พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญ-การขายที่ดินเพื่อหากำไร-ภาระภาษี-ผลผูกพันสัญญา
ตามพฤติการณ์ที่โจทก์กับ อ. ตกลงร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. เมื่อถึงวันโอนโจทก์ไม่ว่างจึงให้ อ. เป็นผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายที่ดินเพียงผู้เดียว การจ่ายเงินค่าที่ดินโจทก์ร่วมจ่ายกับ อ. ตั้งแต่แรกคนละครึ่ง นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินให้บริษัท ก. ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2533 โจทก์เป็นผู้เสนอขายที่ดินบริเวณแขวงตลาดบางเขน (ดอนเมือง) รวม 10 โฉนด ซึ่งรวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าว โดยมีข้อมูลประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับความสูงของอาคารที่จะสามารถก่อสร้างได้ ซึ่ง อ. สอบถามจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และการขอเปิดทางเข้า - ออก ผ่านที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งโจทก์ดำเนินการร่วมกับ อ. แสดงให้เห็นว่าโจทก์และ อ. ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อขายและร่วมกันขายให้แก่บริษัท ก. จึงเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
การที่โจทก์และ อ. ร่วมกันจองซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งเป็นที่นาอยู่ต่ำกว่าทางรถไฟ 2.3 เมตร ไม่มีบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ในราคาตารางวาละ 47,000 บาท อ. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2533 และโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 แล้วร่วมกันขายต่อให้บริษัท ก. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2533 ในราคาตารางวาละ 66,000 บาท ซึ่งเป็นการขายต่อในระยะเวลาสั้นและได้กำไรจำนวนมากโดยไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับ อ. มีเจตนาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การที่โจทก์กับ อ. ขายที่ดินให้แก่บริษัท ก. จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องนำรายได้จากการขายมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8), 56, 77 (เดิม) และ 78 (เดิม)
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุว่าบริษัท ก. เป็นผู้ชำระค่าภาษีจากการขายที่ดินทั้งหมดเป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาคือโจทก์กับพวกและบริษัท ก. มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลทำให้ความรับผิดของโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
การที่โจทก์และ อ. ร่วมกันจองซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งเป็นที่นาอยู่ต่ำกว่าทางรถไฟ 2.3 เมตร ไม่มีบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ในราคาตารางวาละ 47,000 บาท อ. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2533 และโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 แล้วร่วมกันขายต่อให้บริษัท ก. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2533 ในราคาตารางวาละ 66,000 บาท ซึ่งเป็นการขายต่อในระยะเวลาสั้นและได้กำไรจำนวนมากโดยไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับ อ. มีเจตนาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การที่โจทก์กับ อ. ขายที่ดินให้แก่บริษัท ก. จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องนำรายได้จากการขายมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8), 56, 77 (เดิม) และ 78 (เดิม)
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุว่าบริษัท ก. เป็นผู้ชำระค่าภาษีจากการขายที่ดินทั้งหมดเป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาคือโจทก์กับพวกและบริษัท ก. มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลทำให้ความรับผิดของโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม: หนี้ภาษีมีภาระเงินเพิ่มย่อมได้รับการปลดเปลื้องก่อน
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และเงินเพิ่มภาษีส่วนท้องถิ่นมิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งบทมาตราดังกล่าวหาใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระมาหักชำระหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีก่อนได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่า ๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมาย ดังนี้ หนี้ค่าภาษีย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง จึงต้องนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระไปหักชำระค่าภาษีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร และหลักฐานการพิสูจน์ภาระภาษี
หลักฐานรายจ่ายเกี่ยวกับค่าช่วยเหลือชักนำลูกค้าเป็นแบบฟอร์ม ที่โจทก์จัดทำขึ้นเอง โจทก์จะให้คนของโจทก์กรอกข้อความอย่างไร ก็ได้ เอกสารทุกฉบับมีแต่ลายเซ็นชื่อของผู้รับเงินเท่านั้น นามสกุล ก็ ไม่ปรากฏ สถานที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่มีให้ตรวจสอบถึง ความถูกต้อง แท้จริงได้ เป็นการผิดวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจการค้า ที่มีเงินลงทุน จำนวนมากและสถิติการจำหน่ายสินค้าได้นับจำนวน พันล้านบาทต่อปี เช่นโจทก์จะพึงกระทำโดยหละหลวมเช่นนั้น พยานหลักฐาน ที่โจทก์นำสืบ มายังไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าโจทก์ได้จ่ายเงิน ช่วยเหลือชักนำลูกค้า จริง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามนำ มา หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) โจทก์มีแต่ ช. เป็นพยานเบิกความไม่มีเอกสารอื่นใดมาสนับสนุนว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริษัทในเครือยืมเงินไป มากกว่าดอกเบี้ยที่จะได้จากบริษัทในเครือของโจทก์เท่าใด จึงฟัง ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริษัทในเครือของโจทก์มากกว่า ที่จะได้รับดอกเบี้ย จากเงินที่โจทก์ได้ให้ยืมไปนั้น ทั้งการที่ โจทก์ให้บริษัทในเครือของโจทก์กู้ยืมไปนี้ก็เพื่อบริษัทในเครือ ของโจทก์ไปผลิต สินค้ามาให้โจทก์จำหน่าย แม้โจทก์จะได้ผลกำไรจาก การจำหน่ายสินค้านั้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่าย ให้แก่สถาบันการเงินที่ โจทก์ ได้กู้ยืมเงินมา เป็นรายจ่ายเพื่อหา กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ของโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้นำมาหัก เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) ค่าเครื่องบิน ค่าที่พักและค่าอาหารอันเป็นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบ ให้เชื่อได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปใน ธุรกิจของโจทก์ จึงถือว่าเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์แม้จำเลยจะมิได้คัดค้านหรือนำสืบหักล้างพยานเอกสารของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงว่าเป็น ดังที่โจทก์อ้าง เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จำเลยให้โจทก์เสีย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารับรอง หรือค่าบริการไปเนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกินสมควร ซึ่งไม่ให้ถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(4)หรือไม่ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิต: การพิสูจน์ภาระภาษีและการรับฟังพยานหลักฐาน
ตามใบสำคัญที่จำเลยยึดมาจากโรงงานอุตสาหกรรมของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้รับเงินค่าขายเครื่องดื่มพิพาทในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน (เว้นแต่เดือนเมษายน)2528 จำนวน 889,399 ขวดและในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์ซื้อแสตมป์จากจำเลยเพื่อปิดแสดงการชำระภาษี 600,000 ดวง โดยปิดที่ขวดเครื่องดื่ม ขวดละ 1 ดวงเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าจำนวนขวดที่ปรากฏในเอกสารที่จำเลยยึดมาจากโรงงานอุตสาหกรรมของโจทก์เป็นการเจ็บหนี้เก่าของโจทก์อยู่ด้วย จึงต้องฟังว่าเครื่องดื่มพิพาทที่โจทก์นำออกจากโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 289,399 ขวด โจทก์มิได้เสียภาษีสรรพสามิตก่อนนำออกจากโรงงานอุตสาหกรรมตามที่ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527มาตรา 10 กำหนดไว้ เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นภาพถ่าย โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเหตุที่อ้างส่งต้นฉบับหรือคู่ฉบับไม่ได้เพราะเหตุใด เอกสารที่โจทก์อ้างจึงต้องห้ามมิให้รับฟังดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 93.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ารถยนต์ vs. บริการขนส่ง: การพิจารณาประเภทสัญญาและภาระภาษี
การที่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนอาจเกิดจากสัญญาเช่ารถยนต์สัญญาจ้างหรือสัญญาอื่นก็ได้ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและข้อเท็จจริงที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันกรณีที่จะเป้นสัญญาเช่านั้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา537,546และ552ต้องปรากฏว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ตามความพอใจเท่าที่ไม่ขัดกับสัญญาและประเพณีนิยมซึ่งในชั่วระยะเวลานั้นคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น โจทก์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนแต่โจทก์มิได้มอบการครอบครองรถให้คู่สัญญานำไปใช้ตามลำพังและคู่สัญญาจะเอารถเลยไปยังสถานที่แห่งอื่นไม่ได้โจทก์ให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปมีคนประจำรถของโจทก์ไปด้วยคู่สัญญาของโจทก์ไม่มีอำนาจควบคุมการใช้รถหรืออาจออกคำสั่งให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปในเส้นทางใดตามความประสงค์ของตนได้ดังนี้สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้บริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าได้ใช้บริการในการขนส่งของโจทก์โดยโจทก์ได้ค่าตอบแทนมากกว่า เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าไม่เป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วแม้จะมีการเรียกสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาเช่าและเรียกค่าตอบแทนตามสัญญาว่าเป็นค่าเช่าหรือโจทก์ยอมรับกับเจ้าพนักงานประเมินว่าเป็นสัญญาเช่าก็หามีผลให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเพราะประกอบการค้าประเภทการให้เช่าทรัพย์สินแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขการขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อรับภาระภาษีแทนจำเลยได้ ไม่ขัดกฎหมาย
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินแม้จะเป็นเงินได้ของจำเลยซึ่งจำเลยต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระภาษีดังกล่าวแทนจำเลยดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดที่ให้ผู้ซื้อต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่เป็นโมฆะตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เมื่อโจทก์(ผู้ซื้อ) ตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วก็ผูกพันโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตาม จะอ้างหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้เสียภาษีนั้นมาปัดความรับผิดนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109-3110/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การประมาทเลินเล่อของผู้จัดการ และภาระภาษีของนายจ้าง
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยรับฟังพยานยังไม่ครบถ้วน ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสนับสนุน เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาในศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัย ภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและ น. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปี เฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอ มีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัย ภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและ น. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปี เฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอ มีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109-3110/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การประมาทเลินเล่อของผู้จัดการ และภาระภาษีของนายจ้าง กรณีความเสียหายจากทรัพย์สินสูญหาย
