พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารต้องพิสูจน์ความแท้จริงและถูกต้อง หากไม่มีกฎหมายยกเว้น และจำเลยมีภาระพิสูจน์หากฟ้องว่าโจทก์ปกปิดข้อมูล
พยานเอกสารที่ส่งมาตามคำสั่งเรียกของศาลนั้น คงรับฟังได้แต่เพียงว่าผู้จัดส่งเป็นผู้ครอบครองเอกสารนั้นไว้ แต่การที่จะรับฟังได้ว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องนั้น ผู้อ้างเอกสารจะต้องนำสืบพิสูจน์ต่อศาลอีกชั้นหนึ่ง เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าไม่ต้องพิสูจน์ รายงานแพทย์ที่โรงพยาบาลที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกมาจากโรงพยาบาลนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไม่ต้องพิสูจน์ความแท้จริงและความถูกต้อง เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าโจทก์มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดีในขณะทำสัญญาประกันชีวิตและไม่เคยแจ้งแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำเลยมีภาระในการพิสูจน์ว่ารายงานแพทย์ดังกล่าวที่ระบุว่าโจทก์มีประวัติเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนั้นแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยอ้างส่งรายงานแพทย์ลอย ๆ โดยมิได้นำแพทย์ที่ซักประวัติโจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาเบิกความยืนยันให้เห็นว่าเป็นรายงานแพทย์ที่แท้จริงและถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ได้ให้รายละเอียดกับแพทย์ผู้ตรวจรักษาตามรายงานแพทย์เอกสารหมาย ป.ล. 3 ไว้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดยาเสพติด: สันนิษฐานความเชื่อมโยงกับความผิดและภาระการพิสูจน์
จำเลยคดีนี้กับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วมิใช่บุคคลคนเดียวกัน เหตุแห่งการขอริบธนบัตรจำนวนเดียวกัน คดีอีกคดีหนึ่งโจทก์ขอริบโดยอ้างเหตุว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยในคดีดังกล่าวได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 แต่คดีนี้ผู้ร้อง อ้างเหตุให้ริบว่าเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้ ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 22, 27, 29 และ 31 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลพิจารณาริบธนบัตรจำนวนนี้แตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงหาเป็นการร้องซ้อนหรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีอีกคดีหนึ่ง หรือทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ไม่
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการพิสูจน์ภาระหน้าที่ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระหนี้เงินตามสัญญากู้ยืมเงินและคืน น.ส.3 ก. ที่ให้เป็นประกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่อ้างว่าได้เปลี่ยนสัญญากู้ยืมเงินกันใหม่อีก 2 ครั้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า คู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้คือจำนวนเงินที่กู้ยืม หากเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องย่อมระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 โจทก์ย่อมขอชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวอีกมิได้ เหตุนี้ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จริงหรือไม่
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือ vs. จ้างเหมาระวาง, อายุความค่าชดใช้เรือเสียเวลา, และภาระการพิสูจน์ผู้ทำสัญญา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้นจะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญหาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่ เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาะระวางบรรทุกของเรือโดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคง เป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรื่องที่ ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่อง ค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้อง เอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่ เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใดกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัทม.ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากแจ้งความเท็จทำให้ถูกดำเนินคดีอาญา และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจร อันเป็นความผิดและมีโทษตาม ป.อ.มาตรา 172 ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 51วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะ ความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่ 260 ของโจทก์ที่ 1 กับ บ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญา ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะ ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่ 260โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด โจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้าง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ ค่าเสียหายเพียงใด และกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะ ความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่ 260 ของโจทก์ที่ 1 กับ บ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญา ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะ ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่ 260โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด โจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้าง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ ค่าเสียหายเพียงใด และกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และภาระการพิสูจน์ในคดีละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแจ้งขอความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจร อันเป็นความผิดและมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะ ความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่ 260 ของโจทก์ที่ 1 กับ บ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญา ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาทจำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่ 260 โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหายประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด โจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้าง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ ค่าเสียหายเพียงใด และกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: สันนิษฐานว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส จำเลยมีภาระพิสูจน์หักล้าง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินนั้นจำเลยอ้างว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแทนบุคคลอื่นจำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาระหว่างสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474วรรคสองจำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมิใช่สินสมรสย่อมมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ค้ำประกัน, และรับชำระหนี้: ข้อพิพาทเรื่องหนี้และภาระการพิสูจน์
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดภาระในการพิสูจน์ผิดพลาดโดยให้ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสามทั้งที่ตามกฎหมายต้องตกแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิจารณาคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีผลให้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายของที่พักอาศัย:ภาระการพิสูจน์ของโจทก์
ประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้พักอาศัยในที่พักของมหาวิทยาลัยเป็นเพียงข้อที่ผู้เข้าอยู่อาศัยควรปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตามและพิสูจน์ได้ว่าผู้เข้าอยู่อาศัยกระทำให้ที่พักหรืออุปกรณ์เสียหาย ต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้น คดีนี้แม้ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุ และขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ไม่มีผู้ใดอยู่ในบ้าน แต่เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับตัวบ้าน กฎหมายมิได้วางบทสันนิษฐานล่วงเลยไปให้เป็นโทษแก่จำเลยผู้ครอบครองเรือนต้องรับผิดในความเสียหาย โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 ประกอบป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้ครอบครองเรือนในคดีเพลิงไหม้ - โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำผิด
ประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้พักอาศัยในที่พักของมหาวิทยาลัยเป็นเพียงข้อที่ผู้เข้าอยู่อาศัยควรปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตามและพิสูจน์ได้ว่าผู้เข้าอยู่อาศัยกระทำให้ที่พักหรืออุปกรณ์เสียหาย ต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นคดีนี้แม้ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุและขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ไม่มีผู้ใดอยู่ในบ้าน แต่เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับตัวบ้าน กฎหมายมิได้วางบทสันนิษฐานล่วงเลยไปให้เป็นโทษแก่จำเลยผู้ครอบครองเรือนต้องรับผิดในความเสียหายโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420