พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีนำเข้าต้องใช้ราคาสินค้าตามปกติ ไม่ใช่ราคาพิเศษที่ลดแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับราคาได้
ความรับผิดในอันที่จะต้องเสียค่าภาษีสำหรับรถยนต์ที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ และการคำนวณภาษีต้องถือตามสภาพรถยนต์ ราคารถยนต์ และพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่โจทก์นำรถยนต์เข้ามาในประเทศไทย
ราคารถยนต์ที่จะคำนวณภาษี ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสดไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
รถยนต์ที่โจทก์ซื้อมาเป็นรถยนต์ซึ่งผู้สั่งซื้อไว้ไม่ยอมซื้อ บริษัทผู้ขายจึงลดราคาให้เป็นพิเศษ จึงแสดงว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคารถยนต์ที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่เพราะมิใช่ราคาขายส่งซึ่งจะพึงขาย ณ เวลาและที่ที่นำเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา เมื่อราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไปเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้
ราคารถยนต์ที่จะคำนวณภาษี ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสดไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
รถยนต์ที่โจทก์ซื้อมาเป็นรถยนต์ซึ่งผู้สั่งซื้อไว้ไม่ยอมซื้อ บริษัทผู้ขายจึงลดราคาให้เป็นพิเศษ จึงแสดงว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคารถยนต์ที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่เพราะมิใช่ราคาขายส่งซึ่งจะพึงขาย ณ เวลาและที่ที่นำเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา เมื่อราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไปเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีนำเข้าต้องใช้ราคาสินค้าขายส่งตามปกติ ไม่ใช่ราคาพิเศษที่ลดจากผู้ขาย
ความรับผิดในอันที่จะต้องเสียค่าภาษีสำหรับรถยนต์ที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ และการคำนวณภาษีต้องถือตามสภาพรถยนต์ ราคารถยนต์ และพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่โจทก์นำรถยนต์เข้ามาในประเทศไทย
ราคารถยนต์ที่จะคำนวณภาษี ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสดไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
รถยนต์ที่โจทก์ซื้อมาเป็นรถยนต์ซึ่งผู้สั่งซื้อไว้ไม่ยอมซื้อ บริษัทผู้ขายจึงลดราคาให้เป็นพิเศษ จึงแสดงว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคารถยนต์ที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่ เพราะมิใช่ราคาขายส่งซึ่งจะพึงขาย ณ เวลาและที่ที่นำเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา เมื่อราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไปเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้
ราคารถยนต์ที่จะคำนวณภาษี ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสดไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
รถยนต์ที่โจทก์ซื้อมาเป็นรถยนต์ซึ่งผู้สั่งซื้อไว้ไม่ยอมซื้อ บริษัทผู้ขายจึงลดราคาให้เป็นพิเศษ จึงแสดงว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคารถยนต์ที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่ เพราะมิใช่ราคาขายส่งซึ่งจะพึงขาย ณ เวลาและที่ที่นำเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา เมื่อราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไปเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีนำเข้า กรณีผู้ประกอบการค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายศุลกากร และการประเมินภาษี
โจทก์ขอคืนภาษี จำเลยไม่คืนให้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีนำเข้า: ส่วนประกอบเครื่องจักรที่นำเข้าภายหลังไม่ได้รับการยกเว้น
โจทก์ยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า แล้วชำระภาษีศุลกากร ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ตรวจแบบที่ยื่นถูกต้องแล้ว ก็รับเงินภาษีอากรที่โจทก์ชำระนั้น การกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นนี้แม้ในส่วนภาษีการค้าจะได้ทำแทนกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ก็หาใช่เป็นการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87 ไม่ จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 เสียก่อนฟ้องคดี
สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชการจักรมิใช่ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้อยู่ แต่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่สั่งเข้ามาภายหลังเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด จึงหาใช่สินค้าที่จะได้รับการยกเว้นภาษีตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(11) ไม่
สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชการจักรมิใช่ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้อยู่ แต่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่สั่งเข้ามาภายหลังเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด จึงหาใช่สินค้าที่จะได้รับการยกเว้นภาษีตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(11) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรทดแทนของเก่า ไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี (11)
โจทก์ยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า แล้วชำระภาษีศุลกากรภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่1ตรวจแบบที่ยื่นถูกต้องแล้วก็รับเงินภาษีอากรที่โจทก์ขอชำระนั้นการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นนี้แม้ในส่วนภาษีการค้าจะได้ทำแทนกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ก็หาใช่เป็นการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87 ไม่จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30เสียก่อนฟ้องคดี
สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้อยู่แต่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่สั่งเข้ามาภายหลังเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุดจึงหาใช่สินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 79ตรี(11) ไม่
สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้อยู่แต่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่สั่งเข้ามาภายหลังเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุดจึงหาใช่สินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 79ตรี(11) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า - ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีเมื่อมีประเภทการค้าชัดเจน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น "ผู้ประกอบการค้า"ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2)
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสองอธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2) ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว
คำว่า"ผลิตเพื่อขาย"ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า "โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย" ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิวรรคแรก กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดีการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "มิใช่นำมาขาย" ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ลงไปอีก และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512)
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสองอธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2) ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว
คำว่า"ผลิตเพื่อขาย"ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า "โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย" ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิวรรคแรก กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดีการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "มิใช่นำมาขาย" ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ลงไปอีก และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีนำเข้ารถจี๊บ: การตีความอำนาจกรมศุลกากรและการหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง)34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่นเสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊ปร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 20 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วนๆนั้น จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่างๆ นั้น เข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บเมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บ จำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากรก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล