คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาระหนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกง: การปกปิดภาระหนี้สินและข้อเท็จจริงสำคัญในการซื้อขายที่ดิน ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่อาจทราบเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดขึ้นในภายหลังทั้งที่ดินและอาคารตามสัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทก็ไม่ใช่ที่ดินที่จำเลยที่ 3 นำไปประกันหนี้ในคดีแพ่งที่จำเลยที่ 3 ถูกธนาคารฟ้องบังคับจำนอง และจำเลยที่ 3 เคยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารที่เคยขายให้แก่โจทก์ได้มาแล้ว กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำผิดตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 ถูกธนาคารฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่แจ้งให้โจทก์ทราบจำนวนเงินที่จำเลยที่ 3 เป็นหนี้ธนาคาร ปกปิดข้อเท็จจริงในการชำระหนี้ตามข้อตกลงที่ทำไว้ จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ขวนขวายขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารและนำที่ดินพิพาทมาโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเพียงพอที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีเงินเดือนและหุ้นสหกรณ์ แต่มีภาระหนี้สินสูงกว่าทรัพย์สิน ศาลพิพากษาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้จำเลยจะมีเงินเดือนประจำ และมีทรัพย์สินเป็น หุ้นอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์กรมชลประทานก็ตาม แต่เงินเดือน ของจำเลยหลังจากหักค่าใช้จ่ายในครอบครัวแล้วคงเหลือ ประมาณ 2,000 บาท ซึ่งพอเพียงสำหรับการผ่อนชำระหนี้ ได้เฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น แต่จำเลยก็หาได้ชำระให้แก่โจทก์ไม่นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์สูงเกินกว่าทุนเรือนหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในสหกรณ์อีกด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน: หน้าที่ไถ่ถอนภาระหนี้สิน & การผิดสัญญา
ตามสัญญาประกอบด้วยคำแปล คำรับรองที่จำเลยให้ไว้เพียงเป็นผู้รับประโยชน์และเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องตามกฎหมายแห่งประเทศที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวโดยมีภาระหนี้สินจะต้องไถ่ถอนหรือปฏิบัติบางประเภทเท่านั้น คำรับรองของจำเลยที่ปรากฏจึงมิอาจถือเป็นความเท็จได้ ส่วนสัญญาข้อ 2 ซึ่งเป็นข้อความที่จำเลยให้การรับรองว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายจะปลอดจากข้อผูกพันและพันธกรณีต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง ณ วันครบกำหนดนั้นแสดงได้ว่าในขณะทำสัญญาทรัพย์สินยังมีข้อผูกพันหรือพันธกรณีอยู่ แต่จำเลยมีหน้าที่จะต้องจัดการให้ปลอดจากข้อผูกพันหรือพันธกรณีหลังจากวันทำสัญญา ชี้ชัดได้ว่าจำเลยมิได้ปิดบังความจริงแต่ประการใด ที่ผู้เสียหายเข้าทำสัญญาจึงมิได้มีความหลงเชื่อแต่ประการใด
สำหรับในส่วนแพ่ง สัญญาในข้อ 2 กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องจัดการให้ทรัพย์สินปลอดจากข้อผูกพันหรือพันธกรณีพร้อมที่จะโอนให้แก่ผู้เสียหายในวันครบกำหนดซึ่งเป็นวันเดียวกับที่จะรับเงินจากผู้เสียหาย แต่จำเลยรับว่าจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายไปแล้วประมาณ 10 วัน จึงได้จัดการนำเงินไปชำระตามข้อผูกพัน จึงถือว่าจำเลยผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีมูลที่จะอาศัยอ้างเพื่อยึดถือเงินที่ได้จากผู้เสียหายตามสัญญาไว้ต่อไป ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดภาระหนี้สินในการซื้อขายบ้าน ไม่ถึงขั้นฉ้อโกง หากผู้ซื้อไม่ตรวจสอบสถานะทรัพย์สิน
การที่จำเลยถูกศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีแพ่งอาจถูกยึดบ้านที่จำเลยบอกขายให้แก่ผู้เสียหายได้นั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่จำเลยควรบอกให้แจ้ง อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้บอกความดังกล่าวแก่โจทก์ ก็หาเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระหนี้สินของผู้ขายบ้านต่อผู้ซื้อ ไม่ถือเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
การที่จำเลยถูกศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีแพ่งอาจถูกยึดบ้านที่จำเลยบอกขายให้แก่ผู้เสียหายได้นั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่จำเลยควรบอกให้แจ้ง อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้บอกความดังกล่าวแก่โจทก์ ก็หาเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการฟ้องคดีภาษี: ทรัพย์สินที่พิพาทคือภาระหนี้สินจากการประเมินภาษี ไม่ใช่เงินภาษีที่ชำระแล้ว
ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินสรรพากร ประเมินภาษีเงินได้และเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์เกินไปกว่าที่โจทก์จะต้องเสีย 1 ล้านบาทเศษ โจทก์อุทธรณ์ อะิบดีกรมสรรพากร มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องศาลตามประมวลรัษฎากรกรมมาตรา30(2) ขอให้ศาลพิพากษายกหรือกลับแก้การประเมินและคำสั่งชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรที่ให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีเพิ่มเติม อันไม่ถูกต้องนั้นเสีย ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ การที่จะไม่ต้องเสียเงินจำนวนนั้น อันเป็นทรัพย์ที่พิพาท แม้คำของท้ายฟ้องโจทก์จะเบี่ยงบ่ายไปประการใด ก็หาทำให้ผลแห่งคำการปลดเปลื้องทุกข์เปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีนี้
ได้
ระยะเวลาตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ที่ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดี หรือข้าหลวงประจำจังหวัดต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน ฯลฯ นั้น เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉะนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควร ศาลสั่งให้ขยายระยะเวลานั้นได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 23.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา แม้แยกกันอยู่และมีภาระหนี้สิน
วัตถุประสงค์ของการสมรสก็เพื่อให้ชายหญิงได้อยู่กินกันฉันสามีภริยา ป.พ.พ. มาตรา 1461 บัญญัติให้สามีภริยาช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะตน และมาตรา 1598/38 บัญญัติว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นอีกฝ่ายสามารถเรียกได้ในเมื่อได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ อันแสดงว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจกำหนดให้เพียงใดก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับตามพฤติการณ์แห่งกรณี จึงเป็นบทบัญญัติคุ้มครองแก่สามีภริยาให้ฝ่ายที่มีฐานะดีต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง มิฉะนั้น อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) แต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องหย่าก็ฟ้องเรียกเฉพาะค่าเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 ดังนั้น สิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงหาใช่เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเมื่อมีการฟ้องหย่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: ศาลฎีกาพิจารณาภาระหนี้สินและการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ป. ที่ค้างชำระจำนวน 10,000 บาท และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นรายเดือน เดือนละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้บังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยมีภาระหนี้สินมากและมีภาระต้องเลี้ยงดูบิดาและครอบครัว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดเงิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาจำเลยขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2559 จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 จึงถือได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด ส่วนคำร้องของจำเลยที่ขอลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น จำเลยอ้างว่า จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกิดจากโจทก์และบุตรกับภริยาคนใหม่ ทั้งจำเลยยังกู้ยืมเงินจากธนาคาร ก. จำนวน 1,500,000 บาท พฤติการณ์รายได้หรือฐานะของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลัง แม้หนี้เงินกู้ดังกล่าวจำเลยอ้างว่าเพื่อสร้างบ้านให้แก่บิดาที่จังหวัดเชียงรายและต่อเติมตกแต่งบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้ว่ามีภาระต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท แต่จำเลยกลับไปสร้างภาระหนี้สินจำนวนมากมายดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุผลให้กระทบเสียหายต่อค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่ายอื่นแก่โจทก์