พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระเงินตามสัญญาขายทอดตลาดไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยเงินจำนวนดังกล่าวได้รวมภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องหักและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วยและต่อมาปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้จ่ายภาษีเงินได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปอีกทั้งที่ตนมิได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี แต่มีหน้าที่เพียงหักภาษีเงินได้ ตามมาตรา (50) (5) (ข) เท่านั้น ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะขอเงินดังกล่าวคืน ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหักเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้ผู้ซื้อทรัพย์ตามจำนวนภาษีที่ผู้ซื้อได้ทดรองจ่ายไปจึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการหักเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681-1683/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน, การหักกลบลบหนี้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกับค่าจ้างค้างจ่าย
สัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาที่จำเลยที่ ตกลงให้โจทก์ที่ 3 ดำเนินการเกี่ยวกับการดัดแปลงอพาร์ตเม้นต์เป็นโรงแรม จัดหาบุคลากรที่เหมาะสมมาทำงานที่โรงแรม และวางแผนการตลาดให้โรงแรมมีกำไร เป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายเงินค่าตอบแทนในผลสำเร็จของงานที่ทำเดือนละ 140,000 บาท แม้โจทก์ที่ 3 ได้เข้าทำงานทุกวันคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 8.30 ถึง 17.00 นาฬิกาก็มิใช่เป็นการทำงานตามที่จำเลยที่ 1 กำหนด แต่เป็นการเข้าไปทำงานยังสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จัดหาไว้ตามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิใช่สัญญาจ้างแรงงานแต่เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างผู้จ่ายค่าจ้างอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎษกร มาตรา 40 (1) ให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ของมาตรา 50 (1) แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 หากนายจ้างมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ หรือหักไม่ครบ หรือไม่นำส่งในจำนวนที่ถูกต้อง นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมดอกเบี้ยปรับและเงินเพิ่มร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้เมื่อจำเลยที่ 1 ได้จ่ายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายย้อนหลังตามจำนวนที่ต้องจ่ายสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่จ้ายแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไปคืนจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ และสามารถหักจากค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อชำระค่าภาษีเงินได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1)
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างผู้จ่ายค่าจ้างอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎษกร มาตรา 40 (1) ให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ของมาตรา 50 (1) แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 หากนายจ้างมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ หรือหักไม่ครบ หรือไม่นำส่งในจำนวนที่ถูกต้อง นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมดอกเบี้ยปรับและเงินเพิ่มร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้เมื่อจำเลยที่ 1 ได้จ่ายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายย้อนหลังตามจำนวนที่ต้องจ่ายสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่จ้ายแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไปคืนจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ และสามารถหักจากค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อชำระค่าภาษีเงินได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวที่จะต้องหักเงินและนำส่งโดยมิพักต้องมีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: การประเมินถูกต้อง แม้ไม่ต้องออกหมายเรียก & ผู้จ่ายภาษีร่วมรับผิดชอบ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้ต้องหักไว้ตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50(5) แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลรัษฎากรมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อมาตรา 50(5) ได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนว่าจะต้องหักไว้เท่าใดแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองผู้มีหน้าที่หักเงินต้องนำส่งโดยมิพักต้องมีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 10)ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ในการขายอสังหาริมทรัพย์ อันจะต้องมีการจัดเก็บ หาใช่เป็นการประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ ดังนั้น การที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งจัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากเพราะโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้องตามฟ้องจึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตามประมวลรัษฎากรมาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียกตามมาตรา 19 กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ด้วยเช่นกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้องเรียกอ. ผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อน เพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่า อ. ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้องเรียกอ. ผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อน เพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่า อ. ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย: กำหนดเวลาตามมาตรา 3 เตรส ป.รัษฎากร มีผลบังคับใช้โดยเฉพาะ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2532 โจทก์ถูกหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อมาตรา 3 เตรสบัญญัติให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 63 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการและกำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แม้ผู้ถูกหักภาษี ณที่จ่าย จะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 63 ดังกล่าวกล่าวคือ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2532โจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเงิน 2,384,806.31 บาท แต่โจทก์ประกอบการมีผลขาดทุนสุทธิ 6,137,459.23 บาท อันเป็นผลให้ไม่มีเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจำนวนดังกล่าวคืนโดยโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2532ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย กล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2535 แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2536 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่โจทก์
เมื่อกรณีของโจทก์มีบทบัญญัติมาตรา 3 เตรส แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้นำกำหนดเวลาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำอายุความหรือกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30 (ปัจจุบัน) และ ป.รัษฎากร มาตรา27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับกรณีทั่วไปมาใช้บังคับได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การจำเลยประกอบข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลเพียงพอต่อการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบที่จะกระทำได้ และหามีผลทำให้คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทไม่เป็นไปโดยเที่ยงธรรมไม่
เมื่อกรณีของโจทก์มีบทบัญญัติมาตรา 3 เตรส แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้นำกำหนดเวลาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำอายุความหรือกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30 (ปัจจุบัน) และ ป.รัษฎากร มาตรา27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับกรณีทั่วไปมาใช้บังคับได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การจำเลยประกอบข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลเพียงพอต่อการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบที่จะกระทำได้ และหามีผลทำให้คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทไม่เป็นไปโดยเที่ยงธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องยื่นภายใน 3 ปี ตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร แม้มีบทบัญญัติอื่น
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2532โจทก์ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 3 เตรสแห่ง ประมวลรัษฎากร เมื่อมาตรา 3 เตรส บัญญัติให้นำประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการและกำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แม้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 63 ดังกล่าว กล่าวคือ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่30 มิถุนายน 2532 ประกาศกระทรวงถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนเงิน 2,384,806.31 บาท แต่โจทก์ประกอบการมีผลขาดทุนสุทธิ 6,137,459.23 บาท อันเป็นผลให้ไม่มีเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย จำนวนดังกล่าวคืนโดยโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2532 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย กล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2535 แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2536 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่โจทก์ เมื่อกรณีของโจทก์มีบทบัญญัติมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติให้นำกำหนดเวลาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำอายุความหรือกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา193/30(ปัจจุบัน) และประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ตรีซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับกรณีทั่วไปมาใช้บังคับได้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องและคำให้การจำเลยประกอบข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลเพียงพอต่อการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแล้วการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบที่จะกระทำได้ และหามีผลทำให้คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทไม่เป็นไปโดยเที่ยงธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส ต้องยื่นภายใน 3 ปีนับจากสิ้นปีภาษีตามมาตรา 63
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2531ถึงวันที่30มิถุนายน2532โจทก์ถูกหักภาษีเงินได้ณที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา3เตรสแห่งประมวลรัษฎากรเมื่อมาตรา3เตรสบัญญัติให้นำประมวลรัษฎากรมาตรา63ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการและกำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหักณที่จ่ายและนำส่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมการขอคืนภาษีที่ถูกหักณที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา3เตรสแม้ผู้ถูกหักภาษีณที่จ่ายจะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็ต้องอยู่ในบังคับมาตรา63ดังกล่าวกล่าวคือผู้ถูกหักภาษีณที่จ่ายต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหักณที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน3ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2531ถึงวันที่30มิถุนายน2532ประกาศกระทรวงถูกหักภาษีณที่จ่ายเป็นจำนวนเงิน2,384,806.31บาทแต่โจทก์ประกอบการมีผลขาดทุนสุทธิ6,137,459.23บาทอันเป็นผลให้ไม่มีเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ถูกหักณที่จ่ายจำนวนดังกล่าวคืนโดยโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน3ปีนับแต่วันที่30มิถุนายน2532ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีณที่จ่ายกล่าวคือต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในวันที่30มิถุนายน2535แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีที่ถูกหักณที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่22กรกฎาคม2536จึงเป็นการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีหักณที่จ่ายแก่โจทก์ เมื่อกรณีของโจทก์มีบทบัญญัติมาตรา3เตรสแห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติให้นำกำหนดเวลาขอคืนภาษีหักณที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา63มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำอายุความหรือกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม)หรือมาตรา193/30(ปัจจุบัน)และประมวลรัษฎากรมาตรา27ตรีซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับกรณีทั่วไปมาใช้บังคับได้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องและคำให้การจำเลยประกอบข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลเพียงพอต่อการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแล้วการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบที่จะกระทำได้และหามีผลทำให้คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทไม่เป็นไปโดยเที่ยงธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9911/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส ต้องยื่นภายใน 3 ปีนับจากสิ้นปีภาษีที่ถูกหักเกิน มิฉะนั้นจะขาดสิทธิ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 เตรส บัญญัติว่าให้นำมาตรา 63ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการและกำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหักณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเกินกว่าจำนวนที่ต้องเสียมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แม้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 63 แห่ง ป.รัษฎากรกล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไป
ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2531 โจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส เป็นจำนวนเงิน187,950 บาท แต่โจทก์ประกอบการมีผลขาดทุนสุทธิ 1,324,666.62 บาทอันเป็นผลให้ไม่มีเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ถูกหัก ณที่จ่ายจำนวนดังกล่าวแล้วคืน ทั้งนี้โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2531 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไป กล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 29 พฤษภาคม 2535 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ กรมสรรพากร จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายแก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 ตรี ที่บัญญัติว่าการขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ต้องเสียภาษีหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดนั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ในกรณีทั่ว ๆ ไป ซึ่ง ป.รัษฎากรมิได้มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ แต่การขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ได้บัญญัติให้นำมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้ว คือต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไปจึงจะนำมาตรา 27 ตรี มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ซึ่งยื่นคำร้องขอคืนตามมาตรา 3 เตรส ไม่ได้
ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2531 โจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส เป็นจำนวนเงิน187,950 บาท แต่โจทก์ประกอบการมีผลขาดทุนสุทธิ 1,324,666.62 บาทอันเป็นผลให้ไม่มีเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ถูกหัก ณที่จ่ายจำนวนดังกล่าวแล้วคืน ทั้งนี้โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2531 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไป กล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 29 พฤษภาคม 2535 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ กรมสรรพากร จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายแก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 ตรี ที่บัญญัติว่าการขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ต้องเสียภาษีหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดนั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ในกรณีทั่ว ๆ ไป ซึ่ง ป.รัษฎากรมิได้มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ แต่การขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ได้บัญญัติให้นำมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้ว คือต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไปจึงจะนำมาตรา 27 ตรี มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ซึ่งยื่นคำร้องขอคืนตามมาตรา 3 เตรส ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินบังคับคดีค่าจ้าง จำเลยมีสิทธิขอหักภาษีเฉพาะเงินที่จ่ายในคราวนั้น มิใช่รวมกับเงินที่จ่ายไปก่อน
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 3 จตุทศ, 50, 52 ให้บุคคลผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีเงินได้ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างและนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วัน จำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินต้องหักภาษีทุกคราวที่มีการจ่าย ถ้าจำเลยที่ 1 มิได้หักและนำส่งเงินภาษีให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกับโจทก์ที่ 1 ผู้มีเงินได้พึงประเมินด้วยตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร เช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1 โดยตรงจำเลยที่ 1 มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในคราวที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้อง แต่เงินซึ่งได้จากการบังคับคดีสำหรับค่าจ้างที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้จ่ายให้โจทก์ที่ 1 กรณีเช่นนี้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1 แทนจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเองจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ได้ เพื่อจะได้ส่งเป็นเงินภาษีต่อไป
การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องหักทุกคราวที่มีการจ่าย เมื่อจ่ายเงินได้พึงประเมินในคราวใดเป็นจำนวนเท่าใด ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินในการจ่ายในคราวนั้นแต่จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอให้กักไว้เป็นภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ จำเลยที่ 1 คิดจากเงินได้พึงประเมินทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1 รวมทั้งค่าจ้างที่จ่ายไปก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้หักภาษีไว้ดังนั้นจะเอาเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปก่อนแล้วมาคิดหักเป็นภาษีในคราวนี้ด้วยย่อมไม่ชอบ จำเลยที่ 1คงมีสิทธิขอหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างสำหรับการจ่ายในคราวนี้เท่านั้น
เงินดอกเบี้ยของค่าจ้างมิใช่ค่าจ้างที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างค่าจ้างได้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องหักทุกคราวที่มีการจ่าย เมื่อจ่ายเงินได้พึงประเมินในคราวใดเป็นจำนวนเท่าใด ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินในการจ่ายในคราวนั้นแต่จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอให้กักไว้เป็นภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ จำเลยที่ 1 คิดจากเงินได้พึงประเมินทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1 รวมทั้งค่าจ้างที่จ่ายไปก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้หักภาษีไว้ดังนั้นจะเอาเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปก่อนแล้วมาคิดหักเป็นภาษีในคราวนี้ด้วยย่อมไม่ชอบ จำเลยที่ 1คงมีสิทธิขอหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างสำหรับการจ่ายในคราวนี้เท่านั้น
เงินดอกเบี้ยของค่าจ้างมิใช่ค่าจ้างที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างค่าจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินบังคับคดีค่าจ้าง: การคำนวณภาษีเฉพาะเงินที่จ่ายในคราวปัจจุบัน
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 3 จตุทศ,50,52ให้บุคคลผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีเงินได้ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างและนำส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วัน จำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินต้องหักภาษีทุกคราวที่มีการจ่าย ถ้าจำเลยที่ 1มิได้หักและนำส่งเงินภาษีให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกับโจทก์ที่ 1 ผู้มีเงินได้พึงประเมินด้วยตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร เช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1 โดยตรงจำเลยที่ 1 มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในคราวที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้อง แต่เงินซึ่งได้จากการบังคับคดีสำหรับค่าจ้างที่ค้างชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้จ่ายให้โจทก์ที่ 1 กรณีเช่นนี้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1แทนจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเอง จำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ได้ เพื่อจะได้ส่งเป็นเงินภาษีต่อไป การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องหักทุกคราวที่มีการจ่าย เมื่อจ่ายเงินได้พึงประเมินในคราวใดเป็นจำนวนเท่าใด ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินในการจ่ายในคราวนั้น แต่จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอให้กักไว้เป็นภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ จำเลยที่ 1คิดจากเงินได้พึงประเมินทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1รวมทั้งค่าจ้างที่จ่ายไปก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้หักภาษีไว้ดังนั้นจะเอาเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปก่อนแล้วมาคิดหักเป็นภาษีในคราวนี้ด้วยย่อมไม่ชอบ จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิขอหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างสำหรับการจ่ายในคราวนี้เท่านั้น เงินดอกเบี้ยของค่าจ้างมิใช่ค่าจ้างที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างค่าจ้างได้.