พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การแย่งการครอบครองและคำฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนฟ้อง/ถูกฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่า เดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป.ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2529 ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติมจากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง ได้
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำบังคับคดี: ศาลออกคำบังคับเกินคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ แม้คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาเพียงว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์มีสิทธิ ครอบครองที่พิพาท ให้เพิกถอน น.ส.3ก.สำหรับที่ พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลย มิได้พิพากษาให้จำเลยออกจากที่ พิพาท ศาลชั้นต้นจะออกคำบังคับให้จำเลยออกจากที่พิพาท ภายในกำหนด 30 วันไม่ได้ เพราะเป็นการ ออกคำบังคับเกิน กว่าคำพิพากษาศาลฎีกา แม้คดีนี้จะเป็นคดีฟ้องเรียก อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) บัญญัติว่า 'ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับ ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาล เห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้' ย่อม หมายความว่า ศาลจะต้องเห็นสมควรและมีคำสั่งไว้ ขณะเมื่อมี คำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดี โดยเฉพาะคดีนี้โจทก์เป็นยายจำเลยโจทก์อาจประสงค์ให้ที่ดินตามน.ส.3 ก ที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยกลับมา เป็นชื่อของโจทก์เท่านั้น โดยไม่ประสงค์จะขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จึงมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ ขับไล่จำเลยในขณะที่ยื่นฟ้อง ฉะนั้นที่ ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยออกจากที่พิพาทภายใน 30 วัน จึงไม่ ชอบด้วยกฎหมาย