พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8954/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเงินและทองในพิธีหมั้น การฟ้องละเมิดจากข่าวลือ และการพิสูจน์ความเสียหาย
การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ จะต้องฟังให้ได้เสียก่อนว่า โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 หรือไม่ เพราะการหมั้นตามกฎหมายนั้นต้องมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย มิใช่เมื่อมีการมอบของหมั้นแล้ว ก็มีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 1437
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน 1,444,000 บาท และทองคำรูปพรรณที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้แก่ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องเรียกคืนฐานผิดสัญญาหมั้นได้
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์ทั้งสองจะคืนเงินสดและทองรูปพรรณที่ใช้ในพิธีหมั้นให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงาน ดังนั้น เงินสดและทองรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาแสดงในวันหมั้นเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทั้งสองฝ่ายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในเงินสดและทองคำรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงานจึงเป็นการส่งคืนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลง มิใช่การฝากทรัพย์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน 1,444,000 บาท และทองคำรูปพรรณที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้แก่ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องเรียกคืนฐานผิดสัญญาหมั้นได้
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์ทั้งสองจะคืนเงินสดและทองรูปพรรณที่ใช้ในพิธีหมั้นให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงาน ดังนั้น เงินสดและทองรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาแสดงในวันหมั้นเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทั้งสองฝ่ายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในเงินสดและทองคำรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงานจึงเป็นการส่งคืนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลง มิใช่การฝากทรัพย์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดร่วมกัน: ธนาคาร, โจทก์, โจทก์ร่วม มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาเป็นกรณีร่วมกัน
จำเลยฟ้องแย้งและขอให้ศาลหมายเรียกธนาคาร ก.เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมเพื่อให้รับผิดตามฟ้องแย้ง โดยกล่าวหาว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และบริษัทโจทก์ร่วมได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยด้วยการร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยโดยใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทกันขึ้นว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และ บริษัทโจทก์ร่วม ร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก.ได้ และลำพังตามคำฟ้องแย้งของจำเลยยังไม่อาจรับฟังได้ว่าธนาคาร ก. ไม่ได้ทำละเมิดต่อจำเลยโดยแน่ชัด การที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยว่าธนาคาร ก. เป็นเพียงเจ้าหนี้เสียงข้างมากของบริษัท อ. ที่หยุดการจำหน่ายเบียร์ให้จำเลย จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องให้ธนาคาร ก. รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยได้จึงไม่ชอบคดีจึงมีเหตุสมควรหมายเรียกธนาคาร ก. เข้ามาในคดีนี้เพื่อพิจารณารวมกันไปว่าต้องร่วมกับโจทก์และบริษัทโจทก์ร่วมรับผิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย: โจทก์มีสิทธิฟ้องละเมิด แม้มีข้อตกลงกับนางแบบ, การแบ่งหน้าที่ผิดกฎหมาย และความผิดฐานเผยแพร่
แม้ตกลงระหว่างโจทก์และ ท. จะกำหนดว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัท น. แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีนี้ไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ทั้งการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ยอมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น หากมีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ"ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์ และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 เป็นเพียงผู้รับจ้างจากบริษัท 222 ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าโดยเฉพาะเท่านั้น อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ"ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์ และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 เป็นเพียงผู้รับจ้างจากบริษัท 222 ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าโดยเฉพาะเท่านั้น อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดและการโต้แย้งสิทธิ: อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะการเอาโลงไปโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพ ฉ. ผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับศพไป นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์จะกลับมาแต่โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ คงมีเฉพาะคำฟ้องของโจทก์ส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งหากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ใช้หลัก ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์อาศัยมูลคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งฐานละเมิด จึงเป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้โจทก์เคยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในความผิดฐานบุกรุกและฐานทำให้เสียทรัพย์ พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าวมาแล้ว ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการดังกล่าว มีผลกระทบกระเทือนถึงอายุความในการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของผู้เสียหายแต่อย่างใด เมื่อมูลคดีนี้ไม่มีผู้ใดฟ้องจำเลยทางอาญา กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง มาใช้บังคับ มิใช่ถือเอาอายุความ 1 ปี ฐานละเมิดตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาประเภทคดีและระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องโต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาปรับเข้ากับตัวบทกฎหมาย โดยไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง แต่เป็น ฎีกาในข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยครอบครองหรือยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ แล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนดังที่โจทก์ฎีกาไม่ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นับแต่เวลาที่จำเลยกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทายาท, ค่าขึ้นศาล, ปัญหาความสงบเรียบร้อย
เมื่ออายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ซึ่งเป็นคุณแก่ ส.ผู้ตายจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ส.ตาย สิทธิของโจทก์ผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะฟ้องทายาทผู้รับมรดกของ ส.จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 193/23 โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.ในวันที่ยังไม่ครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันอันเป็นวันที่ ส.ตาย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดกับการหมดอายุความ การแย่งการครอบครอง และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็นในศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษา
จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2519 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2528 แม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตาม แต่เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่ 3 ทำละเมิดก็ต้องหมายถึงว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์นั่นเอง ดังนั้นการทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์ช่วงตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนฟ้อง 10 ปี ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่งโจทก์คงฟ้องจำเลยที่ 3 ได้เฉพาะการทำละเมิดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2519 ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2519 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10 ปี เท่านั้น
โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริง ไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6ที่ 8 และที่ 9 รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดไม่เกิน 140,645 บาท จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820 บาท จำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดไม่เกิน 64,145 บาท จำเลยที่ 8 ร่วมรับผิดไม่เกิน 97,835 บาท และจำเลยที่ 9 ร่วมรับผิดไม่เกิน 104,400 บาท แยกจากกัน จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6ที่ 8 และที่ 9 แต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน 264,735 บาท และจำนวน 277,320 บาท ตามลำดับ เป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตาม แต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ต่อโจทก์ จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 10 และที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้ คดีของจำเลยที่ 10และที่ 11 จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 245(1) ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 10 และที่ 11ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่ 10 และที่ 11ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้
ฎีกาของจำเลยที่ 9 ในข้อที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 9 ขาดอายุความนั้น เมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 9 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ฎีกาของจำเลยที่ 9 ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริง ไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6ที่ 8 และที่ 9 รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดไม่เกิน 140,645 บาท จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820 บาท จำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดไม่เกิน 64,145 บาท จำเลยที่ 8 ร่วมรับผิดไม่เกิน 97,835 บาท และจำเลยที่ 9 ร่วมรับผิดไม่เกิน 104,400 บาท แยกจากกัน จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6ที่ 8 และที่ 9 แต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน 264,735 บาท และจำนวน 277,320 บาท ตามลำดับ เป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตาม แต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ต่อโจทก์ จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 10 และที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้ คดีของจำเลยที่ 10และที่ 11 จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 245(1) ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 10 และที่ 11ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่ 10 และที่ 11ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้
ฎีกาของจำเลยที่ 9 ในข้อที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 9 ขาดอายุความนั้น เมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 9 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ฎีกาของจำเลยที่ 9 ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: ศาลต้องให้สืบพยานหากจำเลยยกอายุความเป็นข้อต่อสู้
แม้ตาม คำฟ้องของโจทก์จะมิได้บรรยายให้เห็นว่าเหตุใดโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกินระยะเวลาตามอายุความแต่หากจำเลยไม่ได้ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้อง ไม่ได้ อายุความจึงไม่ใช่ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความแล้วยังไม่ปรากฏชัดในคำฟ้องจึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความการที่ศาลชั้นต้นเพียง ตรวจคำฟ้องและ คำให้การที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วสั่ง งดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งแปดแล้วพิพากษา ยกฟ้องและศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนตามจึงไม่ชอบ