พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาซ้ำ หากกระทำผิดใหม่ภายใน 5 ปีหลังพ้นโทษ แม้ความผิดไม่เหมือนเดิม
ตาม ป.อ. มาตรา 92 ไม่ได้บัญญัติว่า ความผิดครั้งหลังจะต้องเป็นความผิดอย่างเดียวกันกับความผิดครั้งแรก เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนเป็นคดีนี้ภายใน 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้ความผิดคดีนี้จะมิใช่ความผิดเดียวกันกับความผิดดังกล่าว ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัยและลดภาระดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าการที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาเพื่อใช้อยู่อาศัยโดยนำที่ดินและบ้านไปจำนองไว้แก่ธนาคาร ท. ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านดังกล่าว และจดทะเบียนยกที่ดินและบ้านให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แล้ว ส. นำที่ดินและบ้านไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ก. โดยอาศัยสิทธิการเป็นพนักงานของธนาคารดังกล่าวซึ่งจะเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าเดิม โดยการทำนิติกรรมดังกล่าวทั้งหมดทำในวันเดียวกัน หลังจากนั้นโจทก์และ ส. ก็ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านดังกล่าวร่วมกันตลอดมา ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์และครอบครัวยังจำเป็นต้องใช้ที่ดินและบ้านดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ ส. ก็เพียงเพื่อให้ ส. นำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมเท่านั้น แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา ก็ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10889/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี หากเป็นการโอนให้บุตรโดยเสน่หา ไม่ต้องเสียภาษี
บทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 และ 264 วรรคหนึ่ง ศาลภาษีอากรจึงไม่ต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกฤษฎีกาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
มาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไร แต่ได้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ให้ถือว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการขายในทางค้าหรือหากำไรตามที่มาตรา 91/2(6) ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 91/2(6) ทั้งมิได้ขัดต่อมาตรา 91/1(1) กับ มาตรา 91/5(6) เพราะมาตรา 91/1(1) เป็นบทบัญญัติกำหนดความหมายของคำว่า "รายรับ" ส่วนมาตรา 91/5(6) ก็เป็นบทบัญญัติกำหนดฐานภาษีเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา มิใช่ว่าจะเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไปพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 จึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์ได้ที่ดินมาแล้วจดทะเบียนให้ที่ดินนั้นแก่ จ. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ไปในวันเดียวกัน แม้จะถือว่าเป็นการขายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1(4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนที่ดินให้โดยเสน่หาเป็นบุตรโจทก์ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้นแต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินตามกฎกระทรวงฉบับที่ 161(พ.ศ. 2526) ข้อ 1(2) และข้อ 1 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานของจำเลยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 และฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่ต้องคืนดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิรับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544เป็นต้นไปจนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนเงินค่าภาษีที่ได้รับคืน
มาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไร แต่ได้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ให้ถือว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการขายในทางค้าหรือหากำไรตามที่มาตรา 91/2(6) ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 91/2(6) ทั้งมิได้ขัดต่อมาตรา 91/1(1) กับ มาตรา 91/5(6) เพราะมาตรา 91/1(1) เป็นบทบัญญัติกำหนดความหมายของคำว่า "รายรับ" ส่วนมาตรา 91/5(6) ก็เป็นบทบัญญัติกำหนดฐานภาษีเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา มิใช่ว่าจะเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไปพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 จึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์ได้ที่ดินมาแล้วจดทะเบียนให้ที่ดินนั้นแก่ จ. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ไปในวันเดียวกัน แม้จะถือว่าเป็นการขายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1(4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนที่ดินให้โดยเสน่หาเป็นบุตรโจทก์ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้นแต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินตามกฎกระทรวงฉบับที่ 161(พ.ศ. 2526) ข้อ 1(2) และข้อ 1 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานของจำเลยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 และฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่ต้องคืนดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิรับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544เป็นต้นไปจนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนเงินค่าภาษีที่ได้รับคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยที่เคยต้องโทษลักทรัพย์ภายใน 5 ปี แม้ไม่ได้อ้างบทมาตราในคำขอท้ายฟ้อง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาจำคุกฐานลักทรัพย์มาแล้วพ้นโทษไม่เกิน 5 ปี ขอให้เพิ่มโทษแม้ไม่อ้างบทมาตราในคำขอท้ายฟ้องศาลเพิ่มโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกทวีคูณสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาภายใน 5 ปี
การที่จำเลยเคยต้องโทษมาแล้ว 2 ครั้ง ๆ ที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตาม ม.295 จำคุก 3 ปี ครั้งที่ 2 ฐานชิงทรัพย์ ตาม ม.299 จำคุก 1 ปี 6 เดือน แล้วกลับมากระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ในคดีนี้อีก (เป็นครั้งที่ 3) ภายใน 5ปี ดังนี้ จำต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นทวีคูณตาม ม.74.
