พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8948/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง และประเด็นการฟ้องร้องซ้ำเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 28 ตารางวา มิใช่ 31 ตารางวา ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทส่วนที่เกินอีก 3 ตารางวาเป็นของผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินแล้วมีราคา 15,000 บาทจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 8ได้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ หรือได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ฎีกาเป็นหนังสือ ฎีกาของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คดีก่อนเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านฟ้องขับไล่ผู้ร้องและบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาท และเรียกค่าเสียหาย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ผู้คัดค้านซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ร้องหรือเรียกค่าเสียหายส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทโดยการครอบครอง เพื่อจะนำคำสั่งศาลไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งผู้ร้องไม่สามารถดำเนินการได้ในคดีก่อนดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่มารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน การยื่นคำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คดีก่อนเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านฟ้องขับไล่ผู้ร้องและบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาท และเรียกค่าเสียหาย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ผู้คัดค้านซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ร้องหรือเรียกค่าเสียหายส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทโดยการครอบครอง เพื่อจะนำคำสั่งศาลไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งผู้ร้องไม่สามารถดำเนินการได้ในคดีก่อนดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่มารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน การยื่นคำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำในคดีล้มละลายและการถอนการยึดทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้าง
ลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินคืนให้แก่ลูกหนี้และเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักในการขอคืนเช่นเดียวกับที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องในคดีนี้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของลูกหนี้และให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ กับให้ลูกหนี้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ เมื่อการแบ่งแยกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นทางสาธารณะยังไม่แล้วเสร็จ ที่ดินจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้และเจ้าของรวมคนอื่นอยู่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า การยกเลิกการล้มละลายไม่กระทบถึงการใดที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำไปแล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 137 กรณีตามคำร้องเป็นกรณีที่ได้กระทำไปแล้ว ไม่มีเหตุที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณาใหม่หรือให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดที่ดินตามคำร้องได้ยกคำร้อง และถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น การที่ลูกหนี้กลับมาดำเนินกระบวนพิจารณาขอคืนโฉนดที่ดินเป็นคดีนี้อีกโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักอย่างเดียวกัน จึงเท่ากับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7448/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องกรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์หลังมีคำพิพากษาในคดีขับไล่ การฟ้องร้องซ้ำไม่ขัดกฎหมาย
คดีเดิมมีประเด็นว่าผู้คัดค้านทั้งสองฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องได้หรือไม่แม้ผู้ร้องจะให้การสู้คดีว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก็ตามแต่เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงประเด็นที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โดยอาศัยข้อวินิจฉัยจากผลของคำพิพากษาในคดีก่อนขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเพื่อจะได้นำคำสั่งศาลไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมิใช่กรณีที่มารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคดีของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามฟ้องร้องประเด็นเดิมซ้ำ หากคู่ความและประเด็นพิพาทไม่เปลี่ยนแปลง
การอ้างฐานะในการใช้สิทธิต่างกันของโจทก์ทั้งสองที่ทรงสิทธิเดียวกัน หาได้ทำให้ฐานะของการเป็นคู่ความของโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนแปลง หรือต่างกันไปด้วยไม่ กล่าวคือโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายโจทก์รายเดียวกันกับคู่ความฝ่ายโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายของคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนพิพาทกันในประเด็นเดียวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในคดีก่อน จึงห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองในคดีนี้รื้อร้องฟ้องกันใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
คดีก่อนผู้คัดค้านเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 274 ผู้ร้อง ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้คัดค้าน ขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกไป ผู้ร้องให้การว่า ผู้ร้องได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินดังกล่าวมากว่า 30 ปีแล้ว ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ในคดีนี้ผู้ร้องมายื่นคำร้องว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 274 ด้วยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 22 ปีเศษแล้ว ผู้ร้อง จึงได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ขอให้ศาลสั่งว่า ที่ดิน ดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง ประเด็นของคดีทั้งสองจึงมีว่า ผู้ร้องได้ ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วหรือไม่ เมื่อประเด็นแห่งคดีเหมือนกันและ เป็นคู่ความเดียวกัน ทั้งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วย่อมต้องห้าม มิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา144.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำในคดีเลือกตั้งกรรมการสมาคม และการขาดอายุความตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องทั้งสี่เคยร่วมกับพวกอีกสองคนยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ส.นายกสภากรรมการจัดการสมาคมชุดที่ 17 ได้ดำเนินการเลือกตั้งสภากรรมการจัดการสมาคมชุดที่ 18 ไปโดยไม่ชอบ ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคณะกรรมการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของสมาคมให้เพิกถอนคณะกรรมการชุดนี้ออกจากตำแหน่ง และให้ดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมใหม่โดยเร็ว ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า กรรมการชุดที่ 18 ขอจดทะเบียนอยู่ กองบังคับการตำรวจสันติบาลให้รอการจดทะเบียนไว้ก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ไม่จำต้องสั่งให้ออกจากตำแหน่ง และศาลก็ไม่มีหน้าที่สั่งให้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่กับพวกคดีถึงที่สุด ต่อมาผู้ร้องทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีนี้อีกโดยบรรยายข้อเท็จจริงในคำร้องคดีนี้ทำนองเดียวกับข้อเท็จจริงที่บรรยายในคำร้องคดีก่อนเพียงแต่มีคำขอท้ายคำร้องเพี้ยนไปจากเดิมบ้างเล็กน้อย ย่อมเห็นได้ชัดว่าผู้ร้องทั้งสี่มาร้องเป็นคดีนี้อีกด้วยเหตุอย่างเดียวกันและคำขอทำนองเดียวกัน จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19776/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำ: ข้อพิพาทสัญญาจ้างเหมาช่วงที่ศาลพิจารณาต่างกัน ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
มูลเหตุของการฟ้องคดีนี้มาจากนิติสัมพันธ์ตามที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพักอาศัย แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาช่วงให้จำเลยที่ 2 ก่อสร้างอาคารแทน โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สัญญา ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับเหมาช่วงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมา ให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ จึงต้องร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ส่วนที่จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยที่ 1 กับพวก อ้างว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาช่วงได้ก่อสร้างอาคารและส่งมอบงานให้แก่โจทก์เสร็จตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ผิดสัญญาที่ไม่ชำระค่าจ้างและคืนเงินประกันผลงานให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยสัญญาจ้างเหมาช่วง ประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทในคดีนี้และในคดีก่อนจึงเป็นคนละเรื่องกัน ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่เคยฟ้องร้องกันมาก่อน เป็นแต่ในคดีก่อนเคยถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันเท่านั้น การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมา จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144