พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำซ้อน: การฟ้องคดีล้มละลายที่มีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับเดียวกันกับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้ำ
การฟ้องคดีล้มละลายมิใช่เป็นการฟ้องเพื่อบังคับเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระแก่เจ้าหนี้ดังเช่นคดีแพ่งทั่วไป แต่เป็นการฟ้องเพื่อจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ดังนี้ การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14 เช่นเดียวกับการพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในคดีหมายเลขดำที่ 556/2547 สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับก็เป็นอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ในขณะที่คดีหมายเลขดำที่ 556/2547 อยู่ในระหว่างการพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำหลังเจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิเจ้าหนี้เดิมไม่ได้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้นมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 ปรากฏว่า บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดและปลดจากล้มละลายแล้วมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายตามหนี้คำพิพากษา & ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น เมื่อศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์คดีดังกล่าวจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2538 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และจำเลยทั้งสองถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ทั้งจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดตามมาตรา 14
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และจำเลยทั้งสองถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ทั้งจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดตามมาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเจ้าหนี้มีประกัน ทำให้ศาลไม่รับฟ้องและไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10 (2) ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกามาพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โดยต้องส่งอุทธรณ์และคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณา การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้ที่จำนวนแน่นอนและบังคับได้ตามลำดับก่อน
คำพิพากษาส่วนแพ่งในคดีอาญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ที่ให้จำเลยส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง หรือใช้ราคาเป็นเงิน 34,922 บาท แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับชำระหนี้ที่จำเลยจะปฏิบัติชำระหนี้โดยการใช้เงินจำนวน 34,922 บาท แก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการคืนเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง ไม่สามารถกระทำได้แล้วเท่านั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาส่วนแพ่งดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามลำดับ เมื่อทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใดเลยว่าเครื่องพิมพ์ดีดที่จำเลยจะต้องส่งคืนแก่โจทก์นั้นได้ถูกทำลายหรือบุบสลายไปแล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยไม่อาจคืนทรัพย์ดังกล่าวได้ หนี้ส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่องคืนแก่โจทก์ยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินราคาเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง พร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะมีสิทธิบังคับลำดับถัดมายังไม่อาจบังคับได้ จึงยังไม่อาจกำหนดได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) โจทก์ไม่อาจนำหนี้เงินดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้บังคับชำระตามลำดับ: สิทธิเรียกร้องยังไม่ถึงกำหนดบังคับ จึงไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาจำเลยกับพวกและมีคำขอแทนผู้เสียหายคือโจทก์ในคดีนี้ให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด ศาลอาญามีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยกับพวกในความผิดฐานรับของโจรเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง และให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนหรือใช้ราคาเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวเป็นเงิน 34,922 บาท แก่โจทก์ คำพิพากษาส่วนแพ่งในคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับชำระหนี้ที่จำเลยจะปฏิบัติชำระหนี้โดยการใช้เงินจำนวน 34,922 บาท แก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการคืนเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง ไม่สามารถกระทำได้แล้วเท่านั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาส่วนแพ่งดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามลำดับ เมื่อจำเลยไม่เคยนำทรัพย์ที่รับของโจรไว้มาคืน โดยไม่ปรากฏว่าเครื่องพิพม์ดีดที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์นั้นได้ถูกทำลายหรือบุบสลายไปแล้ว ศึ่งจะทำให้จำเลยไม่อาจคืนทรัพย์ดังกล่าวได้เช่นนี้ หนี้ส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่องคืนแก่โจทก์ยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินราคาเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์ จะมีสิทธิบังคับลำดับถัดมายังไม่อาจบังคับได้ จึงไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โจทก์ไม่อาจนำหนี้เงินดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้บัญชีเดินสะพัด ดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้จำนวนหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
แม้สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ซึ่งมีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยกันปีละหนึ่งครั้ง หากจำเลยตกเป็นลูกหนี้โจทก์เท่าใดจำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคาร ก. สาขามุกดาหารจะพึงเรียกเก็บจากลูกค้าผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารดังกล่าว และหากจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยในยอดหนี้ที่ค้างชำระแล้วทบเป็นยอดหนี้ที่ค้างชำระที่จะต้องนำไปหักทอนบัญชีในฤดูหีบอ้อยในปีต่อไประหว่างการเดินสะพัดทางบัญชี โจทก์มีการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีหลายครั้ง โดยโจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้มากกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อการเดินสะพัดทางบัญชีของโจทก์มีการคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้และมีการนำดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะทบเข้ากับเงินต้นที่จะหักทอนบัญชีกันในปีต่อไป มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายจึงมีดอกเบี้ยทบต้นที่เป็นโมฆะระคนปนกันอยู่ ซึ่งโจทก์มิได้คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยที่อ้างว่าชอบด้วยกฎหมายมาให้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทั้งๆ ที่โจทก์สามารถคำนวณได้ เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าหนี้ของโจทก์อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3907/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายหลังประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และสิทธิของเจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้
ในคดีล้มละลายคดีก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 นับแต่วันดังกล่าว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันถูกยกเลิกไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายเป็นคดีนี้ในมูลหนี้ ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้แล้ว จนกระทั่งต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 15 แต่อย่างใด
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดในคดีนี้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ผ่อนชำระหนี้ในการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายในคดีก่อนทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ต่อไปได้ เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วในคดีก่อนย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีนี้โดยแจ้งความประสงค์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้ทราบ
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดในคดีนี้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ผ่อนชำระหนี้ในการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายในคดีก่อนทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ต่อไปได้ เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วในคดีก่อนย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีนี้โดยแจ้งความประสงค์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้ทราบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยวินิจฉัยประเด็นหนี้ภาษีแล้ว และจำนวนหนี้ใหม่ไม่เพียงพอต่อการฟ้องล้มละลาย
โจทก์เคยนำหนี้ภาษีการค้ามาฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงพิพากษายกฟ้องแต่ต่อมาโจทก์นำหนี้ภาษีการค้าดังกล่าวรวมกับหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ทั้งสามจำนวนนั้น แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายอีก ดังนั้น การที่โจทก์นำหนี้ภาษีการค้าจำนวนเดิมรวมกับหนี้ภาษีจำนวนใหม่มาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ส่วนหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นหนี้จำนวนใหม่ เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 40,000 บาทเศษไม่เข้าองค์ประกอบที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวเดิมที่เคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการรื้อฟ้อง ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้อง ว. และจำเลยที่ 2 กับพวกให้ล้มละลายในคดีก่อน โดยอาศัยมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ ว. และจำเลยที่ 2 สามารถแสดงหลักฐานให้ศาลเห็นว่าตนมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด โจทก์กลับนำมูลหนี้เดิมมาฟ้อง ว. และจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นคดีแพ่งให้ชำระหนี้อีก ซึ่งศาลพิพากษาให้ ว. และจำเลยที่ 2 กับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวมาฟ้องเป็นคดีนี้ จะเห็นได้ว่ามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องให้จัดการทรัพย์มรดกของ ว. และจำเลยที่ 2 ล้มละลายในคดีนี้ เป็นหนี้ที่สืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์นำไปฟ้องให้ ว. และจำเลยที่ 2 ล้มละลายในคดีแรกมาแล้ว อันเป็นประเด็นอย่างเดียวกันว่า ว. และจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153