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยรับฟังพยานยังไม่ครบถ้วน ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสนับสนุน เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาในศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัยภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและน. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524 จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปีเฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอมีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทโจทก์ไม่ได้วางระเบียบในการจัดเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยและการใช้รหัสตู้นิรภัย เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการภัตตาคารของบริษัทโจทก์แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้จัดการคนก่อน จำเลยไม่ได้สั่งงดใช้รหัสตู้นิรภัยภัตตาคารเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนจำเลยและน. ทำงานเฉพาะเวลาทำงานปกติ หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดตามประเพณี พนักงานที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงานไม่มีวันหยุดคนหนึ่งเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ แต่บังเอิญมิได้นำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวไปด้วย จึงตกลงกันว่าไม่เอากุญแจตู้นิรภัยกลับบ้าน จำเลยสั่งให้เก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะของจำเลย นอกจากนี้พนักงานตรวจสอบของบริษัทโจทก์ซึ่งมาตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินของภัตตาคารก็ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งให้แก้ไขวิธีการในการเก็บรักษาเงินของบริษัทโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยเก็บกุญแจตู้นิรภัยไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยโดยไม่ให้ผู้มีหน้าที่เปิดปิดตู้นิรภัยนำกุญแจตู้นิรภัยติดตัวกลับบ้าน จึงเป็นการใช้ความระมัดระวังตามที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
ค่าจ้างหมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน แม้จำเลยจะเป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2524 ภายหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2524 จำเลยถูกเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้จำเลยอีก
คู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีความว่าบริษัทโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานในเดือนธันวาคมของทุกปี แสดงว่าโจทก์จะพิจารณาจ่ายเงินดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่มีตัวทำงานอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น จำเลยถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2524 จึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัสหรือเงินรางวัล และเมื่อตามคู่มือพนักงานของบริษัทโจทก์มีข้อความว่า บริษัทจะรับภาระเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดที่พนักงานได้รับจากบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งยอดเงินการเสียภาษีให้พนักงานได้ทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ข้อความตอนท้ายที่ว่าบริษัทจะแจ้งยอดการเสียภาษีให้พนักงานทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแสดงอยู่ในตัวว่า เงินได้ทั้งหมดที่โจทก์รับภาระจะเสียภาษีให้จำเลยนั้นต้องเป็นยอดรายได้ที่จำเลยได้รับจากโจทก์ทั้งหมดในแต่ละปีเฉพาะในปีที่โจทก์เลิกจ้างจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับเงินจากโจทก์คือค่าจ้างค้างจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดโจทก์จึงต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลย แต่ค่าชดเชย เงินบำเหน็จ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นผลของการเลิกจ้างไม่ใช่รายได้ที่จำเลยได้รับในแต่ละปี โจทก์จึงไม่ต้องรับภาระเสียภาษีเงินได้ในเงินทั้งสามจำนวน
ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการภัตตาคาร ย่อมมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาทรัพย์ของนายจ้าง หากทางปฏิบัติของผู้จัดการคนก่อน ๆ มาไม่รัดกุมพอมีช่องทางที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ แม้ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นจำเลยก็มีอำนาจที่จะวางระเบียบในการเก็บรักษาเงินของนายจ้างให้รัดกุม การที่จำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามผู้จัดการคนก่อน ๆไปโดยไม่ปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจเลิกจ้างจำเลยได้ ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและภาระภาษี: แม้สัญญาหลักระบุผู้เสียภาษี แต่หากข้อเท็จจริงเปลี่ยน ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำกับผู้ให้เช่า
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิหาผลประโยชน์จากการให้เช่าอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โจทก์ให้จำเลยเช่าอาคารโดยจำเลยทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเป็นผู้เสียค่าภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่เช่า ดังนี้แม้ตามสัญญาเช่าที่โจทก์พาจำเลยไปทำกับจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จะ ระบุว่าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนแต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมิได้เป็นผู้เสีย โจทก์เป็นผู้เสียซึ่งโจทก์ผลักภาระนี้ให้จำเลย จำเลยก็ต้องเป็นผู้เสียภาษีโรงเรือนตามสัญญาที่ ทำไว้กับโจทก์ จะยกสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและภาระภาษี: แม้สัญญาเช่ากับเจ้าของกรรมสิทธิ์ระบุหน้าที่เสียภาษี แต่หากเจ้าของกรรมสิทธิ์มิได้เสีย ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่า
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิหาผลประโยชน์จากการให้เช่าอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โจทก์ให้จำเลยเช่าอาคารโดยจำเลยทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเป็นผู้เสียค่าภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่เช่า ดังนี้แม้ตามสัญญาเช่าที่โจทก์พาจำเลยไปทำกับจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จะ ระบุว่าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนแต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยมิได้เป็น ผู้เสีย โจทก์เป็นผู้เสีย ซึ่งโจทก์ผลักภาระนี้ให้ จำเลย จำเลยก็ต้องเป็นผู้เสียภาษีโรงเรือนตามสัญญาที่ ทำไว้กับโจทก์ จะยกสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้