พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า แม้ไม่มีข้อตกลงระบุจำนวนเงิน ศาลสามารถกำหนดได้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่า เมื่อบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งมีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเท่าใด หากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง บทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า แม้มิได้ตกลงในบันทึกข้อตกลง ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าเลี้ยงดูได้
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6615/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เกินกว่าที่จำเป็นเพื่อบังคับคดี การพิสูจน์ภาระหน้าที่ของจำเลยในการเปิดเผยทรัพย์สิน และค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้น พิพากษาตามยอม แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงิน 1,935,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย โดยประเมินราคาไว้ 13,046,000 บาท ซึ่งเมื่อขายทอดตลาดจะได้ราคาตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้หรือไม่ก็ไม่เป็นการแน่นอน แม้ภายหลังที่โจทก์นำยึดที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยได้นำเงิน 858,500 บาท มาวางศาลให้โจทก์รับไป ก็เป็นเพียงการชำระหนี้บางส่วน จำเลยยังคงค้างชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมอีก 1,076,500 บาท พร้อมดอกเบี้ย แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีบ้าน 1 หลัง ปลูกอยู่บนที่ดินที่โจทก์นำยึดมีราคาอย่างต่ำ 2,000,000 บาท เพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ โจทก์ควรยึดบ้านของจำเลยนั้น แต่ปรากฏว่าในวันที่โจทก์นำยึดที่ดินดังกล่าวจำเลยก็อยู่ด้วย จำเลยมิได้คัดค้านว่าการยึดที่ดินของจำเลยเป็นการเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีทั้งมิได้ชี้แจงให้โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยมีบ้านหรือทรัพย์สินอื่นใดซึ่งมีราคาพอแก่จำนวนหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม กลับได้ความจากจำเลยตอบคำถามค้านว่าในวันดังกล่าวจำเลยบอกแก่ทนายความโจทก์ว่า จำเลยไม่มีเงินมีแต่ที่ดินที่โจทก์นำยึดเพียงแปลงเดียว การที่จำเลยกลับมากล่าวอ้างในภายหลังว่า จำเลยมีบ้านราคาอย่างต่ำ 2,000,000 บาทนั้น ทำให้ข้ออ้าง ของจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยึด ทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคสอง จำเลย จะขอให้ถอนการยึดทรัพย์สินรายนี้โดยให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ ทั้งการยึดที่ดินของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยต้องรับภาระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงาน บังคับคดีสูงขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวคิดจากราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ จะต้องรับผิดในการบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ แกล้งนำยึดที่ดินของจำเลยโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุไม้สน, คุณภาพตามสัญญา, การขัดขวางการตัดไม้ และผลกระทบต่อภาระหน้าที่ชำระหนี้
หลักวิชาการเป็นเพียงทฤษฎีโดยทั่วไปเท่านั้นการเจริญเติบโตของต้นไม้ชนิดต่างๆรวมทั้งไม้สนพิพาทจะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการเช่นความสมบูรณ์ของพื้นดินที่ปลูกการให้ปุ๋ยน้ำภูมิอากาศฯลฯดังนี้เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการที่โจทก์อ้างอิงจึงไม่ใช่พยานหลักฐานที่บ่งบอกได้โดยแน่นอนว่าไม้สนพิพาทของจำเลยที่1มีอายุไม่ถึง6ปีเมื่อจำเลยที่1และที่3มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสืบแสดงได้ว่าจำเลยที่1ปลูกไม้สนพิพาทในที่ดินมาตั้งแต่ปี2522นับถึงวันที่จำเลยที่3ขายไม้สนดังกล่าวให้แก่โจทก์ไม้สนพิพาทมีอายุเกิน6ปีแล้วพยานหลักฐานของจำเลยที่1และที่3มีน้ำหนักรับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ส่วนข้อตำหนิที่ว่าไม้สนที่โจทก์ซื้อและตัดจากที่ดินของจำเลยที่1มีขนาดเล็กกว่าปกตินั้นก็คงเนื่องมาจากพื้นดินที่ปลูกเป็นดินเปรี้ยวและแม้โจทก์จะนำสืบโต้เถียงว่าไม้สนพิพาทในที่ดินของจำเลยที่1ยังโตไม่ได้ขนาดที่โจทก์ต้องการจะซื้อแต่โจทก์รับว่าโจทก์ได้ตัดไม้สนในที่ดินแปลงนั้นหมดทั้งแปลงและขนไปลงเรือส่งไปขายยังต่างประเทศแล้วแสดงว่านอกจากอายุของไม้สนที่จะต้องถึง6ปีแล้วโจทก์มิได้ถือเอาขนาดของไม้สนที่ต้องการจะซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญาฉะนั้นแม้ไม้สนพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่3ซึ่งตัดจากที่ดินของจำเลยที่1จะมีขนาดของลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง6นิ้วแต่เป็นต้นไม้สนที่มีอายุ6ปีแล้วไม้สนพิพาทจึงเป็นไม้สนที่มีคุณภาพตรงตามสัญญาจำเลยที่1และที่3หาได้ประพฤติผิดสัญญาด้วยการขายไม้สนที่มีอายุไม่ถึง6ปีให้แก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินเล็กน้อย & การรับภาระหน้าที่จากผู้โอน – ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามมาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ได้ต่อเติมรุกล้ำ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่า ในขณะยื่นคำฟ้องที่พิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่แต่ได้ความตามคำฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทเป็นเนื้อที่ 2 ตารางวาเป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในทำเลอันจะทำให้ค่าเช่าที่ดินสูงเป็นพิเศษ เชื่อได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของภริยา: ไม่จำกัดเฉพาะคดีสินสมรส การวินิจฉัยหนี้เป็นสินสมรสเกินคำให้การ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี หญิงมีสามีฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีก็เฉพาะแต่การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสคงให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าหนี้ตามฟ้องเป็นสินสมรสจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำให้การของจำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิสัญญาเช่าและการยินยอมก่อสร้างนอกเหนือสัญญา สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอน
ตามสัญญาเช่าที่ดินที่ จ. เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ผู้เช่าระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายในเขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้น มิได้ระบุว่าถ้าผู้เช่าสร้างท่าเทียบเรือ ล่วงล้ำลำน้ำหน้าที่ดินที่เช่า ผู้ ให้เช่าจะต้องยินยอมลงชื่อด้วย ฉะนั้น การที่ จ.ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองโจทก์สร้างท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำหน้า ที่ดินที่เช่าตามใบอนุญาต กรมเจ้าท่าจึงเป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่า ไม่ผูกพันจำเลย ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าจาก จ. และการที่โจทก์ทำคำร้องขอขยายท่าเทียบเรือที่มีขนาดเกินกว่า 500ตันกรอสส์ ก็เป็น การเพิ่มภาระให้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องรับผิดชอบมากขึ้น กว่าความรับผิดตามสัญญาของเจ้าของที่ดินเดิม แม้โจทก์จะมีหนังสือ ถึงจำเลยว่าโจทก์รับเป็นผู้รับผิดชอบเองก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดภาระหน้าที่ของผู้ขนส่งสินค้าเมื่อส่งมอบสินค้าให้ท่าเรือปลายทาง และข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยรับขนสินค้าพิพาทจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย ก่อนเรือเข้าเทียบท่าจำเลยได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์กำหนดวันเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อจะได้นำใบตราส่งมาแลกใบปล่อยสินค้า ครั้นเรือเข้าเทียบท่า จำเลยทั้งสองได้ขนถ่ายสินค้าดังกล่าวเข้าเก็บในโกดังของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ถือว่าจำเลยได้ขนส่งสินค้าถึงท่าเรือปลายทางแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าของจำเลยจึงสิ้นสุดลง การที่ไฟไหม้โกดังสินค้าและสินค้าดังกล่าวเสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่นำสืบในคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และสิทธิการได้รับค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้วดังนี้โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)นั้นศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54 การที่โจทก์ทำงานบกพร่องขาดความสามารถหรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่นเป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การกำหนดวันทำงานใหม่ต้องไม่เพิ่มภาระและสอดคล้องกับสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้าง เดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยา ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิม แต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลย โดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราว เป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ ส่วนสถานที่ทำงาน เมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้น โจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระ จำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกัน แต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์ โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์ จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์