โจทก์เคยฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของสามีผู้วายชนม์จากจำเลยจนศาลได้พิพากษาให้แบ่งสินสมรสและแบ่งปันมรดกไปแล้วแม้ทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขึ้นใหม่ในคดีใหม่เป็นทรัพย์คนละอย่างกับคดีก่อนแต่ก็เป็นเรื่องเรียกทรัพย์จากจำเลยมาแบ่งเป็นสินสมรส และแบ่งมรดกเช่นเดียวกันอันเรียกได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน ซึ่งได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้โจทก์ได้ขอสงวนสิทธิไว้ในคดีก่อน แต่ศาลก็มิได้พิพากษาว่าไม่ตัดสิทธิจะฟ้องร้องว่ากล่าวหรือนัยหนึ่งไม่ได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องใหม่ได้ จึงไม่ทำให้โจทก์กลับมีอำนาจฟ้องคดีใหม่ได้