พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6974/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดีละเมิดช่วงวันหยุดราชการ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องภายในกำหนด
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 17 กรกฎาคม 2542 เมื่อนับเวลา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือ วันที่ 17 กรกฎาคม 2543 ตรงกับวันเข้าพรรษาเป็นวันหยุดราชการประจำปี และวันที่ 18 กรกฎาคม 2543 เป็นวันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชาวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ ตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยื่นคำฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การพิสูจน์วันทำละเมิดและผลของการไม่ฟ้องภายใน 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ใช้ใบเบิกปลอมเป็นหลักฐานในการลงบัญชีจ่ายสายสูบน้ำดับเพลิงทำให้สายสูบน้ำดับเพลิงของกรมตำรวจโจทก์สูญหายและขาดบัญชีไป เป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ละเมิด และมูลหนี้ละเมิดนั้นเป็นความผิดที่มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ใบเบิกเป็นเพียงเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบ มาตรา 265 คือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี ซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญาเพียง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(3) มิใช่ 20 ปี จึงไม่เป็นกรณีที่กำหนดอายุความอาญายาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง
เหตุละเมิดเกิดจากสายสูบน้ำดับเพลิงของโจทก์สูญหายไปหากไม่สูญหายย่อมไม่มีเหตุละเมิดต่อโจทก์ที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องร้อง ดังนั้น วันทำละเมิดย่อมหมายถึงวันที่ทรัพย์สูญหาย มิใช่วันที่มีการทำใบเบิกปลอมหรือวันที่ตรวจพบว่ามีการสูญหาย เพราะอาจมีการสูญหายก่อนหน้านั้นนานเพียงใดก็ได้
การที่สายสูบน้ำดับเพลิง 736 เส้น ของกรมตำรวจโจทก์ไปอยู่ที่สถานีตำรวจดับเพลิงต่าง ๆ ต้องถือว่าสายสูบน้ำดับเพลิงจำนวนนี้มิได้สูญหาย เนื่องจากสถานีตำรวจดับเพลิงเหล่านั้นคือหน่วยงานในสังกัดของโจทก์เท่ากับว่าสายสูบน้ำดับเพลิงยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์นั่นเอง
เหตุละเมิดเกิดจากสายสูบน้ำดับเพลิงของโจทก์สูญหายไปหากไม่สูญหายย่อมไม่มีเหตุละเมิดต่อโจทก์ที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องร้อง ดังนั้น วันทำละเมิดย่อมหมายถึงวันที่ทรัพย์สูญหาย มิใช่วันที่มีการทำใบเบิกปลอมหรือวันที่ตรวจพบว่ามีการสูญหาย เพราะอาจมีการสูญหายก่อนหน้านั้นนานเพียงใดก็ได้
การที่สายสูบน้ำดับเพลิง 736 เส้น ของกรมตำรวจโจทก์ไปอยู่ที่สถานีตำรวจดับเพลิงต่าง ๆ ต้องถือว่าสายสูบน้ำดับเพลิงจำนวนนี้มิได้สูญหาย เนื่องจากสถานีตำรวจดับเพลิงเหล่านั้นคือหน่วยงานในสังกัดของโจทก์เท่ากับว่าสายสูบน้ำดับเพลิงยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินเดือนตามสัญญา การฟ้องภายใน 10 ปีนับจากวันสะดุดหยุดยังคงมีอายุความ
จำเลยที่ 1 ยอมให้หน่วยงานของตนนำเงินเดือนหรือเงินได้อื่นใดของจำเลยที่ 1 ทุกเดือนเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อมีการนำเงินเข้าบัญชีแล้ว โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธินำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้กู้ไปจากโจทก์ตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญากู้ ดังนั้น เมื่อมีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจึงเป็นผลให้จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นลูกหนี้ของโจทก์ การที่หน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวทุก ๆ เดือน และโจทก์นำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่กับโจทก์เป็นปกติตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันมา อายุความจึงสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ครั้งสุดท้ายวันที่ 30 มิถุนายน 2537 โจทก์นำเงินดังกล่าวตัดบัญชีเพื่อชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระในวันดังกล่าว อายุความในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2537 และเริ่มนับอายุความใหม่วันที่ 1 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 28 มิถุนายน 2547 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