พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่เรียกเก็บเกินจากกรมการศุลกากร โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากร
กรมการศุลกากรจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากรให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกส่วนที่เกินคืนได้โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วย และไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากไม่ทำตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งในชั้นศาล
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 แต่กรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพื่อโจทก์ที่ 2 ได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและส่งออก หากจำเลยไม่พอใจการประเมินนั้นก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วจำเลยไม่พอใจคำวินิจฉัย ก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยการที่จำเลยไม่ดำเนินการผ่านขั้นตอนตามที่กล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ยังรวมทั้งการโต้แย้งให้การต่อสู้คดีด้วย ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะมิได้คำนวณมาจากยอดเงินอากรขาเข้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดโดยชอบ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่อาจโต้แย้งการประเมินดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการมีอำนาจฟ้องร้องกรณีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4494/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินพิกัดศุลกากรและสิทธิฟ้องร้องภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล หากไม่ได้อุทธรณ์ตามขั้นตอน
สินค้าน้ำมันก๊าดไม่มีกลิ่นชื่อว่าเอ็กซอน ดี 60 ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นสินค้าอยู่ในประเภทพิกัดประเภทที่27.10 ข. การที่จำเลยแจ้งการประเมินภาษีสินค้าดังกล่าวว่าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 27.10 ฉ. และเรียกเก็บอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มจากโจทก์จึงไม่ชอบ การอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแม้จะเป็นการเรียกเก็บต่อเนื่องเพื่อเชื่อมโยงอยู่กับการเรียกเก็บอากรขาเข้าก็ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้อุทธรณ์การประเมินต่ออธิบดีกรมศุลกากรแทนได้ การที่โจทก์โต้แย้งการประเมินไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 30 วันนับแต่ได้รับแจ้งการประเมินจึงไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 แต่ต้องถือว่าในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคงฟ้องให้เพิกถอนการประเมินได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอากรขาเข้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระภาษีอากร, เงินเพิ่ม, และขอบเขตการเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาล
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการขอชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโดยขอผ่อนเป็น 3 งวด งวดแรกชำระเป็นเงินสด งวดที่ 2 และที่ 3 จำเลยสั่งจ่ายเช็ครวม 2 ฉบับล่วงหน้ามอบให้แก่โจทก์ การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงิน มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับ และจำเลยไม่เคยนำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับไปชำระให้แก่โจทก์เลย มูลหนี้ซึ่งเป็นค่าภาษีอากรจึงยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เดิมได้และเนื่องจากมูลหนี้เดิม เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร จึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมศุลกากรในการจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกรณีนำเข้าสินค้าและการคิดดอกเบี้ย
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้านำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เอกาทศ และมาตรา 78 ทวาทศ ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีการค้าเพื่อกรมสรรพากรได้ ผลจึงเท่ากับว่าในกรณีที่ผู้ประกอบการค้านำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย ซึ่งย่อมจะต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมศุลกากรในการจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกรณีนำเข้าสินค้า
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้านำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เอกาทศและมาตรา78ทวาทศ ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีการค้าเพื่อกรมสรรพากรได้ ผลจึงเท่ากับว่าในกรณีที่ผู้ประกอบการค้านำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย ซึ่งย่อมจะต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องภาษีบำรุงเทศบาล, ผู้ค้าโภคภัณฑ์, และการตีความ 'รถยนต์บรรทุก' เพื่อยกเว้นภาษี
ภาษีบำรุงเทศบาลที่เทศบาลมีอำนาจออกเทศบัญญัติเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบจากภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 12 (2) แห่งพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 นั้น มาตรา 14 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนี้ให้ถือว่าเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากร เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านต่อกรมสรรพากร จำเลยเฉพาะเรื่องการเรียกเก็บภาษีการซื้อโภคภัณฑ์มิได้คัดค้านเรื่องการเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลด้วย โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นศาล จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
แม้โจทก์จะทำหน้าที่เป็นแต่เพียงตัวแทนช่วยจัดการสั่งซื้อรถยนต์จากต่างประเทศมาให้ผู้อื่น โจทก์ก็ยังเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ตามบทนิยามคำว่า "ผู้ค้าโภคภัณฑ์" ในมาตรา 166 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะบทบัญญัตินี้ผู้ค้าโภคภัณฑ์หมายความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องรับผิดในการชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์ที่โอนให้แก่ผู้อื่นตามมาตรา 173
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้สั่งซื้อรถยนต์เข้ามาใช้ในกิจการเดินรถโดยสารของโจทก์เอง โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์จำนวนนี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 168
บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรมีเจตนารมณ์ที่จะเรียกเก็บภาษีโภคภัณฑ์จากรถยนต์ทุกชนิดยกเว้น "รถบรรทุก" ตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ท้ายลักษณะ 4 ว่าด้วยภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 มาตรา 53 รถยนต์ชนิดใดเป็นรถยนต์บรรทุกย่อมต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า "บรรทุก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึง "ใส่ลง บรรจุลง" ดังนั้น "รถยนต์บรรทุก" ย่อมหมายความถึงรถยนต์ที่บรรทุกสิ่งของมิใช่คนโดยสารดังรถยนต์โดยสารสำเร็จรูปของโจทก์ ส่วนคำนิยามในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 มาตรา 4 (3) คำว่า "รถยนต์สาธารณะ" หมายความถึงรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือของนั้นไม่สามารถนำมาอ้างอิงเพื่อตีความคำว่า "รถยนต์บรรทุก" ในประมวลรัษฎากรได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ต่างประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน
แม้โจทก์จะทำหน้าที่เป็นแต่เพียงตัวแทนช่วยจัดการสั่งซื้อรถยนต์จากต่างประเทศมาให้ผู้อื่น โจทก์ก็ยังเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ตามบทนิยามคำว่า "ผู้ค้าโภคภัณฑ์" ในมาตรา 166 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะบทบัญญัตินี้ผู้ค้าโภคภัณฑ์หมายความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องรับผิดในการชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์ที่โอนให้แก่ผู้อื่นตามมาตรา 173
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้สั่งซื้อรถยนต์เข้ามาใช้ในกิจการเดินรถโดยสารของโจทก์เอง โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์จำนวนนี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 168
บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรมีเจตนารมณ์ที่จะเรียกเก็บภาษีโภคภัณฑ์จากรถยนต์ทุกชนิดยกเว้น "รถบรรทุก" ตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ท้ายลักษณะ 4 ว่าด้วยภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 มาตรา 53 รถยนต์ชนิดใดเป็นรถยนต์บรรทุกย่อมต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า "บรรทุก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึง "ใส่ลง บรรจุลง" ดังนั้น "รถยนต์บรรทุก" ย่อมหมายความถึงรถยนต์ที่บรรทุกสิ่งของมิใช่คนโดยสารดังรถยนต์โดยสารสำเร็จรูปของโจทก์ ส่วนคำนิยามในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 มาตรา 4 (3) คำว่า "รถยนต์สาธารณะ" หมายความถึงรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือของนั้นไม่สามารถนำมาอ้างอิงเพื่อตีความคำว่า "รถยนต์บรรทุก" ในประมวลรัษฎากรได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ต่างประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องภาษีบำรุงเทศบาล, ผู้ค้าโภคภัณฑ์, รถยนต์บรรทุก: การตีความข้อยกเว้นภาษีการซื้อโภคภัณฑ์
ภาษีบำรุงเทศบาลที่เทศบาลมีอำนาจออกเทศบัญญัติเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบจากภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 12(2)แห่งพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 นั้น มาตรา 14 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนี้ ให้ถือว่าเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากร เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านต่อกรมสรรพากร จำเลยเฉพาะเรื่องการเรียกเก็บภาษีการซื้อโภคภัณฑ์มิได้คัดค้านเรื่องการเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลด้วยโจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นศาล จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
แม้โจทก์จะทำหน้าที่เป็นแต่เพียงตัวแทนช่วยจัดการสั่งซื้อรถยนต์จากต่างประเทศให้ผู้อื่น โจทก์ก็ยังเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ตามบทนิยามคำว่า "ผู้ค้ำโภคภัณฑ์"ในมาตรา 166 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะบทบัญญัตินี้ผู้ค้าโภคภัณฑ์หมายความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องรับผิดในการชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์ที่โอนให้แก่ผู้อื่นตามมาตรา 173
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้สั่งซื้อรถยนต์เข้ามาใช้ในกิจการเดินรถโดยสารของโจทก์เอง โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์จำนวนนี้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 168
บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรมีเจตนารมณ์ที่จะเรียกเก็บภาษีโภคภัณฑ์จากรถยนต์ทุกชนิดยกเว้น "รถยนต์บรรทุก" ตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ท้ายลักษณะ 4 ว่าด้วยการซื้อโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 มาตรา 53 รถยนต์ชนิดใดเป็นรถยนต์บรรทุกย่อมต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า "บรรทุก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานหมายถึง "ใส่ลง บรรจุลง" ดังนั้น "รถยนต์บรรทุก" ย่อมหมายความถึงรถยนต์ที่บรรทุกสิ่งของมิใช่คนโดยสารดังรถยนต์ โดยสารสำเร็จรูปของโจทก์ ส่วนคำนิยามในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 มาตรา 4(3)คำว่า "รถยนต์สาธารณะ" หมายความถึงรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือของนั้นไม่สามารถนำมาอ้างอิงเพื่อตีความคำว่า "รถยนต์บรรทุก" ในประมวลรัษฎากรได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ต่างประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน
แม้โจทก์จะทำหน้าที่เป็นแต่เพียงตัวแทนช่วยจัดการสั่งซื้อรถยนต์จากต่างประเทศให้ผู้อื่น โจทก์ก็ยังเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ตามบทนิยามคำว่า "ผู้ค้ำโภคภัณฑ์"ในมาตรา 166 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะบทบัญญัตินี้ผู้ค้าโภคภัณฑ์หมายความรวมถึงผู้ทำการแทนด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องรับผิดในการชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์ที่โอนให้แก่ผู้อื่นตามมาตรา 173
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้สั่งซื้อรถยนต์เข้ามาใช้ในกิจการเดินรถโดยสารของโจทก์เอง โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับรถยนต์จำนวนนี้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 168
บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรมีเจตนารมณ์ที่จะเรียกเก็บภาษีโภคภัณฑ์จากรถยนต์ทุกชนิดยกเว้น "รถยนต์บรรทุก" ตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ท้ายลักษณะ 4 ว่าด้วยการซื้อโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 มาตรา 53 รถยนต์ชนิดใดเป็นรถยนต์บรรทุกย่อมต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า "บรรทุก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานหมายถึง "ใส่ลง บรรจุลง" ดังนั้น "รถยนต์บรรทุก" ย่อมหมายความถึงรถยนต์ที่บรรทุกสิ่งของมิใช่คนโดยสารดังรถยนต์ โดยสารสำเร็จรูปของโจทก์ ส่วนคำนิยามในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 มาตรา 4(3)คำว่า "รถยนต์สาธารณะ" หมายความถึงรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือของนั้นไม่สามารถนำมาอ้างอิงเพื่อตีความคำว่า "รถยนต์บรรทุก" ในประมวลรัษฎากรได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ต่างประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน