คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มอบฉันทะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการแจ้งเหตุขัดข้อง การมอบฉันทะเสมียนทนายไม่ถือเป็นการมาศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9187/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบฉันทะ: การฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ตามมอบหมาย
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะ การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา แล้วให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: ผลของการมอบฉันทะให้เสมียนทนายรับทราบกำหนดนัด และความรับผิดชอบของทนายจำเลย
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ทนายจำเลยคนเดิมไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าศาลแรงงานกลางนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษาและทนายจำเลยไม่อยู่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการอ้างเหตุที่จำเลยขาดนัดพิจารณาว่าเกิดจากจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดของศาล
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัด จำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมาย ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วย ตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: ผลของการมอบฉันทะให้เสมียนทนายรับทราบวันนัด และความรับผิดชอบของทนายความ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ทนายจำเลยคนเดิมไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าศาลแรงงานกลางนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษาและทนายจำเลยไม่อยู่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการอ้างเหตุที่จำเลยขาดนัดพิจารณาว่าเกิดจากจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดของศาล
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมายถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วยตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อแทนไม่ทำให้ผู้รับมอบฉันทะเป็นเจ้าของ
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1330 จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตาม แต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริง หากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทน รถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการมอบฉันทะและขอบเขตการดำเนินการแทนจำเลยในเรื่องค่าธรรมเนียมศาล
ทนายความอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 เท่านั้น ส่วนกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่า เป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่า ทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยวิธีการมอบฉันทะให้หักเงินจากบัญชีเงินฝาก และการยอมรับการชำระหนี้รูปแบบอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 30,000 บาทจำเลยนำสืบว่า ในการกู้ยืมนี้จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนและผ่อนชำระให้โจทก์แล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเป็นเงินต้นจำนวน 600 บาทและดอกเบี้ยจำนวน 900 บาท เป็นเวลา 44 เดือน รวมเป็นเงินต้นจำนวน2,400 บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน 39,600 บาท โดยนำสืบถึงวิธีการใช้เงินให้แก่โจทก์ว่า จำเลยเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติงานประจำที่ชุมสายโทรศัพท์จังหวัดขอนแก่น ในการรับเงินเดือนหรือเงินอื่นใดจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยจะรับผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทยจำกัด สาขาขอนแก่น และจำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวพร้อมทั้งได้มอบฉันทะให้โจทก์มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อหักชำระหนี้แก่โจทก์ได้เดือนละ1,500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนสิงหาคม 2530 ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบการใช้เงินต้นโดยวิธีดังกล่าวข้างต้นจำเลยก็ชอบที่จะทำได้ เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการมอบฉันทะให้ถอนเงินจากบัญชีผู้กู้ ถือเป็นการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กู้ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้กู้โดยมอบฉันทะให้โจทก์ไปถอนเงินจากธนาคารที่จำเลยทั้งสองมีบัญชีเงินฝากเอง ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลยดังกล่าวและโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการมอบฉันทะถอนเงินจากบัญชี และการนำสืบการใช้เงินตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม โดยมอบฉันทะให้โจทก์ผู้ให้กู้นำไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเลยเมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลย และโจทก์ให้ผู้กู้นำไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเองเมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลย และโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4750/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบฉันทะเสมียนทนายแทนทนายความ และผลต่อการถือว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด
วันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อถึงวันนัดทนายโจทก์มอบฉันทะให้ ก. เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก โดยในใบมอบฉันทะมีใจความว่า ทนายโจทก์ขอมอบฉันทะให้ ก. เสมียนทนายทำการแทนโดยทนายโจทก์ยอมรับผิดในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้ทำไปทุกประการในกิจการเกี่ยวกับการยื่นคำร้อง ฟังคำสั่ง และกำหนดวันนัดแทนเช่นนี้ การแต่งตั้ง ก. เสมียนทนายให้มาทำการแทนทนายโจทก์จึงเป็นไปโดยชอบด้วยมาตรา 64 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ในวันนัดดังกล่าวผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงมาศาลในