คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มลทิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6715/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งออกจากงานเนื่องจากมีมลทิน - สิทธิรับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบ
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกหรือปลดออกจากงาน จำเลยได้ตั้งกรรมการสอบสวนการกระทำของโจทก์ ทางสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังว่า โจทก์กระทำผิดวินัยที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินมัวหมอง และมีพฤติการณ์อันไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ หากจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 ข้อ 34 (3) และให้ถือว่าออกจากงานเพราะกระทำผิด ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกัน แต่เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงานเอกสารหมาย ล.7 ข้อ 36 มีข้อความว่า"พนักงานผู้ใดต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 34 ซึ่งไม่ใช่เป็นการออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะการกระทำผิดมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ และการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" และข้อ 34 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกันมีข้อความว่า"การสั่งให้พนักงานผู้ใด พ้นจากตำแหน่งหน้าที่โดยการให้ออกให้พิจารณาโดยเหตุดังนี้"... (3) มีข้อความว่า "พนักงานผู้นั้นต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและการสอบสวนไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่าได้กระทำผิดที่จะถูกไล่ออกหรือปลดออกแต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจ ซึ่งจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" ดังนี้ ผลการสอบสวนที่สรุปว่าจำเลยไม่มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อกล่าวหาที่จะต้องมีโทษถูกไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจฯ ซึ่งต้องด้วยข้อบังคับฉบับดังกล่าวข้อ 34 (3) นั้น ซึ่งตามเนื้อหาแล้วไม่ได้เป็นการระบุว่าโจทก์กระทำผิดวินัยในข้อใด แต่เป็นเรื่องที่ตามทางสอบสวนปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยจะอาศัยข้อบังคับฉบับดังกล่าวสั่งให้โจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม แต่จะถือว่าโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะกระทำผิดยังไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยให้ถือว่าได้กระทำผิด จึงเป็นเรื่องเกินเลยไปจากที่ข้อบังคับกำหนดไว้ โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะคู่ความของหน่วยงานราชการ และการสั่งพักราชการ/ออกจากราชการเนื่องจากมีมลทิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายพิเศษ แม้กรมกำลังพลทหารบก จำเลยที่ 3กรมการแพทย์ทหารบก จำเลยที่ 4 และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำเลยที่ 5จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2512 มาตรา 4 ซึ่งออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความที่จะถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยได้
ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ทหารประจำการพักราชการ พ.ศ. 2500 ข้อ 6(2) กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการออกจากราชการได้ แม้ไม่ได้กระทำความผิด แต่หากมีมลทินหรือมัวหมอง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งถูกสั่งให้พักราชการออกจากราชการประจำการเป็นนายทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัด เพราะเหตุมลทินหรือมัวหมอง จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะคู่ความของหน่วยงานราชการ และอำนาจสั่งพักราชการ/ออกจากราชการเนื่องจากมลทิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายพิเศษ แม้กรมกำลังพลทหารบก จำเลยที่ 3กรมการแพทย์ทหารบก จำเลยที่ 4 และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำเลยที่ 5จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2512 มาตรา 4 ซึ่งออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความที่จะถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยได้ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ทหารประจำการพักราชการ พ.ศ. 2500 ข้อ 6(2) กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการออกจากราชการได้ แม้ไม่ได้กระทำความผิด แต่หากมีมลทินหรือมัวหมอง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งถูกสั่งให้พักราชการออกจากราชการประจำการเป็นนายทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัด เพราะเหตุมลทินหรือมัวหมอง จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.