คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องหลายสำนวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อฟ้องหลายสำนวน ความผิดเกิดในคราวเดียวกัน ต้องไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา
คดีแรกที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษต่อ จากคดีแรกนั้น เป็นความผิดซึ่ง เกิดในคราวเดียว กัน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งคดีเหมือนกัน เจ้าพนักงานจับกุมในคราวเดียวกันและผู้เสียหายคนเดียวกัน ทั้งความผิดทั้งสองสำนวนเกิดขึ้นและปรากฏต่อ พนักงานสอบสวนก่อนวันที่จำเลยถูก จับกุมในคดีนี้เห็นได้ ว่าโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ กรณีเช่นนี้ศาลลงโทษจำคุกจำเลยได้ ไม่เกินยี่สิบปีแม้ว่าโจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสองสำนวนและขอให้นับโทษต่อกันก็ตามแต่ เมื่อรวมโทษที่จำเลยจะได้ รับแล้วต้อง ไม่เกินยี่สิบปี เมื่อคดีนี้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดย จำคุกจำเลยเต็มตาม ที่กฎหมายกำหนดแล้วศาลจะนับโทษจำเลยต่อ จากคดีแรกไม่ได้ เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ถูก ควบคุมในคดีนี้ แต่ถูก คุมขังในคดีแรก การคำนวณระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ต้องหักจำนวนวันที่จำเลยถูก คุมขังในคดีแรกจากระยะเวลาจำคุก 20 ปีในคดีนี้ เพื่อมิให้จำเลยต้อง รับโทษจำคุกเกินกำหนด 20 ปี ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้คดีนี้จะถึง ที่สุดตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อ จากโทษในคดีแรกเกินกว่า 20 ปี อันไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้นับโทษจำเลยทั้งสองคดีติดต่อ กันให้ถูกต้อง ศาลก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ลงโทษจำเลยทั้งสองคดีติดต่อกันไม่เกิน 20 ปีได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041-1046/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและผลกระทบต่อการลงโทษซ้ำซ้อน ศาลฎีกาตัดสินเรื่องกรรมเดียวแต่ฟ้องหลายสำนวน
จำเลยทำผิดเป็นกรรมเดียว แต่โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยเป็น 5 สำนวน จึงแยกสำนวนลงโทษจำเลยเรียงไปแต่ละสำนวนมิได้ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าจำเลยทำผิดเพียงครั้งเดียว แต่ถูกลงโทษในความผิดอันเดียวกันนั้นซ้ำกันหลายๆ ครั้งได้
คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษ 6 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอมิให้รอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041-1046/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวแต่ฟ้องหลายสำนวน, ดุลพินิจศาลรอการลงโทษ, และการแจ้งความเท็จ
จำเลยทำผิดเป็นกรรมเดียว. แต่โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยเป็น 5 สำนวน. จึงแยกสำนวนลงโทษจำเลยเรียงไปแต่ละสำนวนมิได้. มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าจำเลยทำผิดเพียงครั้งเดียว. แต่ถูกลงโทษในความผิดอันเดียวกันนั้นซ้ำกันหลายๆครั้งได้.
คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษ 6 เดือน. และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ. โจทก์ฎีกาขอมิให้รอการลงโทษจำเลย. เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล. เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง. จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกภาษีมูลค่าเพิ่มและการนับโทษจำคุกกรณีฟ้องหลายสำนวน
คดีก่อนทั้งสองคดีกับคดีนี้โจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยทั้งสองในวันเดือนปีเดียวกันในการกระทำความผิดลักษณะเดียวกัน ใบกำกับภาษีที่ว่าปลอมหรือออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นของห้างเดียวกันกับในคดีนี้ และการใช้ใบกำกับภาษีนั้นมีการใช้ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองว่าใบกำกับภาษีของทั้งสามคดีเป็นฉบับเดียวกัน ทั้งจำเลยที่ 1 ของทุกคดี เป็นนิติบุคคลคนละคนกัน และ ป.รัษฎากร มาตรา 39 มิได้บัญญัติว่าจำเลยที่ 1 อีก 2 คดีที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าเป็นเครือเดียวกันถือว่าเป็นนิติบุคคลเดียวกัน มีแต่จำเลยที่ 2 ที่เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ในทุกคดี ดังนั้น แม้คดีทั้งสองที่จำเลยทั้งสองอ้างดังกล่าวจะมีคำพิพากษาแล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีทั้งสองดังกล่าว แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลคนละคนกันก็ตาม แต่ลักษณะแห่งคดีเป็นการนำใบกำกับภาษีปลอมไปใช้เครดิตภาษีในเดือนภาษีเดียวกัน และความผิดเป็นอย่างเดียวกัน คดีทั้งสามมีความเกี่ยวพันกันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้เมื่อโจทก์แยกฟ้องโดยศาลมิได้สั่งให้รวมการพิจารณาคดีด้วยกัน และโทษที่จะกำหนดลงโทษจำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท ดังนั้น หากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมแล้ว ก็ต้องอยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ดังนั้น การนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของสองคดีดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20 ปี