พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทรับมรดกความในการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีสืบเนื่องมาจากศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ถนนในส่วนที่เป็นที่ดินของจำเลย และโจทก์ทั้งสองยินยอมชำระค่าใช้ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธิการบังคับคดีของจำเลยผู้ตายตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยและดำเนินการบังคับแก่โจทก์ทั้งสองได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม กรณีนี้หาใช่เป็นการเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคดีต่อไปได้แม้โจทก์ถึงแก่กรรม และทายาทไม่รับมรดกความ
คดีอาญา (ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177) แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและทายาทของผู้มรณะไม่ติดใจรับมรดกความ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคดีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรม และทายาทไม่รับมรดกความ
คดีอาญา (ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177) แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและทายาทของผู้มรณะไม่ติดใจรับมรดกความ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้รับมรดกความในชั้นบังคับคดี: พิจารณาบุคคลที่สมควรที่สุดไม่ใช่เพียงผู้เกี่ยวข้อง
จำเลยมรณะในระหว่างที่การบังคับคดีตามคำพิพากษายังไม่เสร็จสิ้นกรณีเป็นเรื่องที่ว่าสมควรจะแต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้รับมรดกความแทนจำเลยเพื่อบังคับคดีให้เสร็จสิ้นไป แม้ผู้คัดค้านจะเป็นบุตรซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของจำเลย และได้เคยเข้ามาเกี่ยวข้องโต้เถียงสิทธิที่มีอยู่ของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีนี้อยู่ก่อนก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับมรดกความ และปรากฏว่ายังมีทายาทอื่นเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยอยู่เช่นนี้ กรณีจึงไม่เป็นการสมควรที่จะแต่งตั้งผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกความและการพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือในคำท้าคดี ศาลฎีกายกคำพิพากษาเดิมเพื่อพิสูจน์หลักฐานเพิ่มเติม
โจทก์มรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1และทายาทอื่นต่างยื่นคำร้องขอรับมรดกความ การตั้งผู้รับมรดกความแทนผู้มรณะนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 43บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเหตุสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป หากศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้ารับมรดกความ ก็เท่ากับให้จำเลยที่ 1เข้าล้มคดีของโจทก์ตามชอบใจ ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทายาทอื่นเข้ารับมรดกความแทนโจทก์ จึงเป็นการชอบแล้ว
การแปลคำท้าของคู่ความ
การแปลคำท้าของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกความแทนผู้มรณะ คำท้าพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ และผลของการพิสูจน์ต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
โจทก์มรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1และทายาทอื่นต่างยื่นคำร้องขอรับมรดกความ การตั้งผู้รับมรดกความแทนผู้มรณะนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 43บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเหตุสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป หากศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้ารับมรดกความ ก็เท่ากับให้จำเลยที่ 1 เข้าล้มคดีของโจทก์ตามชอบใจ ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทายาทอื่นเข้ารับมรดกความแทนโจทก์ จึงเป็นการชอบแล้ว
การแปลคำท้าของคู่ความ
การแปลคำท้าของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับมรดกความในคดีที่ฟ้องผู้บุพพการี: การวินิจฉัยอำนาจฟ้องเป็นอุทลุมและการรับมรดกความ
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์มรณะส. ร้องขอรับมรดกความ แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นปู่ของ ส.ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บุพพการี การรับมรดกความของ ส. จึงถือได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพพการี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1534 แม้จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องของ ส. และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้รับมรดกความไปแล้ว แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นอุทลุม ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยในเวลาพิพากษาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่า การรับมรดกความของ ส. ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพพการี ส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่งการขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42, 43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาล ยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส.มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก.ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก.ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้นยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่า การรับมรดกความของ ส. ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพพการี ส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่งการขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42, 43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาล ยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส.มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก.ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก.ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้นยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกความของผู้รับประโยชน์กับข้อห้ามฟ้องผู้บุพการี และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์มรณะส.ร้องขอรับมรดกความแต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นปู่ของส.ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บุพการี การรับมรดกความของ ส. จึงถือได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพการี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แม้จำเลยมิได้คัดค้าน คำร้องของ ส. และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้รับมรดกความไปแล้ว แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นอุทลุม ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยในเวลาพิพากษาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่าการรับมรดกความของ ส.ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพการีส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่ง การขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส. มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก. ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก. ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้น ยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไข ในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่าการรับมรดกความของ ส.ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพการีส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่ง การขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส. มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก. ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก. ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้น ยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไข ในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีถอดถอนผู้พิทักษ์เมื่อผู้ถูกพิทักษ์ถึงแก่ความตาย สิทธิการรับมรดกความ
คดีเรื่องถอดถอนผู้พิทักษ์ ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความได้
คดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้พิทักษ์โจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งอยู่ในความพิทักษ์ถึงแก่ความตายในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
คดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้พิทักษ์โจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งอยู่ในความพิทักษ์ถึงแก่ความตายในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดคดีถอดถอนผู้พิทักษ์เมื่อผู้ถูกพิทักษ์ถึงแก่ความตาย สิทธิการรับมรดกความ
คดีเรื่องถอดถอนผู้พิทักษ์ ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความได้
คดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้พิทักษ์โจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งอยู่ในความพิทักษ์ถึงแก่ความตายในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
คดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้พิทักษ์โจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งอยู่ในความพิทักษ์ถึงแก่ความตายในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี