พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายและการรับรองการไม่มีภาระติดพัน การฟ้องผิดสัญญาต่างจากการฟ้องรอนสิทธิ
โจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญารับรองกับโจทก์ว่าไม่มีการรอนสิทธิ โดยโจทก์มิได้ฟ้องร้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเพราะการรอนสิทธิ การฟ้องร้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเรียกค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือบทบัญญัติอายุความทั่วไปคือ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายและการรับรองการไม่มีภาระติดพัน การฟ้องผิดสัญญาต่างจากการฟ้องเรื่องรอนสิทธิ
โจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญารับรองกับโจทก์ว่าไม่มีการรอนสิทธิ โดยโจทก์มิได้ฟ้องร้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเพราะการรอนสิทธิ การฟ้องร้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเรียกค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือบทบัญญัติอายุความทั่วไปคือ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิขาย/จำนอง/ก่อภาระได้ การโอนสิทธิไม่ถือเป็นเจตนาลวงและไม่ขัดต่อสิทธิเจ้าของรวมอื่น
เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ หากการ ใช้นั้นไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และจะ จำหน่ายส่วนของตนหรือจำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 และ 1361จำเลยที่ 1 และที่ 3 โอนขายที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยอื่นและโอนขายให้แก่กัน เพื่อให้จำเลยทั้งเจ็ดเข้ามาใช้ที่ดินที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นสิทธิของเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆที่จะกระทำได้ แม้การโอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จำเลยผู้รับโอนเข้ามาใช้ทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อเป็นสิทธิซึ่งกฎหมายรับรองให้มีขึ้นจากการเป็นเจ้าของรวม กรณีมิใช่เป็นเจตนาลวงหรือนิติกรรมอำพราง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน การที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 1675และ 1676 ร่วมกับจำเลย ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์จำเลย จะสร้างถนนใช้ร่วมกันทั้งลักษณะของที่ดินทั้งสองโฉนดเป็น รูปยาวขนานกันไปประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ ส่วนที่เหลือจากการ สร้างถนนจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงให้โจทก์สร้างถนนยาวตลอดที่ดินเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยแปลงที่อยู่ด้านใน แต่โจทก์สร้างไม่เต็มตามที่ตกลงไว้ คงสร้างเฉพาะส่วนที่โจทก์ใช้ประโยชน์เท่านั้น ต่อมาจำเลยอื่นซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้สร้างถนนต่อไปจนตลอดเพื่อใช้ร่วมกัน โดยความรู้ความเห็น ยินยอมของจำเลยอื่นผู้เป็นเจ้าของรวมทุกคน ตรงตาม วัตถุประสงค์แห่งเจ้าของรวม การใช้สิทธิของจำเลยและ จำเลยอื่นจึงไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 และ 1361 และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ คดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเรื่องเดียวและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีจำเลยทั้งเจ็ด การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทุกคนเป็น รายคน คนละ 2,500 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็น การไม่ถูกต้องเนื่องจากเกินกว่า 3,000 บาท ซึ่งเป็นอัตรา ที่กฎหมายกำหนดตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาใน ปัญหานี้ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องเป็นให้ โจทก์ใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนจำเลยทั้งเจ็ดรวม 3,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิอุทธรณ์ 60 วันของผู้รับค่าทดแทนและอำนาจฟ้องของผู้รับประโยชน์ภาระติดพัน
ได้มีการส่งต้นฉบับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไปยังบ้านหรือภูมิสำเนาของโจทก์แล้วโดยไม่มีการส่งเอกสารดังกล่าวไปยังบ้านบุคคลอื่น และกรณีเป็นเพียงเขียนชื่อถนนผิดพลาดไปเท่านั้น ดังนี้ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2533 แล้ว โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำเนาใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 มาพิจารณาประกอบ ฉะนั้นที่โจทก์ที่ 1ฎีกาโต้แย้งเกี่ยวกับการรับฟังเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 นั้นไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมาแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2533 จึงพ้น 60 วันซึ่งเป็นกำหนดเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนกล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 16 วรรคสอง,29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ดิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิมเมื่อการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้จำเลยอ้างมีภาระติดพัน
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อปรากฏว่าที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนเนื้อที่ 60 ไร่ 20 ตารางวา โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงโดยโอนที่ดินดังกล่าวไปเป็นของโจทก์ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องพิจารณาคำร้องของดการบังคับคดีของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินที่มีภาระจำนอง: การให้มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. มาตรา 535(2) จำนองต้องมีอยู่ขณะทำสัญญา
สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)จะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยโดยที่ดินมีการจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งจำเลยต้องรับผิดในหนี้ของห้างได้ไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)ประกอบมาตรา1087และจำเลยก็รับว่าเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยถือได้ว่าการจำนองเป็นการประกันหนี้ของจำเลยการยกให้ที่ดินโดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองดังกล่าวจะถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2) ต้องมีอยู่ในขณะทำสัญญา
การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)นั้นสิ่งที่มีค่าภาระติดพันนั้นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กันแม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองก่อนการให้คดีนี้นานแล้วก็เป็นเหตุการณ์คนละตอนจึงมิใช่สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ที่ดินพิพาทในคดีนี้ การทำสัญญายกให้ที่ดินและบ้านพิพาทขณะที่ยังติดจำนองเป็นประกันหนี้ครั้งที่สามอันถือว่าเป็นหนี้ของจำเลยผู้รับให้โดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองไม่ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินมีภาระติดพัน: สิทธิเก็บผลประโยชน์ตลอดชีวิตทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจถอนคืนการให้ได้
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสามโดยโจทก์ยังมีสิทธิเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ตลอดชีวิต แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็เป็นภาระเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ถือได้ว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยมีภาระติดพัน: โจทก์ไม่มีอำนาจถอนคืนได้ แม้อ้างเหตุเนรคุณ
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยโจทก์ยังมีสิทธิเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ตลอดชีวิต แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมาย แต่ก็เป็นภาระเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ถือได้ว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้จำเลยทั้งสามเพราะเหตุเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2)ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
แม้ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นหญิงมีสามี แต่การฟ้องคดีมิได้เกี่ยวกับสินสมรสและไม่ได้ก่อให้เกิดภาระติดพันสินสมรสระหว่างผู้รับมอบอำนาจกับสามีจึงไม่เป็นการจัดการสินสมรส ผู้รับมอบอำนาจไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี