พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการในไทยตามมาตรา 76 ทวิ และการยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน
กรณีที่จะถือว่าบริษัทต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร ต้องปรากฏว่าบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีลูกจ้างเข้ามาทำงานในโรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ประเทศไทยตามสัญญาจัดการทางเทคนิค โดยให้คำแนะนำฝึกฝนเจ้าหน้าที่คนไทยในการดำเนินการของโรงงานและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโจทก์ และบริษัท อ. ได้รับเงินค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.85 บาท จากยอดรายรับจากการขายของโจทก์ทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง บุคคลดังกล่าวทำงานโดยอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญของบริษัท อ. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อสินค้าผ่านบุคลากรดังกล่าว บุคลากรดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ในประเทศไทย ถือไม่ได้ว่าบริษัท อ. ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่โจทก์ในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร
การที่โจทก์ผู้ซื้อสินค้าชำระดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ให้แก่บริษัท อ. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย บริษัท อ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยให้โจทก์ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศออสเตรเลีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเท่านั้น บริษัท อ. ที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองฮ่องกง แม้จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศอีก แห่งหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นคนละนิติบุคคล จะถือว่าบริษัท อ. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียหาได้ไม่ จึงไม่อาจนำความตกลงฉบับดังกล่าวมาบังคับได้ บริษัท อ. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีลูกจ้างเข้ามาทำงานในโรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ประเทศไทยตามสัญญาจัดการทางเทคนิค โดยให้คำแนะนำฝึกฝนเจ้าหน้าที่คนไทยในการดำเนินการของโรงงานและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโจทก์ และบริษัท อ. ได้รับเงินค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.85 บาท จากยอดรายรับจากการขายของโจทก์ทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง บุคคลดังกล่าวทำงานโดยอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญของบริษัท อ. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อสินค้าผ่านบุคลากรดังกล่าว บุคลากรดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ในประเทศไทย ถือไม่ได้ว่าบริษัท อ. ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่โจทก์ในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร
การที่โจทก์ผู้ซื้อสินค้าชำระดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ให้แก่บริษัท อ. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย บริษัท อ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยให้โจทก์ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศออสเตรเลีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเท่านั้น บริษัท อ. ที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองฮ่องกง แม้จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศอีก แห่งหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นคนละนิติบุคคล จะถือว่าบริษัท อ. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียหาได้ไม่ จึงไม่อาจนำความตกลงฉบับดังกล่าวมาบังคับได้ บริษัท อ. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบการถาวร - การมีอำนาจเจรจาและทำสัญญา - ความตกลงภาษีซ้อน
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด บริษัทต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท แอลเอ็มอีริคสัน จำกัด ตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้น การเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากหน้าที่เป็นตัวแทน/นายหน้าต่างประเทศ และข้อยกเว้นตามข้อตกลงภาษีซ้อน
แม้จำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารที่ระบุเพิ่มเติมให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90แต่ศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการถามค้านพยานบุคคลของจำเลยไปเพื่อให้โจทก์ได้ตรวจสอบเอกสารที่จำเลยระบุเพิ่มเติมก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใดทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) การที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเว้นภาษีซ้อน: ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างประเทศ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญา ว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ ดังนั้น หากข้อตกลงตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนขัดแย้งกับบทบัญญัติใน ป.รัษฎากร จะต้องถือตามความตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากร เมื่อความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีดังกล่าว ข้อ 7 (3) ระบุว่า "ในการกำหนดกำไรของสถานประกอบการถาวรให้ยอมให้หักค่าใช้จ่ายซึ่งมีขึ้นเพื่อสถานประกอบการนั้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการทั่วไปไม่ว่าจะมีขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญาที่สถานประกอบการถาวรนั้นตั้งอยู่หรือที่อื่น" ข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายว่า นอกจากค่าใช้จ่ายซึ่งมีขึ้นเพื่อสถานประกอบการถาวรที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แล้ว ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการทั่วไปไม่ว่าจะมีขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญาที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่หรือที่อื่น ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของวิสาหกิจทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะสถานประกอบการถาวรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะหากตีความว่าแม้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการทั่วไปก็ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีขึ้นเพื่อสถานประกอบการถาวรเท่านั้นแล้ว ข้อตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนก็ไม่จำต้องมีขึ้น เพราะรายจ่ายใดที่มีขึ้นเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14) อยู่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าค่าใช้จ่ายที่สำนักงานใหญ่ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสำนักงานภูมิภาคสาธารณรัฐสิงค์โปร์เฉลี่ยมาไม่ได้คำนวณมาอย่างเหมาะสมและตามสัดส่วนของจำนวนสาขาที่มีอยู่ทั่วโลกอย่างไร โจทก์จึงมีสิทธินำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ และไม่อาจถือว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นเงินกำไรที่โจทก์จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย อันจะต้องเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการเชื่อมต่อระบบกับ RIM เป็นค่าตอบแทนการใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ป.รัษฎากร มาตรา 70 กำหนดให้บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแล้วนำส่งจำเลย ดังนั้น หาก RIM Canada หรือ RIM Singapore ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) RIM Canada หรือ RIM Singapore จึงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมาย โดยมีโจทก์เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีและนำส่งจำเลย หากโจทก์ไม่ได้หักภาษีและไม่ได้นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักนำส่งแก่จำเลยภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับ RIM Canada หรือ RIM Singapore ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หักและไม่ได้นำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 เมื่อสัญญาซื้อขายฉบับหลักระหว่าง RIM Canada กับโจทก์พร้อมคำแปล ข้อ 6 กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบและต้องจ่ายภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ภายใต้สัญญานี้ รวมถึงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยเมื่อหักภาษีแล้ว RIM Canada หรือ RIM Singapore จะต้องได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ออกตามใบแจ้งหนี้ โจทก์จึงต้องมีหน้าที่ออกภาษีเงินได้ให้ RIM Canada หรือ RIM Singapore ตามข้อผูกพันในสัญญา เงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์ แม้โจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 70 แต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีแก่จำเลยและ RIM Canada หรือ RIM Singapore ได้รับเงินของโจทก์เท่าจำนวนเงินที่ออกตามใบแจ้งหนี้ไปแล้ว หากปรากฏว่า RIM Canada หรือ RIM Singapore ไม่มีภาระต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกคืนเงินในส่วนที่โจทก์ชำระค่าภาษีแก่จำเลยได้
โจทก์กับ RIM Canada ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศและมิได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ร่วมเป็นคู่สัญญาทำสัญญาซื้อขายฉบับหลัก Master Supply Agreement โดยให้หมายความรวมถึงตาราง ใบสั่งซื้อ เอกสารแนบท้าย และสิ่งที่แนบมาใด ๆ หรือเอกสารที่อ้างถึงในหรือตามตารางที่มีการซื้อขาย สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตามสัญญา หมายความถึง อุปกรณ์มือถือ อุปกรณ์เชื่อมโยงและซอฟต์แวร์ที่ระบุไว้ในตารางเอ รวมถึงใบอนุญาตในการเข้าถึงเครือข่ายและซอฟต์แวร์ใด ๆ ของ RIM โหลดลงหรือฝังตัวอยู่ในมือถือหรืออุปกรณ์พกพา พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ การแก้ไขข้อผิดพลาด (BUG) การปรับปรุง การอัปเกรด โดย RIM จัดเตรียมให้แก่โจทก์ ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ใช้บริการ แต่ไม่รวมบริการการโทร (Airtime Service) เพราะบริการการโทร (Airtime Service) เป็นบริการโดยโจทก์ไม่ใช่ RIM ตามคำจำกัด ความในสัญญาซื้อขายฉบับหลักพร้อมคำแปล เมื่อซอฟต์แวร์ที่ระบุไว้ในตารางเอ หมายความรวมถึงใบอนุญาตในการเข้าถึงเครือข่าย (Access license) ดังนั้น Service Access บริการเข้าใช้ตามที่กำหนดในตารางเอ และบริการอื่นที่ RIM อาจให้บริการแก่โจทก์ตามตารางดี - 1 และ Service Access Fees ค่าธรรมเนียมที่อธิบายในตารางเอ ย่อมหมายถึง ค่าธรรมเนียมที่ RIM เรียกเก็บจากการอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์การเข้าถึงเครือข่าย ซึ่งตารางเอ ข้อ 6 สัญญาซื้อขายฉบับหลักพร้อมคำแปล ได้กำหนดการแก้ปัญหาระบบ BlackBerry และอธิบายไว้ด้วยว่า BlackBerry Enterprise Server Software ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่การเชื่อมต่อกับเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน BlackBerry ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อความไปยัง และส่งข้อความระหว่างมือถือ BlackBerry หรือเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์อีเมลองค์กร ส่วน BlackBerry Handheld Software ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายของผู้ให้บริการไร้สายที่สนับสนุนโดย RIM เพื่อป้องกันปัญหาในการส่งและรับข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย ช่วยตรวจสอบและเรียกดูข้อความอีเมล การนัดหมาย ชื่อผู้ติดต่อ งาน และบันทึกตามที่อธิบายไว้ในคู่มือการติดตั้งระบบมือถือ BlackBerry Handheld Software ดังนั้น ค่าตอบแทนจำนวน 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อเดือนสำหรับผู้ใช้บริการลูกค้าองค์กร สำหรับการเชื่อมโยงผ่าน BlackBerry Enterprise Server Software หรือการเชื่อมต่อผ่าน BlackBerry Enterprise Server Software และ BlackBerry Internet Service (BIS) ผ่าน Frame relay หรือ Lease Lines และค่าตอบแทนจำนวน 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อเดือนสำหรับผู้ใช้บริการลูกค้ารายย่อย เฉพาะการเชื่อมโยงผ่าน BlackBerry Internet Service (BIS) ผ่าน Frame relay หรือ Lease Lines แม้สัญญาจะเรียกเป็นค่าบริการ แต่ก็เป็นค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่การเชื่อมต่อกับเครือข่าย นอกจากนี้ข้อกำหนดตามสัญญา ข้อ 19 ยังมีข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาตามสัญญาซื้อขายฉบับหลักพร้อมคำแปล กำหนดข้อจำกัดการอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญานี้ RIM ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นการเฉพาะตัวและไม่สามารถโอนสิทธิให้ผู้อื่นได้ ข้อจำกัดในการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายโดยมีเงื่อนไขว่าผู้จัดจำหน่ายจะต้องตกลงเข้าทำสัญญาที่ไม่มีข้อจำกัดน้อยกว่าสัญญานี้ และโจทก์ต้องไม่ดำเนินการและต้องควบคุมดูแลให้ตัวแทนจำหน่าย ไม่ส่งเสริม ทำการตลาด แจกจ่ายหรือขายสินค้านอกพื้นที่ กำหนดข้อจำกัดการใช้สิทธิว่า โจทก์จะต้องไม่ใช้และทำซ้ำสินค้าและบริการ (รวมเอกสาร) นอกเหนือจากที่ระบุในสัญญานี้ โจทก์จะต้องไม่แก้ไขคำแจ้งลิขสิทธิ์ที่บรรจุอยู่หรือที่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ เอกสารของ RIM หรือการตลาดหรือวรรณกรรมอื่น ๆ ที่จัดหาโดย RIM ไม่ว่าทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใด และมีข้อกำหนดที่ RIM อนุญาตให้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าแบบสิทธิส่วนบุคคล และไม่สามารถโอนให้บุคคลอื่นได้ ห้ามทำซ้ำ แจกจ่าย และห้ามแสดงเครื่องหมายการค้าของ RIM ในที่สาธารณะ การใช้งานเครื่องหมายการค้าของ RIM จำกัดเพียงการใช้งานตามสัญญานี้ โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิและจะไม่ได้รับสิทธิการเป็นเจ้าของ RIM ยังคงมีสิทธิ กรรมสิทธิ์และประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าและบริการของตน โจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตจะแนบใบแจ้งสงวนสิทธิ์ไม่ว่าลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือกรรมสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องในสินค้าหรือบริการของ RIM โจทก์หรือตัวแทนรวมทั้งพนักงาน ผู้รับจ้าง หรือผู้กระทำการแทนจะไม่ได้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ต้นแบบสินค้า ซึ่งรวมสิทธิบัตรการออกแบบอุตสาหกรรม งานต้นแบบ ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้าหรือ mask works โจทก์หรือผู้กระทำการแทนจะไม่ได้กรรมสิทธิ์ ประโยชน์ หรือสิ่งอื่นใดในสินค้าหรือต้นแบบสินค้าที่โอนยังโจทก์ตามสัญญานี้ โจทก์จะไม่ขาย ให้เช่า อนุญาตเช่าช่วง จำหน่าย มอบหมายหรือโอนสิทธิในสินค้า เปิดเผยผลการเทียบเคียงราคาหรือการทดสอบอื่นใดที่คล้ายคลึงกับสินค้าของ RIM แก่บุคคลที่สาม แก้ไข แปลหรือดัดแปลงสินค้า ลบหรือทำลายซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก RIM การจำหน่ายซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก RIM และหรือการขายสื่อที่เผยแพร่ซอฟต์แวร์โดยโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขของใบอนุญาต RIM โจทก์จะแจ้งให้ RIM ทราบทันที หากมีการละเมิดตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์และ RIM ทำสัญญาซื้อขายสินค้าเป็นอุปกรณ์มือถือ อุปกรณ์เชื่อมโยงและซอฟต์แวร์ โดยเจตนาหรือมีวัตถุประสงค์หลักของสัญญาคือ RIM อนุญาตให้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าและสิทธิในการใช้ซอฟต์แวร์มาตรฐาน รวมถึง BlackBerry Enterprise Server (BES) Software License และ BlackBerry End User หรือ Software License Agreement โดยที่ RIM ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าและซอฟต์แวร์ของ RIM ที่โหลดลงหรือฝังตัวอยู่ในมือถือหรืออุปกรณ์พกพา ดังนั้น ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนการเชื่อมโยงหรือเข้าสู่ระบบบริการ (Service Access Fees) ให้แก่ RIM ดังกล่าว แม้จะกำหนดในสัญญาว่าเป็นค่าบริการ แต่ถือว่าเป็นค่าตอบแทนการให้ใช้หรือสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรมหรือเพื่อข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ (DTA) ข้อ 12 และเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) ไม่ใช่เป็นเพียงการให้บริการรับส่งข้อมูลการติดต่อสื่อสารของผู้ใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตให้แก่ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กรตามที่โจทก์อ้าง จึงไม่ใช่การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ดังนั้น เมื่อ RIM Canada หรือ RIM Singapore เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย RIM Canada หรือ RIM Singapore จึงต้องเสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแล้วนำส่งจำเลยตามมาตรา 70 และตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ (DTA) ข้อ 12 คำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรและคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรของจำเลยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
โจทก์กับ RIM Canada ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศและมิได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ร่วมเป็นคู่สัญญาทำสัญญาซื้อขายฉบับหลัก Master Supply Agreement โดยให้หมายความรวมถึงตาราง ใบสั่งซื้อ เอกสารแนบท้าย และสิ่งที่แนบมาใด ๆ หรือเอกสารที่อ้างถึงในหรือตามตารางที่มีการซื้อขาย สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตามสัญญา หมายความถึง อุปกรณ์มือถือ อุปกรณ์เชื่อมโยงและซอฟต์แวร์ที่ระบุไว้ในตารางเอ รวมถึงใบอนุญาตในการเข้าถึงเครือข่ายและซอฟต์แวร์ใด ๆ ของ RIM โหลดลงหรือฝังตัวอยู่ในมือถือหรืออุปกรณ์พกพา พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ การแก้ไขข้อผิดพลาด (BUG) การปรับปรุง การอัปเกรด โดย RIM จัดเตรียมให้แก่โจทก์ ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ใช้บริการ แต่ไม่รวมบริการการโทร (Airtime Service) เพราะบริการการโทร (Airtime Service) เป็นบริการโดยโจทก์ไม่ใช่ RIM ตามคำจำกัด ความในสัญญาซื้อขายฉบับหลักพร้อมคำแปล เมื่อซอฟต์แวร์ที่ระบุไว้ในตารางเอ หมายความรวมถึงใบอนุญาตในการเข้าถึงเครือข่าย (Access license) ดังนั้น Service Access บริการเข้าใช้ตามที่กำหนดในตารางเอ และบริการอื่นที่ RIM อาจให้บริการแก่โจทก์ตามตารางดี - 1 และ Service Access Fees ค่าธรรมเนียมที่อธิบายในตารางเอ ย่อมหมายถึง ค่าธรรมเนียมที่ RIM เรียกเก็บจากการอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์การเข้าถึงเครือข่าย ซึ่งตารางเอ ข้อ 6 สัญญาซื้อขายฉบับหลักพร้อมคำแปล ได้กำหนดการแก้ปัญหาระบบ BlackBerry และอธิบายไว้ด้วยว่า BlackBerry Enterprise Server Software ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่การเชื่อมต่อกับเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน BlackBerry ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อความไปยัง และส่งข้อความระหว่างมือถือ BlackBerry หรือเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์อีเมลองค์กร ส่วน BlackBerry Handheld Software ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายของผู้ให้บริการไร้สายที่สนับสนุนโดย RIM เพื่อป้องกันปัญหาในการส่งและรับข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย ช่วยตรวจสอบและเรียกดูข้อความอีเมล การนัดหมาย ชื่อผู้ติดต่อ งาน และบันทึกตามที่อธิบายไว้ในคู่มือการติดตั้งระบบมือถือ BlackBerry Handheld Software ดังนั้น ค่าตอบแทนจำนวน 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อเดือนสำหรับผู้ใช้บริการลูกค้าองค์กร สำหรับการเชื่อมโยงผ่าน BlackBerry Enterprise Server Software หรือการเชื่อมต่อผ่าน BlackBerry Enterprise Server Software และ BlackBerry Internet Service (BIS) ผ่าน Frame relay หรือ Lease Lines และค่าตอบแทนจำนวน 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อเดือนสำหรับผู้ใช้บริการลูกค้ารายย่อย เฉพาะการเชื่อมโยงผ่าน BlackBerry Internet Service (BIS) ผ่าน Frame relay หรือ Lease Lines แม้สัญญาจะเรียกเป็นค่าบริการ แต่ก็เป็นค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่การเชื่อมต่อกับเครือข่าย นอกจากนี้ข้อกำหนดตามสัญญา ข้อ 19 ยังมีข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาตามสัญญาซื้อขายฉบับหลักพร้อมคำแปล กำหนดข้อจำกัดการอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญานี้ RIM ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นการเฉพาะตัวและไม่สามารถโอนสิทธิให้ผู้อื่นได้ ข้อจำกัดในการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายโดยมีเงื่อนไขว่าผู้จัดจำหน่ายจะต้องตกลงเข้าทำสัญญาที่ไม่มีข้อจำกัดน้อยกว่าสัญญานี้ และโจทก์ต้องไม่ดำเนินการและต้องควบคุมดูแลให้ตัวแทนจำหน่าย ไม่ส่งเสริม ทำการตลาด แจกจ่ายหรือขายสินค้านอกพื้นที่ กำหนดข้อจำกัดการใช้สิทธิว่า โจทก์จะต้องไม่ใช้และทำซ้ำสินค้าและบริการ (รวมเอกสาร) นอกเหนือจากที่ระบุในสัญญานี้ โจทก์จะต้องไม่แก้ไขคำแจ้งลิขสิทธิ์ที่บรรจุอยู่หรือที่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ เอกสารของ RIM หรือการตลาดหรือวรรณกรรมอื่น ๆ ที่จัดหาโดย RIM ไม่ว่าทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใด และมีข้อกำหนดที่ RIM อนุญาตให้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าแบบสิทธิส่วนบุคคล และไม่สามารถโอนให้บุคคลอื่นได้ ห้ามทำซ้ำ แจกจ่าย และห้ามแสดงเครื่องหมายการค้าของ RIM ในที่สาธารณะ การใช้งานเครื่องหมายการค้าของ RIM จำกัดเพียงการใช้งานตามสัญญานี้ โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิและจะไม่ได้รับสิทธิการเป็นเจ้าของ RIM ยังคงมีสิทธิ กรรมสิทธิ์และประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าและบริการของตน โจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตจะแนบใบแจ้งสงวนสิทธิ์ไม่ว่าลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือกรรมสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องในสินค้าหรือบริการของ RIM โจทก์หรือตัวแทนรวมทั้งพนักงาน ผู้รับจ้าง หรือผู้กระทำการแทนจะไม่ได้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ต้นแบบสินค้า ซึ่งรวมสิทธิบัตรการออกแบบอุตสาหกรรม งานต้นแบบ ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้าหรือ mask works โจทก์หรือผู้กระทำการแทนจะไม่ได้กรรมสิทธิ์ ประโยชน์ หรือสิ่งอื่นใดในสินค้าหรือต้นแบบสินค้าที่โอนยังโจทก์ตามสัญญานี้ โจทก์จะไม่ขาย ให้เช่า อนุญาตเช่าช่วง จำหน่าย มอบหมายหรือโอนสิทธิในสินค้า เปิดเผยผลการเทียบเคียงราคาหรือการทดสอบอื่นใดที่คล้ายคลึงกับสินค้าของ RIM แก่บุคคลที่สาม แก้ไข แปลหรือดัดแปลงสินค้า ลบหรือทำลายซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก RIM การจำหน่ายซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก RIM และหรือการขายสื่อที่เผยแพร่ซอฟต์แวร์โดยโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขของใบอนุญาต RIM โจทก์จะแจ้งให้ RIM ทราบทันที หากมีการละเมิดตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์และ RIM ทำสัญญาซื้อขายสินค้าเป็นอุปกรณ์มือถือ อุปกรณ์เชื่อมโยงและซอฟต์แวร์ โดยเจตนาหรือมีวัตถุประสงค์หลักของสัญญาคือ RIM อนุญาตให้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าและสิทธิในการใช้ซอฟต์แวร์มาตรฐาน รวมถึง BlackBerry Enterprise Server (BES) Software License และ BlackBerry End User หรือ Software License Agreement โดยที่ RIM ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าและซอฟต์แวร์ของ RIM ที่โหลดลงหรือฝังตัวอยู่ในมือถือหรืออุปกรณ์พกพา ดังนั้น ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนการเชื่อมโยงหรือเข้าสู่ระบบบริการ (Service Access Fees) ให้แก่ RIM ดังกล่าว แม้จะกำหนดในสัญญาว่าเป็นค่าบริการ แต่ถือว่าเป็นค่าตอบแทนการให้ใช้หรือสิทธิในการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรมหรือเพื่อข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ (DTA) ข้อ 12 และเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) ไม่ใช่เป็นเพียงการให้บริการรับส่งข้อมูลการติดต่อสื่อสารของผู้ใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตให้แก่ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กรตามที่โจทก์อ้าง จึงไม่ใช่การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ดังนั้น เมื่อ RIM Canada หรือ RIM Singapore เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย RIM Canada หรือ RIM Singapore จึงต้องเสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแล้วนำส่งจำเลยตามมาตรา 70 และตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ (DTA) ข้อ 12 คำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรและคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรของจำเลยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินตามข้อตกลงฯ เพื่อการเว้นภาษีซ้อน การประเมินภาษีชอบด้วยกฎหมาย
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ธนาคาร N. เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนหรือไม่ ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน ข้อ 11 ระบุว่า "... (4) แม้จะมีบทของวรรค 2 และ 3 อยู่ ดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นในรัฐทำสัญญารัฐหนึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีในรัฐนั้น ถ้าดอกเบี้ยนั้นได้รับโดย (ก) รัฐทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้น หรือ (ข) สถาบันการเงินใด ๆ ซึ่งรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้นเป็นเจ้าของทั้งหมด และโดยเฉพาะในกรณีสหพันธ์สาธารณรัฐ โดย "ดอยซ์บุนเดสแบงก์"หรือ "เครดิตทันสตาลห์ฟือร์ วิเดอรัฟเบา" และในกรณีประเทศไทย โดย "ธนาคารแห่งประเทศไทย" หรือ (ค) โดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจากพันธบัตรซึ่งออกจำหน่ายโดยรัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรก ..." ธนาคาร N. ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะเหตุผลสามประการประกอบกัน ประการที่หนึ่ง คำว่า เป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) หมายถึงเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น ไม่หมายรวมถึงการเป็นเจ้าของโดยอ้อมหรือโดยทางอ้อมด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ตามความตกลงนี้หากกรณีที่ต้องการให้หมายรวมถึงโดยทางอ้อมด้วยก็จะระบุไว้ชัดเจน ดังที่ระบุไว้ในข้อ 9 และ ข้อ 23 ประการที่สอง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบข้อ 11 (4) (ก) กับข้อ 11 (4) (ข) แล้วควรมีความสำคัญที่เท่าเทียมหรือเกือบเท่าเทียมกัน ซึ่งตามข้อ 11 (4) (ก) ถ้าดอกเบี้ยได้รับโดยรัฐ มลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนข้อ 11 (4) (ข) ผู้รับดอกเบี้ยมิใช่รัฐ แต่เป็นสถาบันการเงินโดยเป็นสถาบันการเงินซึ่งรัฐ... เป็นเจ้าของทั้งหมด การที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมดของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจึงควรมีความสำคัญเท่ากับหรือเกือบเท่ากับรัฐตามข้อ 11 (4) (ก) นั่นคือต้องเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น เพราะหากเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางอ้อมด้วย ความสำคัญของสถาบันการเงินจะมีน้อยกว่ารัฐตามข้อ 11 (4) (ก) มาก เช่น หากรัฐเป็นเจ้าของทางอ้อมด้วย รัฐไม่อาจควบคุมดูแลสถาบันการเงินได้ดีเหมือนกับที่รัฐ ... เป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรง และประการที่สาม กรณีที่กระทรวงการคลัง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีหนังสือ 2 ฉบับ ตอบมายังจำเลยโดยตอบมารวมความได้ว่า ธนาคาร N. มีหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นโดยทางอ้อมด้วย จึงไม่ได้เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ที่อาจอ้างสิทธิได้รับยกเว้นภาษีจากแหล่งเงินได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาเหตุผล สามประการดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นได้ชัดว่า ธนาคาร N. ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าว