พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากจำเลยอ้างเป็นเจ้าของแต่แรก
จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยที่ 3 จึงเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งครอบครองที่ดินที่มีสองแปลงและมีเขตติดต่อกัน ทำให้ทุนทรัพย์ของแต่ละแปลงต้องพิจารณาแยกจากกัน
คดีนี้โจทก์ทั้งสองกล่าวฟ้องเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง จำเลยเข้ามาแย่งการครอบครองและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ละคนขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ละคน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้นเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ดังนั้น ทุนทรัพย์ของคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งหรือไม่ จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การระบุทุนทรัพย์ในคำฟ้องและผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน เกิน 1 ปี เสียสิทธิเรียกร้อง
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อปรากฏว่าสามีโจทก์เคยไปขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่พิพาทเมื่อวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2506 จำเลยคัดค้านว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยสามีโจทก์ขายให้และครอบครองตลอดมา แสดงว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่พิพาทจากสามีโจทก์แล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2510 ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกินหนึ่งปี โจทก์เสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองไปเด็ดขาดก่อนฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของตามที่ฟ้อง หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลแสดงว่ามีสิทธิครอบครอง และขอให้ขับไล่ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเป็นแต่เพียงได้รับมอบที่พิพาทจากเจ้าของเพื่อให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ดังนี้ ศาลต้องยกฟ้องเพราะโจทก์สืบไม่สมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88-89/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งครอบครองที่ดินที่เกิดจากการยกให้โดยไม่ได้จดทะเบียน และการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในการฟ้อง
ที่ดินเป็นที่ไร่ไม่มีหนังสือสำคัญให้แก่กันโดยไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับปกครองมา 3-4 ปีแล้ว ผู้ให้จะฟ้องเรียกคืนไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าให้จำเลยอาศัย จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ ทางพิจารณาปรากฏว่าโจทก์ยกให้ดังนี้ ถือว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าให้จำเลยอาศัย จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ ทางพิจารณาปรากฏว่าโจทก์ยกให้ดังนี้ ถือว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6948/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการแบ่งทรัพย์มรดกโดยทายาท การฟ้องแย่งทรัพย์มรดกเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
คดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1424 ให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน และขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แบ่งแยกที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1425 ให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งที่ดินแต่ละแปลงจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เฉพาะตัว โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยลำพังเป็นรายแปลง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องคดีรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกเป็นรายแปลง เมื่อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1424 มีราคา 955,960 บาท ที่ดินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน จึงเป็นเงินคนละ 136,565.71 บาท ส่วนที่ดินหนังสือรับรองการกระทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1425 มีราคา 925,000 บาท ที่ดินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน จึงเป็นเงินคนละ 132,142.86 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกเป็นรายแปลงจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีนี้ ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า การที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำไม่ขอรับมรดก เอกสารหมาย จ.8 และ จ.9 หรือเอกสารหมาย ล.4 และ ล.5 ว่า ไม่มีความประสงค์ขอรับโอนมรดกที่ดินทั้งสองแปลงนั้น เพื่อให้ใส่ชื่อ ส. บิดาของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ถือแทนส่วนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ด้วยนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย