พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางข้อเท็จจริงและการจัดสรรที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินและขอบเขตสิทธิของเจ้าของสามยทรัพย์
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จัดจำหน่ายที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งมีสภาพติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลง ขึ้นไปโดยมีทางเท้าและถนนผ่านตึกหน้าโครงการ เป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ ถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ดังนั้นทางเท้าและถนนซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินจึงต้องตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินที่จัดสรรทุกแปลง ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 1 และข้อ 30 โจทก์ซื้อที่ดินจากผู้ที่รับโอนที่ดินมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ภารจำยอมจึงตกติดไปยังโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทางภารจำยอมที่ตกแก่ที่ดินที่จัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทได้
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางเท้าตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลย จำเลยมีสิทธิที่จะใช้ทางเท้าและกันสาดปูนซึ่งมีสภาพติดกับตึกแถวมาแต่แรกโดยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แต่วัสดุผ้าใบกันฝนที่จำเลยนำมาติดตั้งไว้หน้าตึกแถว เป็นการกระทำขึ้นภายหลัง จำเลยไม่มีสิทธิกระทำให้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์ เพราะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ จำเลยจึงต้องรื้อออกไป แม้จะมีการติดตั้งผ้าใบกันฝนที่ตึกแถวของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางเท้าตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลย จำเลยมีสิทธิที่จะใช้ทางเท้าและกันสาดปูนซึ่งมีสภาพติดกับตึกแถวมาแต่แรกโดยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แต่วัสดุผ้าใบกันฝนที่จำเลยนำมาติดตั้งไว้หน้าตึกแถว เป็นการกระทำขึ้นภายหลัง จำเลยไม่มีสิทธิกระทำให้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์ เพราะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ จำเลยจึงต้องรื้อออกไป แม้จะมีการติดตั้งผ้าใบกันฝนที่ตึกแถวของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมหมดประโยชน์เมื่อมีการปลูกสร้างเต็มพื้นที่ ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480 เป็นทางภารจำยอมของที่ดินแปลงอื่น ต่อมามีการแบ่งแยกปรากฏว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่ออกเป็นโฉนด เลขที่ 19056,19057 และ 19058 แล้ว มีลักษณะเป็น ถนนซอยกว้างประมาณ 6 เมตร ออกสู่ถนนเพชรเกษม ลักษณะของทางภารจำยอมเป็นซอยตัน ริมทางภารจำยอม มีตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสภาพปลูกสร้างมานานหลายปี ปลูกเต็มพื้นที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 แสดงว่าที่ดินที่ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินออกไปแล้วส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 ไม่ได้ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมมาเป็นเวลานานเพราะมีสิ่งปลูกสร้างเป็นตึกแถวเต็มพื้นที่ จึงเป็นกรณีที่ภารจำยอมนั้นไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการ หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารยทรัพย์และการกระทำของผู้มีสิทธิในการรักษาสิทธิในทางพิพาท
ปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า อุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 หรือไม่ แม้เป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อเหล็กปิดกั้นซอย 1 และซอย 4 ในหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ 2 โครงการ 3 ห้ามขัดขวางรบกวนการใช้ซอยดังกล่าวของโจทก์ ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากบรรทุกสินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาท เป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชำรุดเสียหาย ไม่สะดวกและน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์รถยนต์บรรทุก กรรมกรบนรถยนต์บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุก รบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้าน เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงในสำนวน หาใช่เป็นการคาดคะเนหรือเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่
ทางพิพาทเป็นถนนส่วนบุคคลเป็นของจำเลยที่ 1 และเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 และการที่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัยจากจำเลยที่ 1 โดยให้สัญญาว่าต้องใช้ประโยชน์แห่งที่ดินและอาคารในทางที่ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายและไม่เป็นการรบกวนปกติสุขของผู้อยู่ข้างเคียงหรือสังคม แต่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 กลับให้โจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทในลักษณะผิดข้อสัญญาดังกล่าว และโจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไปมาเข้าออกบนทางพิพาท ซึ่งถือได้ว่าทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1388 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมตั้งเสาทำคานปิดกั้นทางพิพาทมิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็กผ่านไปมาได้ มิได้ห้ามหรือปิดกั้นไม่ให้โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทเสียทีเดียว ย่อมเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจในทางพิพาทในลักษณะปกติธรรมดาของการปกป้องเยียวยาต่อการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม และเป็นการกระทำของเจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งมีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ หาจำต้องถูกบังคับให้ต้องใช้สิทธิต่อพนักงานสอบสวนหรือศาลไม่ และการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าดังกล่าวก็ไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามป.พ.พ.มาตรา 1390 ดังนั้น จำเลยทั้งสิบห้าจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อเหล็กปิดกั้นซอย 1 และซอย 4 ในหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ 2 โครงการ 3 ห้ามขัดขวางรบกวนการใช้ซอยดังกล่าวของโจทก์ ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากบรรทุกสินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาท เป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชำรุดเสียหาย ไม่สะดวกและน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์รถยนต์บรรทุก กรรมกรบนรถยนต์บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุก รบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้าน เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงในสำนวน หาใช่เป็นการคาดคะเนหรือเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่
ทางพิพาทเป็นถนนส่วนบุคคลเป็นของจำเลยที่ 1 และเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 และการที่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัยจากจำเลยที่ 1 โดยให้สัญญาว่าต้องใช้ประโยชน์แห่งที่ดินและอาคารในทางที่ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายและไม่เป็นการรบกวนปกติสุขของผู้อยู่ข้างเคียงหรือสังคม แต่โจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 3 กลับให้โจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทในลักษณะผิดข้อสัญญาดังกล่าว และโจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไปมาเข้าออกบนทางพิพาท ซึ่งถือได้ว่าทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1388 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมตั้งเสาทำคานปิดกั้นทางพิพาทมิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็กผ่านไปมาได้ มิได้ห้ามหรือปิดกั้นไม่ให้โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทเสียทีเดียว ย่อมเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจในทางพิพาทในลักษณะปกติธรรมดาของการปกป้องเยียวยาต่อการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม และเป็นการกระทำของเจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งมีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ หาจำต้องถูกบังคับให้ต้องใช้สิทธิต่อพนักงานสอบสวนหรือศาลไม่ และการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าดังกล่าวก็ไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามป.พ.พ.มาตรา 1390 ดังนั้น จำเลยทั้งสิบห้าจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเข้าออก: สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของภารยทรัพย์และสามยทรัพย์
แม้ขณะเมื่อซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวโจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบอกว่าจะให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ ก็เป็นแต่เพียงคำมั่นว่าจะให้เท่านั้นกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ปรากฏตามโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ แต่การที่โจทก์วางผังสร้างตึกแถวโดยให้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเชื่อมต่อกับทางสาธารณะเป็นทางเข้าออกตึกแถวรายนี้ ย่อมเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้ถนนเป็นสาธารณูปโภคแก่ตึกแถว โจทก์จึงมีภาระผูกพันโดยถือว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินและตึกแถวรายนี้แล้ว เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวโดยไม่มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จะประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1390 แห่ง ป.พ.พ. และจำเลยในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เช่นเดียวกันตามบทบัญญัติมาตรา 1388 การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมเฉพาะใช้เป็นทางเข้าออกเท่านั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิกระทำได้ เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ชอบที่ศาลจะให้จำเลยรื้อถอนกันสาดและขนย้ายแผงหนังสือออกไปจากที่ดินพิพาท
แต่การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือบริเวณหน้าตึกแถวของจำเลย ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์คงมีแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นทางภาระจำยอม โจทก์จึงต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน และต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยด้วย กล่าวคือโจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีก เพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
แต่การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือบริเวณหน้าตึกแถวของจำเลย ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์คงมีแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นทางภาระจำยอม โจทก์จึงต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน และต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยด้วย กล่าวคือโจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีก เพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอมโดยอายุความและการถมดินเพื่อรักษาทาง
ที่ดินแปลงหนึ่งแม้มีทางออกสู่ถนนสาธารณะแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดทางภาระจำยอมทางอื่นโดยอายุความอีกได้
การที่เจ้าของสามยทรัพย์ถมทางภาระจำยอมให้สูงเท่ากับทางสาธารณะเพื่อเป็นการรักษาและใช้ทางภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391ไม่เป็นการละเมิดต่อเจ้าของภารยทรัพย์
การที่เจ้าของสามยทรัพย์ถมทางภาระจำยอมให้สูงเท่ากับทางสาธารณะเพื่อเป็นการรักษาและใช้ทางภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391ไม่เป็นการละเมิดต่อเจ้าของภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสามยทรัพย์: เจ้าของสามยทรัพย์มีอำนาจฟ้อง แม้ยังมิได้เปลี่ยนชื่อในโฉนด
แม้จำเลยจะได้ให้การแก้คดีว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตามฟ้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยก็เบิกความยอมรับว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแล้ว ดังนี้แม้ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินมาเป็นของโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1387
ความเป็นญาติมิใช่เหตุผลที่จะต้องฟังว่าพยานจะเบิกความเข้าข้างกันเสมอไป คำเบิกความของพยานปากใดจะรับฟังได้หรือไม่ สุดแล้วแต่เหตุผลในคำพยานนั้นเอง
ความเป็นญาติมิใช่เหตุผลที่จะต้องฟังว่าพยานจะเบิกความเข้าข้างกันเสมอไป คำเบิกความของพยานปากใดจะรับฟังได้หรือไม่ สุดแล้วแต่เหตุผลในคำพยานนั้นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภารจำยอม: หลักประนีประนอมระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
ทางภารจำยอมเดิมเป็นที่ต่ำ ยามฝนตกน้ำท่วมขังต้องใช้ไม้พาดเป็นทางเดิน ส่วนทางที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์สร้างขึ้นใหม่เป็นคอนกรีตเดินได้ทุกฤดูกาลสะดวกกว่าทางภารจำยอมเดิม แม้จะคดโค้งหักงอเป็นข้อศอกแต่ก็ไม่ทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้นมากนัก เมื่อพิจารณาถึงความสะดวกของเส้นทางดังกล่าวซึ่งมีมากกว่าทางภารจำยอมเดิมประกอบกับประโยชน์ที่เจ้าของภารยทรัพย์ได้รับจากการปลูกสร้างบ้านในบริเวณที่เหมาะสมภายในที่ดินของตนโดยไม่ต้องรื้อถอนสิ่งที่ปลูกสร้างไว้ให้เสียหาย รวมตลอดถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1392 ที่ต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ไม่ให้ถือเคร่งตามสิทธิเกินไป การย้ายทางภารจำยอมไปยังทางที่สร้างขึ้นใหม่จึงไม่ทำให้ความสะดวกของจำเลยลดน้อยลง โจทก์จึงเรียกให้ย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภารจำยอม: การยินยอมของเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ทางภารจำยอมย้ายไปยังเส้นทางใหม่ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยมากว่า 10 ปี ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ต่อมาจำเลยขอให้โจทก์ย้ายทางภารจำยอมมายังส่วนอื่นของที่ดินจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยทางเส้นใหม่นี้จึงตกเป็นทางภารจำยอมแทนทางเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ & การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์: การวางเสาไฟฟ้าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ การที่โจทก์ไปขอใช้เงินแก่เจ้าของที่ดินจำเลยคนก่อนแต่เขาไม่ยอมก็ดีหรือโจทก์ขอให้ผลมะพร้าวให้จำเลยแล้วผิดข้อตกลงกันก็ดี เมื่อเป็นเรื่องโจทก์เสนอให้ค่าตอบแทนเพื่อโจทก์จะทำถนนได้กว้างขึ้นเท่านั้น จึงไม่ทำให้ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมอยู่แล้วกลายเป็นไม่เป็นภารจำยอมหรือภารจำยอมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด แม้ทางพิพาทจะตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่การปักเสาไฟฟ้าการวางสายไฟฟ้าในที่ดินจำเลยที่เป็นภารจำยอมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ทำให้เกิดภารเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ให้ค่าทดแทนและไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยโจทก์จึงหามีสิทธิปักเสาพาดสายไฟฟ้าตามทางพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การอ้างซื้อโดยสุจริตไม่ตัดสิทธิภารจำยอม
ภารจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล ดังนั้น แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ ตามมาตรา 1299 บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้นมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น กรณีตามที่จำเลยอ้างเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ จึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกันจำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่.