คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ฟ้องศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ทางเดียว
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึง 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและเงินประกัน ซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 เมื่อปรากฏว่าได้ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเอง ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของนิติบุคคลต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนไม่ใช่ภูมิลำเนา โจทก์ฟ้องศาลผิด
พระราชบัญญัติ ญญัติการธนาคารพาณิชย์กำหนดว่า ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักรหรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาธนาคารต่างประเทศ จะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติดังกล่าวห้ามสาขาธนาคารต่างประเทศตั้งสำนักงานเพื่อกระทำแทนไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจประเภทธนาคารพาณิชย์ หากจำเลยจะตั้งสำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้จัดตั้ง จึงเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยในประเทศไทยในการติดต่อกับบุคคลทั่วไปเท่านั้น ประกอบกับหนังสืออนุญาตของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้จำเลยตั้งสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยระบุว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยจะต้องไม่ประกอบธุรกิจอันใดอันเข้าลักษณะการประกอบการธนาคารพาณิชย์ จึงแสดงให้เห็นว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยไม่มีอำนาจดำเนินการแทนจำเลยตามวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทย จึงไม่ใช่สาขาธนาคารของจำเลยในประเทศไทย ภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ได้แก่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งหรือถิ่นที่มีสาขาสำนักงานในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ ตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของจำเลย จำเลยจึงไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยในศาลประเทศไทยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีอุทธรณ์ภาษี: การวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ถือเป็นการรับอุทธรณ์แล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้
โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพิ่ม.ตามที่เจ้าพนักงานแจ้งการประเมินได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วอุทธรณ์ฉบับแรกคณะกรรมการฯ สั่งไม่รับเพราะยื่นไม่ถูกแบบ ฉบับหลังสั่งให้ยกอุทธรณ์เพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว และในคำวินิจฉัยนี้ ได้สั่งให้โจทก์นำเงินภาษีไปชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บด้วย ดังนี้ย่อมถือว่าคณะกรรมการฯ ได้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วโจทก์ย่อมฟ้องโต้เถียงว่าได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและการประเมินตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบ ให้เพิกถอนเสียได้ ไม่ใช่ว่าจะฟ้องได้แต่เพียงให้ศาลสั่งคณะกรรมการฯ ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาเท่านั้น
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุมศาลชั้นต้นเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงอุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์โต้เถียงกันเรื่องอำนาจฟ้องเพียงประเด็นเดียวก่อน ครั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง และพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสืบพยานไปตามประเด็นแล้วพิพากษาใหม่ ดังนี้ จำเลยจะยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นข้อฎีกาขึ้นมาด้วยในชั้นนี้ไม่ได้เพราะยังไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการอุทธรณ์ภาษี: ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากข้ามขั้นตอนแล้วรับวินิจฉัย ก็ต้องฟ้องศาล
การอุทธรณ์การประเมินภาษีของอำเภอนั้น ให้อุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานประเมินก่อน แล้วจึงอุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัด แต่ถ้าเป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ให้อุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัดทีเดียว ถัดจากนี้จึงให้อุทธรณ์ต่อศาล อย่างไรก็ตามในกรณีที่อำเภอประเมินภาษีนั้น แม้จะอุทธรณ์ข้ามเจ้าพนักงานประเมินไป คืออุทธรณ์ตรงต่อข้าหลวงประจำจังหวัดทีเดียวนั้น ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดรับวินิจฉัยให้แล้ว ก็ไม่น่าจะล้วงไปวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้ามเจ้าพนักงานประเมินไป เพราะได้ก้าวล่วงพ้นมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการเรียกเก็บภาษีต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากไม่ทำตามสิทธิในการฟ้องศาลเป็นอันสิ้นสุด
การฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการเรียกเก็บภาษีร้านค้า เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บไม่ถูกต้องนั้น ผู้เสียภาษีจะต้องเสียตามที่เจ้าหน้าที่ประเมินมาก่อนแล้วจึงอุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัดหรืออธิบดีแล้วแต่กรณี ต่อจากนั้นจึงจะอุทธรณ์ต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่จัดการอุทธรณ์ตามเกณฑ์และวิธีการดั่งที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลก็หามีไม่ ศาลไม่มีอำนาจจะประทับฟ้องไว้พิจารณา และในกรณีเช่นนี้ แม้จำเลยจะไม่คัดค้านมาแต่ต้น ศาลสูงก็พิพากษายกฟ้องได้ เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเนื่องว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน