คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องรื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดิน: คำฟ้องชัดเจน แม้รายละเอียดสิทธิและหน้าที่ยังไม่ครบถ้วนก็ไม่ถือว่าฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดธ.ปรับปรุงที่ดินและก่อสร้างศูนย์การค้าโดยยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทำการจัดหาผลประโยชน์ต่อมาจำเลยทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินแปลงดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนไปนั้น เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วส่วนที่โจทก์จะได้มีการตรวจสอบเขตที่ดินให้แน่นอนก่อนฟ้องหรือไม่ และที่โจทก์ไม่บรรยายฟ้องถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ. ตามสัญญาก่อสร้างศูนย์การค้านั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องที่บรรยายไว้โดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้คำบรรยายฟ้องที่แจ้งชัดกลายเป็นคำบรรยายฟ้องที่ไม่แจ้งชัดไปได้คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432-7440/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนบ้านบนที่ดินสาธารณะ: ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากบ้านไม่ได้อยู่ติดที่ดินโจทก์
เดิมมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934-1936/2534 วินิจฉัยว่า ทางเดินหน้าบ้านจำเลยเป็นที่ดินของโจทก์นั้น ในชั้นฎีกาเป็นคดีที่โจทก์พิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับบ้านหลังอื่น ซึ่งไม่ใช่บ้านพิพาทของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แม้จำเลยที่ 4 เป็นคู่ความด้วยก็อยู่ในฐานะเจ้าของบ้านเลขที่ 31 ซึ่งเป็นคนละหลังกับบ้านพิพาทของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้แต่ในส่วนบ้านพิพาทคดีนี้โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและเจ้าของเดิมของบ้านพิพาทโดยอ้างเหตุว่าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดปลูกสร้างบนที่ดินโจทก์ คดีถึงที่สุดว่าที่ดินปลูกบ้านพิพาทและทางเดินหน้าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นที่สาธารณะ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ไม่ต้องนำมาตรา 145(2) มาใช้ ดังนั้นบ้านจำเลยทั้งเจ็ดไม่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์เพราะมีทางสาธารณะคั่นอยู่ บ้านจำเลยทั้งเจ็ดย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์จะสร้างพนังกั้นน้ำหรือทำเขื่อนเพื่อป้องกันดินพังโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อถอนบ้านออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: ประเด็นไม่ใช่การแย่งการครอบครอง แต่เป็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน
จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ไม่มีประเด็น เรื่องแย่งการครอบครองจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีของโจทก์ โจทก์จึง มีสิทธิฟ้องคดีหาใช่หมดสิทธิฟ้อง เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เป็นบทบังคับเรื่อง กำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ซึ่งเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องคดี หากไม่ฟ้อง ภายในกำหนดก็หมดสิทธิฟ้อง มิใช่เรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6117/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดินสาธารณประโยชน์หลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้ที่ดินตามแผนที่พิพาทเส้นสีเขียวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พิพาทกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1278/2532 ของศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อถอนแนวรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ต่อมาในชั้นบังคับคดีปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการรื้อถอนรั้วออกไป แต่ยังส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพไม่เรียบร้อย เนื่องจากระหว่างพิจารณาคดีจำเลยทั้งสองได้ขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาท รวมทั้งปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วน ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาทและปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วนในระหว่างพิจารณาคดีก่อน มูลคดีนี้จึงเกิดภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง เป็นคดีดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่สามารถฟ้องมาในคราวเดียวกันได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคหนึ่ง การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)วรรคสี่ แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยนั้น ได้ความแต่เพียงว่านายอำเภอเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริงและห้ามโจทก์กับจำเลยถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย อายุความไม่ผูกพันกฎหมายพิเศษ
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิด แต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่ เป็นการฟ้องโดยอาศัยพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชน เป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่ อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องรื้อถอนบ้านรุกที่ดิน: การบรรยายฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดบ้าน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยอยู่บ้านเลขที่ 152/6ถนนเจริญนคร แขวงบุคคโลเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บางส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ 1266 และ 3751แขวงบุคคโลเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำเลยได้อยู่อาศัยในบ้านเลขที่ดังกล่าวโดยปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงนี้โดยจำเลยและสามีจำเลยขออนุญาตจากโจทก์และเจ้าของร่วม ต่อมาจำเลยยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาอาศัยในบ้านดังกล่าว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยก็เพิกเฉยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสถานแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนบ้านเลขที่ 152/6 เป็นบ้านตึกหรือบ้านไม้ มีความกว้างยาวและเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในฟ้องทั้งจำเลยก็อาศัยในบ้านดังกล่าวย่อมรู้รายละเอียดดังกล่าวได้ดีอยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องรื้อถอนเรือนหลังพิพาท ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีก่อนพิพากษาว่าเรือนเป็นของจำเลย เหตุประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากเรือนหลังพิพาท อ้างว่าเรือนพิพาทเป็นของโจทก์ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เรือนหลังพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลย ออกจากเรือนหลังพิพาทไม่ได้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องใหม่ว่าเรือนหลังพิพาทเป็นของจำเลยได้ ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ โดยไม่มีสิทธิขอให้รื้อถอนเรือนหลังนี้ไป ดังนี้ประเด็นที่จะวินิจฉัยไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10185/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินส่วนหนึ่งกลายเป็นทางสาธารณะ โจทก์ซื้อที่ดินรวมส่วนสาธารณะแล้ว ไม่มีกรรมสิทธิ์ฟ้องรื้อถอน
ว. เจ้าของที่ดินเดิมมีเจตนาอุทิศที่ดินส่วนที่เป็นทางเดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงย่อมมีผลให้ที่ดินส่วนที่เป็นทางเดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อที่ดินส่วนที่เป็นทางเดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วก่อนที่ ว. จะขายที่ดินให้แก่โจทก์ กรณีจึงไม่จำต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่ประชาชนทั่วไปในละแวกนั้นจะได้ใช้ทางเดินพิพาท และเมื่อทางเดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์เสียก่อนแล้ว การที่จำเลยได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานทางเดินพิพาทตามแนวทางเดินเดิมที่ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว ทางเดินพิพาทจึงมิอาจโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 29420 ซึ่งรวมเอาทางเดินพิพาทไว้ด้วยภายหลังจากที่ทางเดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง