คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีอาญาหลังประนีประนอมและฟ้องแพ่ง – ศาลมีอำนาจลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องไม่ตรงตาม ป.อ. มาตราที่ถูกต้อง
จำเลยปลอมเช็คของโจทก์ร่วมแล้วนำเช็คไปเบิกเงินและยักยอกเงินตามเช็คไป โจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่โจทก์ร่วมนำมูลหนี้ตามเช็คไปฟ้องคดีแพ่งในมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยมูลเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเช็คอันเป็นเอกสารสิทธิ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมสืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คและใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแพ่งจากสัญญาจ้างแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาเรื่องยักยอกเงิน แม้มีคำขอให้คืนเงินเหมือนกัน
คดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อันเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงิน เก็บรักษาเงิน อนุมัติและเบิกจ่ายเงิน ตกลงว่าระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดพร้อมค่าปรับอีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหาย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินโจทก์ไปหลายครั้ง อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้เงินที่ยักยอกและค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ซึ่งเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีมูลจากสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน มิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาเรื่องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความผิดอาญา: ศาลต้องพิจารณาความผิดอาญาก่อน
การกระทำอันก่อให้เกิดหนี้ตามคำฟ้องเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งมีอายุความ 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(1) เมื่อการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาดังที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคหนึ่ง หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดอาญา อายุความก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยศาลแรงงานกลางต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดอาญาหรือไม่จากพยานหลักฐานของโจทก์จำเลย แต่คดีนี้ยังไม่มีการสืบพยานหลักฐานของคู่ความ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้เหตุผลว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะนำคดีมาฟ้องเมื่อเกิน 10 ปีแล้ว จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ในฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำเลยบังอาจเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการทำนาโดยไม่ได้รับอนุญาติ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โจทก์ห้ามจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยว และใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท จำเลยได้รับหนังสือ บอกกล่าวแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้กล่าวถึงสภาพ แห่งข้อหาว่า จำเลยทำละเมิดเข้าไปใช้ประโยชน์โดยทำนาในที่ดินของโจทก์ และบรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยวและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดไปถึงว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในส่วนใดของโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้อง และส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของพจำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และในคดีแพ่งโจทก์หาจำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดกรณีพิพาทในฟ้องดังเช่นการบรรยายฟ้องในคดีอาญาแต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาฟ้องแย่งการครอบครองไม่ใช่ อายุความ การดำเนินคดีอาญาไม่สะดุดอายุความฟ้องแพ่ง
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง แม้จะได้กำหนดว่าต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองก็ไม่ถือว่าเป็นอายุความฟ้องร้อง ดังนั้นแม้จะได้มีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยฐานบุกรุก ก็จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่อายุความ สิทธิที่โจทก์จะฟ้องดำเนินคดีแพ่งหาได้สะดุดหยุดลงไม่โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินหนีหนี้ แม้ฟ้องแพ่งได้ ก็เป็นความผิดอาญา
จำเลยที่ 1 สัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมโอนที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการใช้หนี้แทน จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1ไม่ยอมโอน กลับนำไปโอนขายให้แก่บุคคลอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลเพื่อให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งโดยขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์หาทำให้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำสำเร็จแล้วกลายเป็นผู้ไม่ได้กระทำความผิดไม่ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องนำสืบว่านอกจากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้กับไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยเปิดเผยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งหลังคดีอาญา ยกฟ้อง: ประเมินจากวันที่รู้ถึงการละเมิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคท้ายถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลได้พิพากษายกฟ้องจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก ซึ่งขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่: การบรรยายรายละเอียดวัสดุในฟ้องแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนวัสดุก่อสร้างบ้านที่จำเลยรื้อถอนไปแก่โจทก์โดยได้บรรยายฟ้องระบุเลขที่บ้านและสถานที่ตั้งของบ้านพิพาท ตลอดจนบุคคลที่ขายบ้านพิพาทให้แก่โจทก์กับราคาที่โจทก์ซื้อมาและได้บรรยายต่อไปถึงพฤติการณ์ที่จำเลยรื้อบ้านพิพาทนำเอาวัสดุไปก่อสร้างบ้านหลังใหม่ พร้อมกับแนบสำเนารายการวัสดุของบ้านพิพาทที่จำเลยรื้อไปมาท้ายฟ้องด้วย สามารถรู้ได้ว่ามีวัสดุอะไรบ้างที่จำเลยรื้อไปจากบ้านพิพาท ส่วนบ้านพิพาทเป็นบ้านแบบใด ราคาของวัสดุเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในคดีศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความผิด การฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าปรับคืนจึงไม่สำเร็จ
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีแพ่ง: รายละเอียดที่ไม่จำเป็นในฟ้อง ไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม หากมีรายละเอียดที่ต้องสืบภายหลัง
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่าฟ้องจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น หาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง แม้โจทก์ไม่แนบบัญชีกระแสรายวันมาท้ายฟ้อง และมิได้บรรยายโดยละเอียดตั้งแต่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หรือบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน และทำใบนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันในแต่ละเดือนเท่าใดอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องคำให้การสั่งงดชี้สองสถาน แล้วพิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษา ใหม่ จำเลยฎีกาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมดังนี้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามตาราง1(2)(ข) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1440/2520)
of 3