พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและการฟ้องบุพการี: ศาลมีอำนาจเรียกจำเลยร่วมได้หากมีเหตุผล และไม่ถือเป็นการฟ้องบุพการีโดยตรง
โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของจำเลยร่วม ทั้งสามต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 2568 ร่วมกัน โจทก์ต้องการโฉนดมาเพื่อทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนและเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้เก็บโฉนดไว้ไม่ยอมมอบให้ จึงฟ้องจำเลยขอให้ส่งมอบโฉนดและเรียกค่าเสียหาย ต่อมาความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) และพิพากษาบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดตามฟ้องของโจทก์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตน จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตน จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและการฟ้องบุพการี: การบังคับให้ส่งมอบโฉนดและการไม่ขัดต่อมาตรา 1562
โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของจำเลยร่วม ทั้งสามต่างเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 2568 ร่วมกัน โจทก์ต้องการโฉนดมาเพื่อทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนและเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้เก็บโฉนดไว้ไม่ยอมมอบให้ จึงฟ้องจำเลยขอให้ส่งมอบโฉนดและเรียกค่าเสียหาย ต่อมาความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ ศาลจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) และพิพากษาบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดตามฟ้องของโจทก์ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตนจึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกความของผู้รับประโยชน์กับข้อห้ามฟ้องผู้บุพการี และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์มรณะส.ร้องขอรับมรดกความแต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นปู่ของส.ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บุพการี การรับมรดกความของ ส. จึงถือได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพการี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แม้จำเลยมิได้คัดค้าน คำร้องของ ส. และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้รับมรดกความไปแล้ว แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นอุทลุม ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยในเวลาพิพากษาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่าการรับมรดกความของ ส.ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพการีส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่ง การขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส. มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก. ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก. ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้น ยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไข ในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่าการรับมรดกความของ ส.ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพการีส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่ง การขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส. มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก. ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก. ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้น ยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไข ในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นบุพการีในฐานะกรรมการบริษัท – ข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้..." อันเป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 โดยระบุว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัท จำเลยทั้งสามอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท ร่วมกันจงใจทำหลักฐานอันเป็นเท็จว่า บริษัทเป็นหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ เพื่อนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่บริษัท โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวร่วมกันกรรมการอีก 2 คน คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท มิได้ให้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัว ทั้งจำนวนเงินตามฟ้องหากรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหาก็เป็นเงินของบริษัทมิใช่เงินของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องจำเลยที่ 1