คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องล่าช้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันสามารถยกอายุความได้เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องล่าช้า
โจทก์ไม่ได้ฟ้องทายาทของ ต. ลูกหนี้ ภายใน 1 ปี นับแต่ทราบถึงความตายของ ต. เป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1754 วรรคสาม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีเช่นนี้ จำเลยอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 694
สัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่ประการใด ข้อตกลงที่ว่าหาก ต. ถึงแก่กรรมจำเลยก็จะชำระหนี้แทน ไม่ใช่ข้อยกเว้น ที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: โจทก์ฟ้องล่าช้าเกิน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด คดีขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานขับรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คำประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยทำให้สินค้าสูญหาย และไม่ส่งคืนเครื่องมือประจำรถบรรทุกซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดเกินกว่า 1 ปีแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก 1 ปี: การฟ้องล่าช้าทำให้ขาดอายุความ แม้จะมีข้ออ้างเรื่องการครอบครองแทน
ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกโดยฐานเป็นทายาท บรรยายฟ้องว่าที่ไม่ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก 1ปี เพราะจำเลยมาสู่ขอบุตรสาวโจทก์ ๆ ยินยอมและตกลงกันว่าเมื่อแต่งงานกันแล้วก็จะได้ใส่ชื่อจำเลยและบุตรสาวโจทก์ โจทก์ถือว่าจำเลยครอบครองมรดกแทนโจทก์และเป็นสัญญากองทุนในการสมรสชอบที่จะบังคับได้ พฤติการณ์เช่นนี้ไม่เป็นการครอบครองแทนและโจทก์มิได้ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา หากฟ้องขอแบ่งมรดก คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.ม.1754