พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลามและการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากไม่ได้อยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็นคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลแล้วก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750 ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมรดกอิสลาม: การพิจารณาคดีโดยมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมกับผู้พิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
การตั้งผู้จัดการมรดกของอิสลามศาสนิกก็เพื่อจะให้ผู้นั้นเข้าไปมีอำนาจหน้าที่จัดการรวบรวมและแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายให้เป็นไปตามกฎหมายอิสลาม ฉะนั้น คดีพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องตั้งผู้จัดการมรดก นับได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องมรดก คดีชนิดนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้น ให้มีดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา แต่เนื่องจากดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวเพราะเป็นญาติกับโจทก์จำเลย และเคยเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้มาแล้ว โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงเลือกนายอำนวยซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกปฏิบัติหน้าที่แทนดะโต๊ะยุติธรรมเฉพาะคดีตามมาตรา 5 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาคดีโดยให้ดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษาจึงเป็นการชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกอิสลาม: ศาลต้องใช้กฎหมายอิสลาม & ให้คะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามในเขตปัตตานี
การวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกในศาลจังหวัดปัตตานี ซึ่งศาลชั้นต้นต้องใช้กฎหมายอิสลามและต้องให้คะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามนั้น หากศาลชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้อง ศาลสูงก็มีอำนาจยกคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่ได้
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ เพราะถ้ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดของคะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามมาโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ เพราะถ้ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดของคะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามมาโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยมรดกอิสลาม: ศาลต้องใช้กฎหมายอิสลามและดะโต๊ะยุติธรรมชี้ขาด หากศาลล่างผิดพลาด ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้พิจารณาใหม่
การวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกในศาลจังหวัดปัตตานีซึ่งศาลชั้นต้นต้องใช้กฎหมายอิสลามและต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามนั้น หากศาลชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้อง ศาลสูงก็มีอำนาจยกคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่ได้
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ เพราะถ้ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดของดะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามมาโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ เพราะถ้ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดของดะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามมาโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีมรดกอิสลามในเขตปัตตานี ต้องมีตะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณา หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย ศาลสูงมีอำนาจให้พิจารณาใหม่ได้
คดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกที่โจทก์จำเลยต่างนับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตต์จังหวัดปัตตานี นั้น ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี ฯ พ.ศ.2489 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามบังคับและในศาลชั้นต้นให้ตะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา แต่ถ้ามีการพิจารณาคดีนั้นไปโดยมิได้มีตะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาร่วมด้วยผู้พิพากษาแล้ว ศาลสูงก็มีอำนาจที่ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีเสียใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่จำต้องยกฟ้องโดยให้ไปฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลาม: สิทธิที่ได้รับแล้วย่อมตัดปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นคนนับถือศาสนาอิสลาม ได้ฟ้องขอแบ่งมรดกตาม พ.ม.อิสลาม เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าได้มีการแบ่งมรดกกัน และโจกท์ได้รับส่วนแบ่งไปเสร็จแล้ว คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การแบ่งมรดกนั้นชอบด้วยกฎหมายอิสลามหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกอิสลาม: การบังคับใช้สารตรากระทรวงยุตติธรรมเหนือ กฎหมายลักษณมรดก แม้จะไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ตายและผู้รับมฤดกต่างนั้นถือศาสนาอิสสลามและอยู่ในบริเวณ 7 หัวเมืองนั้นต้องแย่งมฤดกตามกฎหมายอิสสลาม ไม่ว่าทรัพย์จะอยู่นอกจังหวัดนั้นหรือไม่ สารตราที่ออกโดยพระบรมราชกิจจานุเบกษาก็ต้องถือว่ามีผลใช้บังคับได้ดุจ กฎหมาย