พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกได้แม้เกินอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกมิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีมรดกไม่ใช่คดีจัดการมรดก
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตาม มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 ทั้งนี้ ตาม มาตรา 1748
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตาม มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 ทั้งนี้ ตาม มาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์ได้แม้เกินอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกมิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีมรดกไม่ใช่คดีจัดการมรดก
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 ทั้งนี้ ตามมาตรา 1748
เมื่อข้อเท็จจริงยังมีที่ดินมรดกอีก 3 แปลงที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้ทายาทแสดงว่าการจัดการมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวงโดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368 โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 ทั้งนี้ ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, การนำสืบพยานนอกฟ้อง, และประเด็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยให้การเพียงว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อนจำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน1,000,000บาทเศษจึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรีมูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วยพยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคารดังกล่าวการพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวกศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใครมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้นหาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่าโจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่งและโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่าจำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน4,068,734บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณาฟ้องของโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทกับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใครมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้นโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้วนำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบจึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่1ที่จำเลยที่1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่1คืนการที่โจทก์ที่2ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่1เท่านั้นโจทก์ที่2ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์เรียกคืนจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเงินเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณาแต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณากลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัวและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คแล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่เช่นนี้การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน14ล้านบาทเศษส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงินเพียง8ล้านบาทเศษโจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ4ล้านบาทเศษเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คได้อย่างไรอันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณีหาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดกและการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่เกินกำหนดเวลา
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ทายาทของเจ้ามรดกยึดถือไว้เพื่อนำมาจัดการตามอำนาจหน้าที่ เป็นการฟ้องคดีมรดก เมื่อฟ้องพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสี่ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเข้าครอบครองทำกินในที่ดินโดยยังไม่ได้แบ่งกัน ถือได้ว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นผู้มีสิทธิรับมรดก โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของเจ้ามรดกจึงเป็นตัวแทนของทายาทมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเพื่อจัดการแบ่งปันต่อไปได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเช่นนั้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดกและการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกหลังพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ง. เรียกเอาทรัพย์มรดกที่ทายาทของ ง. ยึดถือได้ว่าเพื่อนำมาจัดการตามอำนาจหน้าที่เป็นการฟ้องคดีมรดก ง. ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม2515 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กันยายน 2530 พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่ ง. เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 4 โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เข้าครอบครองทำกินในที่ดินมรดกโดยยังไม่ได้แบ่งกัน เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทจึงเป็นตัวแทนของทายาทมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเพื่อจัดการแบ่งปันต่อไปได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ร่วมฟ้องคดีเรียกทรัพย์จากเจ้าหนี้ และการใช้ดุลพินิจของศาลตามมาตรา 292(2)
การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 เป็นกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งในคราวเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากศาลพิพากษาให้ฝ่ายลูกหนี้ชนะคดีก็ไม่ต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้โดยวิธีอื่นเพราะสามารถจะหักกลบลบกันได้ ส่วนการงดบังคับคดีตามมาตรา 292(2) นั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยมีเงื่อนไขเพียงว่า ศาลต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมแก่รูปคดี การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้น และศาลพิพากษาให้โจทก์คืนข้าวเปลือกหรือใช้ราคาแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ขอให้ศาลงดการบังคับคดี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจงดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้ในระหว่างที่คดีจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ยังไม่ถึงที่สุดได้ เพราะหากคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวถึงที่สุดและศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็อาจจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ได้ผลก็คือจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้จนกว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ ถึงที่สุดตามมาตรา 292(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานประพฤติเนรคุณขัดแย้งกับฐานเจ้าของทรัพย์ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ และเอาทรัพย์ที่โจทก์มอบให้จำเลยครอบครองทำกินเพื่อเลี้ยงดู โจทก์ไปทำหลักฐานเป็นชื่อของจำเลยขอให้จำเลยคืนทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์ฟ้องโจทก์ดังกล่าว เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์แต่โจทก์กลับไปอ้างว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องและตามทางนำสืบของโจทก์มิได้ปรากฏว่าโจทก์ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยจะบังคับ ตามคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยคืนทรัพย์ให้โจทก์ฐานประพฤติเนรคุณ มิได้เพราะสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาขัดกัน คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการ ฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088-1089/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมแบ่งมรดก: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกี่ยวข้องกับมรดกหรือไม่ และฟ้องเรียกทรัพย์ตามสัญญาไม่ใช่ฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมกับโจทก์ จะแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ ไม่ได้ฟ้องนางทรัพย์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า ทรัพย์มรดกที่พิพาท จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องอยู่ในความครอบครองของนางทรัพย์และ ส. ซึ่งเป็นโจทก์คนหนึ่งได้รับส่วนแบ่งไปจากนางทรัพย์แล้ว ซึ่งถ้าสมข้อต่อสู้ของจำเลย จำเลยก็ไม่ต้องรับผิด ดังนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานต่อไป
คดีก่อนเป็นเรื่องฟ้องแบ่งมรดก คดีหลังเป็นเรื่องฟ้องเรียกทรัพย์ตามสัญญาแบ่งมรดก ดังนี้ หาใช่เรื่องเดียวกันไม่ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนเป็นเรื่องฟ้องแบ่งมรดก คดีหลังเป็นเรื่องฟ้องเรียกทรัพย์ตามสัญญาแบ่งมรดก ดังนี้ หาใช่เรื่องเดียวกันไม่ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ถูกปิดบังไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดก จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องพี่ชายต่างมารดาซึ่งร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ว่าปิดบังทรัพย์มรดกบางรายการ โจทก์เคยบอกให้นำมาแบ่งก็เพิกเฉย ขอให้บังคับให้ชำระเงินส่วนแบ่งของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจัดการแบ่งมรดกรายนี้มารดาโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับจำเลยและนางสาวพรรณีได้ทำสัญญาแบ่งมรดกให้ทายาททุกคนได้รับเรียบร้อยไปแล้วจนบัดนี้เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องร้องได้แล้ว ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่า จำเลยอ้างอายุความที่เกี่ยวแก่การจัดการมรดกซึ่งห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกมรดกที่จำเลยปิดบังไว้ ไม่เกี่ยวกับการจัดการมรดก ทั้งปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ.2499(นับถึงวันฟ้องไม่เกิน5 ปี) ก็ยังมีการแบ่งมรดกกันอีก คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1733 และคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีความประสงค์ยกอายุความซึ่งเกี่ยวด้วยการจัดการมรดกขึ้นต่อสู้โดยตรงแต่อย่างเดียว มิได้ยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าขาดอายุความตามมาตรา 1754 หรือไม่ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว แม้ไม่ได้อ้างบทมาตรามาด้วย ก็เป็นหน้าที่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าจะยกกฎหมายใดมาปรับคดีและมีอายุความเท่าใดนั้น หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการยักยอกทรัพย์และการใช้เงินคืน แม้มีการฟ้องเรียกทรัพย์จากผู้อื่น
ในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์และขอให้จำเลยคืน หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปด้วยนั้น แม้จะปรากฎว่าได้มีการฟ้องเรียกทรัพย์ที่จำเลยยักยอกไปนั้นจากผู้อื่น ซึ่งอาจต้องรับผิดด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อปรากฎว่าความจริงยังมิได้รับใช้เงิน จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดใช้เงินที่จำเลยได้ยักยอกไป./