พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารปลอม (ประกันภัย, ภาษีรถยนต์) ถือเป็นคนละกรรมต่างวาระ แม้ใช้พร้อมกัน
จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของบริษัทประกันภัยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 แล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 3 พ-6729กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด รวม 2 กระทง แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้าย ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเองกับเป็นผู้ใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539จำเลยได้กระทำการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ ประจำปี พ.ศ. 2539 ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่ บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 อีกกรรมหนึ่ง จำเลยจึงกระทำผิดฐานปลอมและใช้ เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265แต่เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสองเช่นกัน แม้จะใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประกอบในคราวเดียวกันแต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันกล่าวคือ การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จริงส่วนการใช้แผ่นป้ายวงกลมปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าได้มีการเสียภาษีรถยนต์ถูกต้องตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 2 กระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินและชำระภาษีรถยนต์นำเข้า: ลักษณะรถ, การจดทะเบียน, อายุความ, และการฟ้องซ้ำ
รถยนต์พิพาทที่จำเลยนำเข้ามา ภายนอกตัวรถด้านซ้ายมีกันสาดติดตั้งไว้ซึ่งสามารถพับเก็บแนบติดกับขอบหลังคารถได้ สภาพภายในตัวรถมีลักษณะเหมือนห้องโถง ไม่มีการกั้นแยกส่วนระหว่างที่นั่งคนขับและส่วนที่เป็นโถง มีเก้าอี้นั่ง2 ตัว มีส่วนที่กั้นเป็นห้องน้ำซึ่งภายในติดตั้งอ่างล้างหน้าและฝักบัว มีตู้ชั้นลอยติดตั้งอยู่เหนือส่วนที่ระบุว่าเป็น "WORK TOP" ระหว่างประตูทางขึ้นด้านข้างของตัวรถกับส่วนที่เป็นห้องน้ำติดตั้งตู้ซึ่งมีลักษณะคล้ายตู้ใส่เสื้อผ้า นอกจากนี้ยังมีเครื่องดูดควันติดตั้งอยู่ใต้ตู้ชั้นลอยเหนือส่วนที่ระบุว่า "WORK TOP" และบริเวณใต้หลังคารถเหนือศีรษะคนขับมีลักษณะเป็นชั้นลอยวางฟูกสำหรับปูนอน สำหรับส่วนที่เป็นเก้าอี้โซฟายาวซึ่งจำเลยอ้างว่าใช้เป็นเตียงคนไข้นั้น ความจริงก็คือมีเก้าอี้โซฟาที่ปรับเป็นเตียงนอนได้นั่นเอง รถยนต์พิพาทจึงมีลักษณะและมีอุปกรณ์ใช้สอยที่ติดตั้งไว้เหมือนกับบ้านที่เคลื่อนที่ หาใช่มีลักษณะเป็นรถพยาบาลหรือเป็นรถตู้มีที่นั่ง 12 ที่นั่งไม่ และตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ประเภทที่ 87.02 ค. นั้น รถยนต์ที่จัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 87.02 ค. แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ รถบรรทุกประเภทหนึ่งและรถนั่งแบบจี๊ปอีกประเภทหนึ่ง ในกรณีของรถบรรทุกย่อมมีความหมายถึงรถที่ใช้บรรทุกสิ่งของเป็นสำคัญ แต่รถยนต์พิพาทมีลักษณะการออกแบบและประโยชน์ใช้สอยสำหรับใช้นั่งหรือนอน ไม่ใช่สำหรับใช้บรรทุกสิ่งของ ส่วนกรณีรถนั่งแบบจี๊ปก็ต้องมีลักษณะเป็นรถที่สมบุกสมบัน ขับเคลื่อน 4 ล้อ และมีกำลังส่งใช้ภายนอกได้ตามที่โจทก์ที่ 1 กำหนดโดย ว.อ.92/2508 แต่รถยนต์พิพาทไม่มีลักษณะดังกล่าวไม่อาจถือว่าเป็นรถที่มีลักษณะคล้ายกับรถดังกล่าวอันจะจัดเข้าในประเภทพิกัดที่87.02 ค. ได้ กรณีจึงต้องจัดรถยนต์พิพาทเข้าในประเภทรถอื่น ๆ ตามประเภทพิกัดที่ 87.02 ง. (2)
รถยนต์พิพาทในขณะนำเข้ามีลักษณะเป็นรถยนต์นั่งที่ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายเหมือนบ้านเคลื่อนที่ โดยในส่วนขวารถยนต์มีที่นั่งภายในไม่เกิน 10 ที่นั่ง และลักษณะของที่นั่งก็ต่างจากที่นั่งที่ใช้ในรถยนต์โดยสารทั่วไปรถยนต์พิพาทจึงไม่ใช่รถยนต์โดยสารหรือเป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คนส่วนที่กองทะเบียนกรมตำรวจรับจดทะเบียนให้ในประเภทดังกล่าวนั้น เป็นการพิจารณาสภาพของที่นำเข้าคนละขั้นตอนกันและวัตถุประสงค์เป็นคนละอย่างกันดังนั้น การรับจดทะเบียนของกรมตำรวจไม่เป็นข้อผูกมัดโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ที่ 1 แจ้งการประเมินไปยังจำเลยให้ชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กรณีย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87(2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อนเมื่อจำเลยเพียงแต่อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งมิใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยย่อมหมดสิทธิโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องร้องหรือให้การต่อสู้คดีในศาลเพื่อไม่ให้ตนต้องชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินนั้น