(อ้างฎีกาที่ 1266/2481)
(อ้างฎีกาที่ 1266/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกทวีคูณสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี
การที่จำเลยเคยต้องโทษมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 295 จำคุก 3 ปีครั้งที่ 2 ฐานชิงทรัพย์ตาม มาตรา299 จำคุก 1 ปี 6 เดือน แล้วกลับมากระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ในคดีนี้อีก (เป็นครั้งที่ 3) ภายใน 5 ปีดังนี้ จำต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นทวีคูณตามมาตรา74 (อ้างฎีกาที่ 1266/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาเนื่องจากเคยต้องโทษและกระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหลักทรัพย์และขอให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องโทษฐานรับของโจรมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีกำหนดจำคุกเกินกว่า 6 เดือน ดังปรากฏตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง พ้นโทษครั้งสุดท้ายมากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายใน 5 ปีไม่เข็ดหลาบ ขอให้ลงโทษและเพิ่มโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 74
จำเลยให้การรับว่า เคยต้องโทษมาหลายครั้งตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง และพ้นโทษครั้งสุดท้ายมายังไม่เกิน 5 ปีจริงดังฟ้องโจทก์ ดังนี้เมื่อปรากฏว่า ตามใบแดงแจ้งโทษจำเลยเคยต้องโทษมา 5 ครั้งๆที่ 5 ต้องโทษฐานรับของโจรจำทุก 8 เดือนพ้นโทษมายังไม่เกิน 3 ปี ก็มากระทำผิดคดีนี้อีก ก็ต้องฟังว่าคำรับของจำเลยแปลความได้ว่ารับรวมทั้งพ้นโทษตามใบแดงแจ้งโทษด้วย จึงเพิ่มโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตารา 73 ได้
จำเลยให้การรับว่า เคยต้องโทษมาหลายครั้งตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง และพ้นโทษครั้งสุดท้ายมายังไม่เกิน 5 ปีจริงดังฟ้องโจทก์ ดังนี้เมื่อปรากฏว่า ตามใบแดงแจ้งโทษจำเลยเคยต้องโทษมา 5 ครั้งๆที่ 5 ต้องโทษฐานรับของโจรจำทุก 8 เดือนพ้นโทษมายังไม่เกิน 3 ปี ก็มากระทำผิดคดีนี้อีก ก็ต้องฟังว่าคำรับของจำเลยแปลความได้ว่ารับรวมทั้งพ้นโทษตามใบแดงแจ้งโทษด้วย จึงเพิ่มโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตารา 73 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกจากความผิดซ้ำภายใน 5 ปี และการนำโทษที่รอการลงโทษไปลงโทษ
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมีกำหนด 9 เดือนมาแล้ว แต่ถูกรอการลงอาญาไว้มากระทำผิดฐานฆ่าคนตายตาม มาตรา 249 ขึ้นอีกภายใน 5 ปี ศาลพิพากษาจำคุก 15 ปี และเพิ่มโทษตามมาตรา 42, 72 อีก 1 ใน 3 เป็นโทษให้จำคุก 20 ปีแล้วเอาโทษที่รอไว้ 9 เดือนมาลงแก่จำเลย รวมเป็นโทษจำคุก 20 ปี 9 เดือน ศาลฎีกาพิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เคยต้องโทษปรับแล้วกระทำความผิดซ้ำภายใน 5 ปี เพิ่มโทษได้ตามกฎหมาย
เคยต้องโทษปรับฐานเล่นการพะนันครั้งหนึ่งแล้วมาทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกภายใน 5 ปี เพิ่มโทษตามม.72 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18297/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกซ้ำตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ กรณีต้องโทษจำคุกภายใน 5 ปีหลังพ้นโทษ
คดีอาญาที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด เท่ากับจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ด้วย เพียงแต่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น เมื่อคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยเป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ กรณีจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97