คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษี: การประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร การยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายคลาดเคลื่อนไป จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (4) และการกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89 (10)
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่ม กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเครดิตภาษี
ในเดือนภาษีกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจำเลยที่ 1 จึงยังมีภาษีที่จะชำระเกินอยู่ จำเลยที่ 1 สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อไปได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสามและเดือนต่อ ๆ ไปหากจำเลยมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอีกก็สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปอีกได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์เรียกเก็บภาษีในเดือนที่ตรวจพบความผิดเท่านั้นไม่นำเอาภาษีที่จำเลยที่ 1ชำระเกินมาคิดคำนวณด้วยในเดือนที่ตรวจพบความผิดต่อเนื่องไปถึงเดือนถัด ๆ ไป ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา 83/2และไม่มีบทกฎหมายรองรับสนับสนุนอีกทั้งยังไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะเดือนใดหากผู้ชำระภาษียังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ก็ย่อมมีสิทธินำไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ตลอด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่จำเลยที่ 1เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2536จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยจึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระ ในเดือนที่แล้วมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลย
จำเลยนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ สองเท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวหาได้มุ่งหมายให้ปรับ ทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตาม มาตรา 89(4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีลักษณะการประกอบกิจการที่ผิดปกติ
บริษัท ท. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้งและในเดือนกันยายน 2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาทและบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน(ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้ว กับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษีสิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการ ขายสินค้าและออกใบกำกับภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ ประกอบกับบริษัท ท. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ)เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปีมีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าว จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้ายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง 2539 ทุกเดือนแต่ไม่มี ภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มี รายการยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบ กิจการของบริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใดโจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะบุคคลยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิหักภาษีซื้อและเรียกเก็บภาษีขาย
แม้คณะบุคคลเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและอยู่ในบังคับต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (6) ย่อมไม่อาจใช้วิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อและไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่จะถือเป็นภาษีขาย และไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะถือเป็นภาษีซื้อของคณะบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม: การประเมินภาษีขายขาดและภาษีซื้อเกินเป็นความรับผิดแยกส่วน การคิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)
ป.รัษฎากร มาตรา 89 (4) บัญญัติว่า "...ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป" ไม่ได้บัญญัติว่าต้องเสียเบี้ยปรับเพียง 1 เท่า ของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไปอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ประกอบกับจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป และจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินถือเป็นความรับผิดคนละส่วนแยกจากกัน เดือนกันยายน 2549 ถึงเดือนกรกฎาคม 2551 โจทก์แสดงภาษีขายขาดจำนวน 915,570.63 บาท และแสดงภาษีซื้อไว้เกินจำนวน 7,185.82 บาท โจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดและเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไปทั้งสองส่วน