คดีนี้โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราศุลกากรสำหรับรถยนต์พิพาทที่จำเลยนำเข้ามาว่าจะใช้อัตราใด จึงมีอายุความสิบปี นับจากวันที่จำเลยนำของ หาใช่ในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิดอันจักมีอายุความ 2 ปีไม่
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ฟ้อง ส.ให้ใช้ค่าเสียหายในข้อหาละเมิดเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความระมัดระวังทำให้โจทก์ที่ 1 เสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรรถยนต์พิพาท ซึ่งคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีอากรที่ค้างชำระ นอกจากจะเป็นคู่ความคนละคนแล้ว มูลเหตุแห่งการฟ้องก็เป็นคนละเหตุ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
รถยนต์พิพาทในขณะนำเข้ามีลักษณะเป็นรถยนต์นั่งที่ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายเหมือนบ้านเคลื่อนที่ โดยในส่วนขวารถยนต์มีที่นั่งภายในไม่เกิน 10 ที่นั่ง และลักษณะของที่นั่งก็ต่างจากที่นั่งที่ใช้ในรถยนต์โดยสารทั่วไปรถยนต์พิพาทจึงไม่ใช่รถยนต์โดยสารหรือเป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คนส่วนที่กองทะเบียนกรมตำรวจรับจดทะเบียนให้ในประเภทดังกล่าวนั้น เป็นการพิจารณาสภาพของที่นำเข้าคนละขั้นตอนกันและวัตถุประสงค์เป็นคนละอย่างกันดังนั้น การรับจดทะเบียนของกรมตำรวจไม่เป็นข้อผูกมัดโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ที่ 1 แจ้งการประเมินไปยังจำเลยให้ชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กรณีย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87(2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อนเมื่อจำเลยเพียงแต่อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งมิใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยย่อมหมดสิทธิโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องร้องหรือให้การต่อสู้คดีในศาลเพื่อไม่ให้ตนต้องชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินนั้น
คดีนี้โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราศุลกากรสำหรับรถยนต์พิพาทที่จำเลยนำเข้ามาว่าจะใช้อัตราใด จึงมีอายุความสิบปี นับจากวันที่จำเลยนำของ หาใช่ในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิดอันจักมีอายุความ 2 ปีไม่
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ฟ้อง ส.ให้ใช้ค่าเสียหายในข้อหาละเมิดเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความระมัดระวังทำให้โจทก์ที่ 1 เสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรรถยนต์พิพาท ซึ่งคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีอากรที่ค้างชำระ นอกจากจะเป็นคู่ความคนละคนแล้ว มูลเหตุแห่งการฟ้องก็เป็นคนละเหตุ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เจ้าของรถในการเสียภาษีประจำปีและการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย แม้เป็นการเช่าซื้อ
เมื่อโจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยแล้ว โจทก์เป็นผู้ครอบครองและใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อมา จำเลยในฐานะเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องไปเสียภาษีรถประจำปีตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 32 วรรคหนึ่ง หากจำเลยละเว้นไม่ทำหน้าที่ นอกจากจำเลยจะต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมายแล้วจะเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้รถต้องรับโทษทางอาญา ตามมาตรา 59และอาจถูกนายทะเบียนยึดรถที่ใช้นั้นไปตามมาตรา 35 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้หากคำขอบังคับท้ายฟ้องบางข้อจะมีปัญหาว่าร้องขอได้หรือไม่หรือโจทก์กับจำเลยจะมีข้อตกลงความรับผิดระหว่างกันประการใดเป็นกรณีที่ศาลจะพิพากษาเมื่อได้พิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่ชอบที่ศาลจะยกฟ้องโดยยังมิได้สืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การค้างชำระภาษีรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ คู่สัญญาไม่ชำระหนี้ได้
เหตุขัดข้องที่ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเนื่องมาจากการค้างชำระค่าภาษีรถยนต์ประจำปี เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมค่าอากรแสตมป์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ทั้งหมด ค่าภาษีรถยนต์ประจำปีที่ค้างชำระดังกล่าวจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตามที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบจำเลยทั้งสองจะถือเป็นเหตุไม่ชำระหนี้แก่โจทก์และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตรวจสอบหลักฐานประกอบการขออนุญาตขนส่งถูกต้อง การเรียกเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังไม่ชอบ
รถยนต์โดยสารของโจทก์มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เปลี่ยนสี ไม่มีหมายเลขตัวถังรถ ไม่ปรากฎเลขแชชชีเดิมประกอบกับรายละเอียดน้ำหนักรถและจำนวนที่นั่งผู้โดยสารในใบคู่มือ จดทะเบียนรถยนต์กับใบรับรองการตรวจสภาพรถแตกต่างกันมาก กองวิศวกรรมการขนส่งของจำเลยที่ 4จึงออกหมายเลขตัวถังรถให้ใหม่และหมายเหตุเรื่องการเปลี่ยนแปลงไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ ต่อมาโจทก์ขอชำระภาษีรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวที่กรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่อันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นพร้อมกับคำขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลของโจทก์ จึงมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการอันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆเหล่านั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการทำหลักฐานทางทะเบียนปลอมหรือมีการนำรถซึ่งได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาขอรับใบอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร ประกอบกับความจำเป็นในการตรวจสอบหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีข้อที่น่าสงสัยหลายประการ อันเป็นการจำเป็นที่จำเลยต้องใช้เวลาในการตรวจสอบไปยังหน่วยราชการอื่น ๆ หลายแห่งเป็นเวลานานพอสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 เป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และได้กระทำไปไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ มาตรา 167 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯมีความหมายแต่เพียงว่า รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้ว และยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เท่านั้น ไม่มีข้อความให้อำนาจจำเลยที่ 4เรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้เลย ที่จำเลยที่ 4 เรียกเก็บภาษีรถยนต์ของโจทก์ที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ก่อนที่โจทก์จะนำรถมาจดทะเบียนต่อจำเลยที่ 4 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนประกอบการขนส่งและขอชำระภาษีเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีรถยนต์: รถที่จดทะเบียนขนส่งได้รับการยกเว้นภาษีรถยนต์เดิมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์, การเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์นำรถยนต์มาจดทะเบียนประกอบการขนส่งและเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 รถยนต์ของโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ คงต้องเสียภาษีรถยนต์ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนคำว่ารถที่จดทะเบียนใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86 วรรคสองนั้น หมายถึงรถยนต์ที่นำมาจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่งทางบกเป็นครั้งแรก มิได้หมายความต้องเป็นรถยนต์ใหม่ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนมาก่อน และตามมาตรา 167 วรรคแรกที่บัญญัติว่ารถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้นั้น มีความหมายเพียงว่ารถยนต์ที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วและยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกเท่านั้น ไม่มีข้อความให้อำนาจกรมการขนส่งทางบกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีรถยนต์กรณีจดทะเบียนขนส่ง: การยกเว้นภาษีตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก และการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
โจทก์นำรถยนต์มาจดทะเบียนประกอบการขนส่งและเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 รถยนต์ของโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์คงต้องเสียภาษีรถยนต์ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวส่วนคำว่ารถที่จดทะเบียนใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา86 วรรคสองนั้นหมายถึงรถยนต์ที่นำมาจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่งทางบกเป็นครั้งแรกมิได้หมายความต้องเป็นรถยนต์ใหม่ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนมาก่อนและตามมาตรา 167 วรรคแรกที่บัญญัติว่ารถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้นั้นมีความหมายเพียงว่ารถยนต์ที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วและยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกเท่านั้น ไม่มีข้อความให้อำนาจกรมการขนส่งทางบกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง: การยกเว้นและข้อยกเว้นตามพ.ร.บ.ขนส่งทางบก
มาตรา71,86,167 โจทก์นำรถยนต์มาจดทะเบียนประกอบการขนส่งและเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522รถยนต์ของโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์คงต้องเสียภาษีรถยนต์ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา71วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวส่วนคำว่ารถที่จดทะเบียนใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา86วรรคสองนั้นหมายถึงรถยนต์ที่นำมาจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่งทางบกเป็นครั้งแรกมิได้หมายความต้องเป็นรถยนต์ใหม่ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนมาก่อนและตามมาตรา167วรรคแรกที่บัญญัติว่ารถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไปให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้นั้นมีความหมายเพียงว่ารถยนต์ที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วและยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกเท่านั้นไม่มีข้อความให้อำนาจกรมการขนส่งทางบกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังเงินภาษีรถยนต์ ความผิดมาตรา 147 และการยกข้อต่อสู้ที่ไม่เคยกล่าวอ้างในศาลชั้นต้น
ผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 3 มีคำสั่งให้จำเลยเป็นสิบตำรวจตรีประจำกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิทำหน้าที่ผู้ช่วยเสมียนทะเบียนยานพาหนะกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ จำเลยจึงมีหน้าที่รับเงินค่าภาษีรถยนต์และค่าภาษียานพาหนะอื่น ได้ทั้งหมดแล้วนำส่งให้แก่สารวัตรการเงินและบัญชี การที่ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิมีคำสั่งให้จำเลยเป็นหัวหน้า สำหรับประเภทล้อเลื่อน ไม่มีผลเป็นการลบล้างหรือยกเลิกคำสั่งของกองบังคับการตำรวจภูธร เขต 3 ซึ่งเป็นหน่วยราชการ ที่เหนือกว่าได้ จำเลยยังคงมีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง ผู้ช่วยเสมียนทะเบียนยานพาหนะกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ อยู่เช่นเดิมเมื่อจำเลยรับเงินค่าภาษีรถยนต์แล้วเบียดบังเป็นของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
จำเลยอ้างว่าคำสั่งของผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบหมายอำนาจการสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ แต่โจทก์จำเลยมิได้อ้างและนำสืบถึงระเบียบดังกล่าว จำเลยได้นำเข้าสู่สำนวนความโดยมีคำแถลงส่งต่อศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นข้อที่จำเลย มิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้นศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยอ้างว่าคำสั่งของผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบหมายอำนาจการสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ แต่โจทก์จำเลยมิได้อ้างและนำสืบถึงระเบียบดังกล่าว จำเลยได้นำเข้าสู่สำนวนความโดยมีคำแถลงส่งต่อศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นข้อที่จำเลย มิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้นศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้