คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีบำรุงท้องที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ครอบครองที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แม้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ และการอุทธรณ์ต้องทำตามขั้นตอน
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า และจำเลยได้ครอบครองอยู่ในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกต้นปาล์มน้ำมัน จึงเป็นกรณีครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินดังกล่าว
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์ หากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีภาษีอากร แม้จำเลยจะอยู่ในระหว่างที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จะอ้างเหตุว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์นั้นหากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมพระราชบัญญัติ ญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 45(4) กำหนดไว้ว่า ถ้าไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม ฯลฯมิได้กำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม ทั้งไม่มีกฎหมายใดกำหนดว่าในระหว่างที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มสำหรับภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ก็ต้องรับผิดเงินเพิ่มอยู่จนกว่าจะชำระจะอ้างว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น และผลของการเสียภาษีบำรุงท้องที่ต่อการครอบครอง
การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าว มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรกและไม่เคยบอกกล่าวว่าจะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองโดยจะยึดถือเพื่อตน แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาอีกนานเท่าใด โจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่แม้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี ส. ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดแล้วแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ หนี้ค่าภาษีที่พิพาทเป็นหนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังที่ ส. ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วส. จึงไม่สามารถจัดการโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 เมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากถูกพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้ส่วนโจทก์จะได้รับชำระหนี้อย่างไร เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีไม่ใช่เป็นกรณีที่จะนำมาอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่หลังพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจดำเนินการแทนลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินอยู่นั้น ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่อาจจัดการทรัพย์สินโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการแทนโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 หนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วการที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กำหนดไว้ย่อมทำไม่ได้ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 มิได้บัญญัติห้ามฟ้องเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่และเงินเพิ่มซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ของทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง แม้เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังจำเลย ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ประจำปีพ.ศ. 2531 ของลูกหนี้ตามแบบแจ้งการประเมิน ภ.บ.ท.9 เป็นการปฏิบัติตามวิธีการ ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508มาตรา 48 เพื่อให้จำเลยซึ่งมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ ตามมาตรา 49 หากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 นอกจากนี้พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาลหาได้ให้แจ้งความเห็นไปยังผู้ขอรับชำระหนี้ไม่ ทั้งความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจวินิจฉัย เป็นอย่างอื่นได้ ความเห็นหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ทำให้ผู้ขอรับชำระหนี้เสียหาย การที่จำเลยมีหนังสือไปยังผู้อำนวยการเขตแจ้งว่าหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2531 เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจขอรับชำระได้ เท่ากับเป็นเพียงการ แจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปยังผู้อำนวยการเขตเท่านั้น ไม่มีผล ผูกพันให้โจทก์จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของจำเลยต่อ ศาลในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลย ไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และเงินเพิ่มตามกฎหมายแก่โจทก์ เป็นการ โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าภาษีดังกล่าว จากจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้มีอยู่ในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดนั้น จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีหน้าที่เข้าไปจัดการ เมื่อจำเลยยังจัดการ ไม่เสร็จโดยมิได้จำหน่ายที่ดินดังกล่าวแล้วเกิดหนี้ค่าภาษีบำรุง ท้องที่ขึ้นตามกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินที่จำเลยมีหน้าที่จัดการ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แทนลูกหนี้แก่โจทก์ และเมื่อการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายแล้วดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่นั้นแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ของผู้จัดการทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย การแจ้งการประเมินภาษีและการโต้แย้งสิทธิ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าว ดังนี้ การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 48 ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้นั้น เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย เท่ากับเป็นเพียงการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราช-บัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 35 วรรคสอง หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วจำเลยก็ยังมีหน้าทื่ชำระหนี้แทนลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่แทนลูกหนี้ แม้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าวดังนี้ การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 48 ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้นั้นเป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย เท่ากับเป็นเพียงการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 35 วรรคสอง หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ โดยอ้างอิงราคาปานกลางภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน
of 3