คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนสมาชิกต้องได้รับมอบอำนาจชัดเจน
การฟ้องนายจ้างฐานผิดสัญญาจ้างและเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยลูกจ้างและสหภาพแรงงานมิได้ตกลง ยินยอม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าจ้างที่ยังจ่ายขาดแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น เป็นกรณีที่ลูกจ้างแต่ ละคนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และตามสัญญาจ้างกับนายจ้างโดยตรง หากลูกจ้างคนใดจะฟ้องขอให้บังคับนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานก็จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลโดยจะดำเนินคดีด้วยตนเองหรือแต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความให้ดำเนินคดีแทน หรือจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีแทนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ก็ได้ เมื่อลูกจ้างมิได้เป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเองและมิได้มอบอำนาจให้สหภาพแรงงานดำเนินคดีแทน สหภาพแรงงานจึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 8 และมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: สิทธิของลูกจ้างต้องเป็นผู้ฟ้องเองหรือมอบอำนาจ
สมาชิกของสหภาพแรงงานโจทก์แต่ละคนหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ และตามสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของสมาชิกโจทก์สามารถบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานได้โดยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล ซึ่งจะดำเนินคดีด้วยตนเองหรือจะแต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความ หรือจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานที่ตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีแทนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 36 ก็ได้ เมื่อสมาชิกโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 และมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการและสิทธิเรียกร้อง: ธนาคารรับโอนสิทธิฟ้องแทนโจทก์ได้ตามกฎหมาย
โจทก์โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯ และโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลย โดยขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการคือ สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องแทนกองทุนรวม: ศาลวินิจฉัยให้คิดค่าขึ้นศาลแยกตามทุนทรัพย์ของแต่ละกองทุน
กองทุนรวมทั้งสี่กองทุนตามฟ้องเป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง ผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปลงทุน ย่อมตกแก่กองทุนรวมแต่ละกองทุนตามส่วนของเงินที่นำไปลงทุน แม้หุ้นกู้แต่ละกองทุนเป็นหุ้นกู้ที่จำเลยเสนอขายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน แต่โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ที่นำทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสี่กองทุนไปลงทุน โดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นผลตอบแทนเท่านั้น มิใช่เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้ของจำเลยเอง มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นกู้ตามฟ้องของแต่ละกองทุนรวมจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากจำเลยเป็นรายกองทุนรวม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องแทนกองทุนรวม: ศาลสั่งเสียค่าขึ้นศาลแยกรายกองทุนรวมตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
กองทุนรวม 4 กองทุน ต่างเป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน และแยกต่างหากจากบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 124 วรรคสองโจทก์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทจำเลย ซึ่งผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมตกแก่กองทุนรวมแต่ละกองทุนตามส่วนของเงินที่นำไปลงทุน และแม้หุ้นกู้ที่จำเลยเสนอขายแก่โจทก์จะเป็นคราวเดียวกัน แต่โจทก์เป็นเพียงผู้นำทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสี่กองทุนไปลงทุนโดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นผลตอบแทนเท่านั้นมิใช่เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้ของจำเลยเอง มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นของแต่ละกองทุนจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน ดังนั้น แม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมจะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าไถ่ถอนหุ้นกู้ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยในนามกองทุนรวมทั้งสี่ กองทุนรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากจำเลยเป็นรายกองทุนรวมไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องแทนกองทุนรวม: ศาลตัดสินให้คิดค่าขึ้นศาลแยกตามทุนทรัพย์ของแต่ละกองทุน
กองทุนรวมทั้งสี่กองทุนตามฟ้องเป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 124 วรรคสองผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปลงทุน ย่อมตกแก่กองทุนรวมแต่ละกองทุนตามส่วนของเงินที่นำไปลงทุน แม้หุ้นกู้แต่ละกองทุนเป็นหุ้นกู้ที่จำเลยเสนอขายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน แต่โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ที่นำทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสี่กองทุนไปลงทุน โดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นผลตอบแทนเท่านั้น มิใช่เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้ของจำเลยเอง มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นกู้ตามฟ้องของแต่ละกองทุนรวมจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากจำเลยเป็นรายกองทุนรวม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทเลิกแล้ว: ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องแทน ต้องเป็นผู้ชำระบัญชี
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และได้มีคำพิพากษาของศาลให้เลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี โดยชอบไปแล้ว ผู้มีอำนาจจัดการกิจการของโจทก์ได้แก่ผู้ชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 โดยไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ซึ่งเลิกบริษัทแล้วได้ ส่วนมาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังมิได้เลิก และกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้
เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาไปแล้ว และไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้ แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิม ที่ถูกเพิกถอน จะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วก็เป็นเรื่องที่ ผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมาย การที่ผู้ชำระบัญชีคนเดิมไม่นำบอก ให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชีคนใหม่และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์แล้วก็ตาม ซ. ก็หามีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามของโจทก์ได้ไม่ และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้ขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ชอบมาแต่แรก แม้ต่อมาจะมีการยื่นคำร้องดังกล่าว ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
โจทก์ฎีกาเพียงเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังบริษัทเลิก: ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัทไม่ได้ ผู้ชำระบัญชีต้องฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังไม่เลิกและกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาแล้วไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิมที่ถูกเพิกถอนจะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และประกาศในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็เป็นเรื่องผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีแล้วขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังไม่
โจทก์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อโจทก์เสียไว้เกินต้องคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การฟ้องแทนบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นเหตุให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โดยบิดามารดายกให้ โจทก์มาประมาณ 10 ปีแล้ว ประเด็นในคดีมีว่าที่พิพาทเป็นของ โจทก์หรือไม่ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทมิใช่ของโจทก์ แต่เป็นของบุตรโจทก์ และบุตรโจทก์มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีหรือโจทก์ฟ้องคดีแทนบุตรดังนี้โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลอื่นของนิติบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
of 7