พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ผู้อื่น: ฟ้องบังคับจำนองไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลยกฟ้องได้
การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง แต่จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจำนองในฐานะตัวแทน: การฟ้องบังคับให้เปลี่ยนชื่อผู้รับจำนอง แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ให้จำเลยรับจำนองที่ดิน โดยโจทก์เป็นผู้เก็บรักษาหนังสือสัญญาจำนองไว้และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้ต่อโจทก์เพื่อให้โจทก์สามารถไถ่ถอนจำนองได้เอง แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยรับจำนองที่ดินในฐานะตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อมาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ระงับสิทธิเรียกร้องเดิม โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดิน นายอำเภอเรียกโจทก์และจำเลยมาเจรจากันโดยมีการบันทึกคำเปรียบเทียบไว้ว่าจำเลยตกลงแบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ตามส่วนที่ตกลงกัน บันทึกคำเปรียบเทียบดังกล่าวมีลักษณะเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่มีอยู่แล้วในขณะนั้นให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 อันมีผลให้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์จำเลยที่มีอยู่ต่อกันระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวอีก คงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด ฟ้องบังคับได้แม้พ้น 30 วัน ไม่ใช่การเพิกถอนคำสั่ง
พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์และจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้แม้จะเกินระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเพราะ มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งไม่อยู่ในกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการผิดสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญา
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้ จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดี หรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอา ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213,215,222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136-8139/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้แรงงาน: สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องบังคับค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 686 บัญญัติให้เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อบริษัทนายจ้างผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามมาตรา 686 ได้ แม้มาตรา 688 และมาตรา 689 จะให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ให้โจทก์ทั้งสี่ไปเรียกร้องให้ลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ก่อนที่จะเรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกัน ก็มิได้หมายความว่า ถ้าโจทก์ทั้งสี่ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากบริษัทนายจ้างลูกหนี้แล้ว โจทก์ทั้งสี่จะไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลย ประกอบกับหากจำเลยประสงค์จะให้บริษัทนายจ้างลูกหนี้ชั้นต้นรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบริษัทนายจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ จำเลยจึงหามีสิทธิยกมาตรา 688 และมาตรา 689 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายห้องชุด: ไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อประเด็นต่างกันและอายุความไม่ขาด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องออกค่าภาษีเงินได้แทนจำเลยตามสัญญา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา แต่จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วไม่ได้ เพราะยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญา พิพากษายกฟ้องซึ่งหมายความว่าโจทก์และจำเลยยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอยู่ หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายย่อมใช้สิทธิฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ดังนั้น โดยสภาพของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้จึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง หาใช่ต้องฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องภายใน 60 วัน นับแต่คำพิพากษาคดีก่อนถึงที่สุด จึงไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่พิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกันซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัยฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่พิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกันซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัยฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ฟ้องบังคับจำนองและหนี้สัญญาที่เกิดในเขตอำนาจศาลอื่น
คำฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจำนองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอำนาจศาลจังหวัดราชบุรีแล้วโจทก์ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยที่ 3ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคำฟ้องส่วนที่ให้บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรี แม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำนองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5
ป.รัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้องปิดอากรแสตมป์
ป.รัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฟ้องบังคับตามสิทธิได้ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านเลขที่ 50/4 ออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่พิพาท คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. และจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ช. ส่วนจำเลยคดีนี้กับพวกรวม 5 คน ก็เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันนี้และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. ซึ่งได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนและทายาททุกคนเข้าครอบครองที่ดินมรดกที่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นของตนแล้ว จำเลยคดีนี้กับพวกจึงไม่มีสิทธิขอแบ่งอีก ดังนี้ กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันขัดกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 146 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า ซึ่งคดีนี้ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ถูกงดเสียโดยคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ย่อมอาศัยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 มาฟ้องบังคับตามสิทธิของตนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้น: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่ฟ้องบังคับตามสัญญาได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวงแต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัทส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้วซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาเมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา