คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มลทินมัวหมอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีมลทินมัวหมอง และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
แม้โจทก์เป็นเพียงผู้มีมลทินมัวหมอง ไม่ถึงขั้นที่เรียกว่ากระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง จำเลยจึงสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่มีมลทินหรือมัวหมอง เพราะโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการกระทำของโจทก์ ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
จำเลยสั่งพักงานโจทก์และได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นับแต่วันที่สั่งให้โจทก์พักงาน ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันแรกที่สั่งพักงานเป็นต้นไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตั้งแต่นั้นมา.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากมีมลทินมัวหมอง มิใช่จากความจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ศาลยืนค่าชดเชยตามสิทธิ
โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเป็นผู้มีมลทินมัวหมอง มิใช่เพราะกระทำผิดตามข้อกล่าวหาว่า ประพฤติตนไม่สมควร แอบอ้างชื่อผู้ใหญ่ไปเรียกและรับค่าตอบแทนในการวิ่งเต้นช่วยเหลือบุคคลเข้าเป็นพนักงาน ติดต่อกับพนักงานอื่นให้ช่วยเหลือบุคคลเข้าทำงานโดยจะให้เงินเป็นค่าตอบแทน ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามข้อ 47(2) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินกว่าคำขอบังคับได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอค่าชดเชยมา 18,120 บาท อันเป็นการคำนวณผิดพลาด โดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 18,180 บาท การที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ 18,180 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว