คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าประเภทใดต้องเสียภาษีตามหมวดใด และหมายเหตุของหมวดมีผลบังคับอย่างไร
เมื่อสินค้าใดถูกระบุว่าจะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีศุลกากรหมวดใดก็จะต้องเสียภาษีไปตามที่ถูกระบุไว้ในอัตรานั้นตามพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง มิใช่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วนำสินค้าที่นำเข้าไปไว้กับกิจการใดเป็นหลักสำคัญในการสำแดงรายการสินค้าประเภทพิกัดและอัตราศุลกากร
สินค้าพิพาทเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับซึ่งมีชื่อสินค้าตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.01 ประเภทย่อย 8501.620 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (อัลเทอร์เนเตอร์) (ACGENRATOR) ตอนที่ 85 เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย 8501.620 และเมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในตอนที่ 85 จึงเป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบตามหมายเหตุข้อ 2 ของหมวด 17 ที่ระบุไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) สินค้าพิพาทจึงไม่อยู่ในหมวด 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.990 ซึ่งเป็นรายการส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนราง
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องกลับกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีชื่อตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.04 จึงต้องจัดอยู่ในประเภทพิกัด 85.04ประเภทพิกัดย่อย 8504.400 ส่วนรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 86.07 เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่ดินบนราง ซึ่งหมายเหตุข้อ 2(ฉ) ของหมวด 17 คำว่า "ส่วนประกอบ"และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" มิให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) ดังนั้น สินค้าพิพาทจึงไม่อาจอยู่ในหมวดที่ 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.190
ประเภทพิกัด 90.32 ระบุรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ได้แก่อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมโดยอัตโนมัติ (AUTOMATICREGULATINGORCONTROLLINGINSTRUMENTANDAPPARATUS) อันได้แก่ เครื่องปรับแรงเคลื่อนไฟฟ้าโดยอัตโนมัติสำหรับใช้กับความดันไฟฟ้าตั้งแต่ 11,000 โวลต์ขึ้นไปและส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว ดังนั้น เมื่อสินค้าพิพาทเป็นตัวบังคับและตัวควบคุมทางไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมไฟฟ้า สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัด 90.32 ประเภทย่อยที่ 9032.890
สินค้าพิพาทเป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิก (OILMOTOR) มีชื่อระบุไว้ชัดเจนในประเภทพิกัดย่อย 8412.290 แล้ว ประเภทพิกัดย่อย 8607.190ซึ่งอยู่ในหมวด 17 ตอนที่ 86 ระบุรายการสินค้าคือส่วนประกอบของหัวรถจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนรางซึ่งเป็นคนละประเภทกับสินค้าพิพาทที่เป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกประกอบกับหมายเหตุข้อ2(จ) ของหมวด 17 ระบุคำว่า "ส่วนประกอบ" และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" ไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามประเภทที่ 84.01 ถึง 84.79 และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าวของตามประเภทที่ 84.81 หรือ 84.82 หรือ 84.83 เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย8412.290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำยาเสพติดเข้าประเทศโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
โคคาอีน ที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้ เป็นความผิดไม่อาจเสียภาษีได้ การที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น จึงมิใช่เป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับทองคำหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ผู้กระทำผิดลักลอบนำเข้า
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยเป็นเงินสี่เท่าของราคาของเป็นเงิน 27,126,838.64 บาท ริบของกลาง และให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับร้อยละสามสิบของราคาของกลางและจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละสิบห้าของราคาของ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 และ 8 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
การวินิจฉัยว่าผู้ใดกระทำผิดโดยรับไว้ซึ่งทองคำแท่ง ซึ่งผู้อื่นลักลอบนำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ หรือไม่นั้น เมื่อองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 27 ทวิเพียงแต่ผู้ใดเจตนารับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดก็เป็นความผิดแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้ข้อเท็จจริงชี้ชัดลงไปว่ามีผู้รู้เห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดโดยลักลอบนำเข้าซึ่งทองคำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีศุลกากรหรือไม่เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8476/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยสำแดงเท็จและใช้เอกสารราชการปลอม
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ได้แยกการกระทำความผิดไว้หลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิด อยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน ตามคำฟ้องและทางพิจารณา ปรากฏว่าเป็นความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรคือของที่นำเข้ามาเป็นของที่ต้องเสียภาษีมิได้ลักลอบนำเข้าแต่เป็นการนำมาผ่านศุลกากรโดยสำแดงรายการสินค้าว่าเป็น ซี่ลวดรถจักรยาน ไม่มีเครื่องหมายการค้า อันเป็นความเท็จซึ่งความจริงสินค้าดังกล่าวเป็นซี่ลวดรถจักรยานยนต์เพื่อให้เสียค่าภาษีน้อยกว่าที่จะพึงต้องเสียโดยมีเจตนาจะหลักเลี่ยงค่าภาษี กรณีจึงมีความผิดตามมาตรา 27 การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ ใน ฐานะผู้นำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าโดยรู้เห็นให้พนักงานออกของหรือชิปปิ้งนำต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวซึ่งได้มีการลบคำว่า "NOBRAND"ออก และเติมเครื่องหมายการค้ารูปดาวห้าแฉกไปยื่นต่อ ก. นายตรวจศุลกากร ให้ตรวจปล่อยสินค้าซี่ลวดและ ก. ได้ตรวจปล่อยสินค้าดังกล่าวไป จึงเป็นการร่วมกันใช้ เอกสารราชการปลอมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ก. และกรมศุลกากร การใช้เอกสารราชการปลอมดังกล่าวเป็นการ กระทำความผิดต่างฐานกันกับความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้มีความมุ่งหมายในการกระทำเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็เป็น การกระทำต่างวาระกัน และในแต่ละวาระก็เป็นความผิด สำเร็จแล้ว จึงเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน, ครอบครองไม้ผิดกฎหมาย, และหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ศาลฎีกาแก้ไขข้อหาฐานทำไม้ให้ถูกต้อง
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกยาเสพติดผิดกฎหมาย: การพิจารณาความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร
เฮโรอีนจำนวน3,491กิโลกรัมที่จำเลยพยายามนำหรือพาออกนอกราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้เป็นความผิดไม่อาจเสียภาษีได้มิใช่เป็นการนำหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา27อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีศุลกากรและอายุความการขอคืนภาษี: โจทก์ต้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย และมีอายุความ 2 ปี
เมื่อโจทก์นำของเข้าในราชอาณาจักร โจทก์ต้องสำแดงราคาสินค้าเพื่อเสียภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่าโจทก์สำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง จึงสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาสินค้าและภาษีที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าดังกล่าว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 30 แม้จำเลยจะเรียกเก็บอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษี-บำรุงเทศบาลพร้อมกัน ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกอง-วิเคราะห์ราคาจำเลยได้ ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของจำเลย หรือโต้แย้งราคาไว้และขอคืนอากรที่ชำระเกินภายหลังนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1 เมื่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่ม โจทก์เพียงแต่ชำระตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ส่วนจำนวนที่มีการเรียกให้ชำระเพิ่มโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดเป็นหลักประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยอาจประเมินให้ชำระเพิ่มในภายหลัง จะถือว่าเงินดังกล่าวเป็นค่าภาษีอากรที่โจทก์ยินยอมชำระตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้ชำระเพิ่มตั้งแต่วันนำเข้าแล้วย่อมมิได้ การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเงินประกันส่วนที่พนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่คืนให้ภายหลังการประเมินเพราะถือว่าเป็นค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่ม จึงมิใช่การขอคืนเงินค่าอากรที่โจทก์ชำระเกินกว่าจำนวนที่พึงชำระจริง ตามบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469อันจะอยู่ในอายุความ 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าเข้า ส่วนใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 2 - 9 นั้น ในวันที่โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนดังกล่าว โจทก์ได้ยินยอมเพิ่มราคาสินค้าจากที่สำแดงไว้ และชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามจำนวนที่พนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดตามใบขนสินค้าทุกฉบับ ถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินแล้ว การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรในส่วนนี้จึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า มาใช้บังคับ
คำสั่งกรมศุลกากรที่ 28/2527 เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้น ไม่อาจถือว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาดได้เสมอไปเพราะแม้เป็นราคาสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันมีแหล่งกำเนิดจากประเทศหรือโซนเดียวกัน หากมีคุณภาพและความนิยมแตกต่างกันมากก็อาจมีราคาแตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 10 ได้ ดังนั้น ราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงไว้ร้อยละ 16.93 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ส่วนราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าทั้งสองฉบับโจทก์มีพยานนำสืบว่า เป็นราคาที่มีการซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ใช้กับตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก จึงฟังได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1 - 10 เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายของมาตรา 2แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีศุลกากรต้องมีหลักฐานราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การอ้างอิงราคาซื้อขายเดิมประกอบด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้ามา โจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าตามราคาที่โจทก์สั่งซื้อมา เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินราคาเพิ่มขึ้นโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีอากรมากกว่าที่พึงต้องชำระ ขอให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีอากรจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไป นั้น เพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจและให้การต่อสู้ได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าทั้ง 16 ฉบับตามฟ้องต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์พออนุมานเบื้องต้นได้ว่า เป็นราคาซื้อขายที่โจทก์ซื้อมา แม้อาจไม่เท่ากับราคาอันแท้จริงในท้องตลาดดังที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ ซึ่งจำเลยชอบที่จะนำสืบแสดงหลักฐานให้เห็นว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นราคาเท่าใด และเป็นเพราะเหตุใดจำเลยจะอ้างแต่เพียงว่า การตีราคาหรือประเมินราคาต้องอาศัยคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาที่ใช้ในการประเมินอากร โดยเทียบราคาที่ผู้ซื้อรายอื่นสั่งเข้ามาแต่เพียงอย่างเดียว และไม่ได้นำสืบหรือแสดงหลักฐานให้ปรากฏถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดย่อมไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีศุลกากรตามราคาขายส่งเงินสด และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการปรับราคา
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสองและ 10 ทวิวรรคแรก ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ และการคำนวณภาษีต้องถือตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย ส่วนราคาสินค้าที่จะคำนวณภาษีก็ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสด โดยไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้า โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะซื้อสินค้าเหล่านั้นมาตามราคาที่แจ้งในใบกำกับสินค้าก็ตาม จำเลยทั้งสองก็รับว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อมานั้น ผู้ขายลดราคาเพื่อให้หมดไปจากสต๊อกของผู้ขายซึ่งแสดงว่าราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคาสินค้าที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่ เพราะมิใช่ราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา นอกจากนี้สินค้าบางส่วนมีเครื่องหมายการค้าไม่ตรงกับที่จำเลยทั้งสองสำแดงไว้ในใบกำกับสินค้า เมื่อราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไป เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้ ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประเมินราคาใหม่ โดยเปรียบเทียบกับบัญชีราคาสินค้าที่ตัวแทนจำหน่ายสินค้าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยนำเข้าแจ้งราคาไว้ต่อกรมศุลกากรเมื่อปี 2523 แม้จะเป็นราคาก่อนเวลาที่จำเลยทั้งสองนำเข้า แต่เป็นบัญชีราคาสินค้าที่มีผลใช้ได้จนถึงขณะที่จำเลยทั้งสองนำสินค้าเข้าดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นราคา ณ เวลาที่นำของเข้า ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินก็ถือเป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะจำเลยทั้งสอง การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1จึงเป็นการปฏิบัติโดยมีหลักเกณฑ์ภายในขอบอำนาจถูกต้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์การนำเข้าสินค้าและการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตกอยู่แก่ผู้ซื้อ จำเลยต้องพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
หน้าที่พิสูจน์ว่าสินค้าผ้าของกลางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ตกอยู่แก่จำเลยผู้ซื้อสินค้าผ้าของกลางจะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าได้มีการเสียภาษีถูกต้องแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่.
of 5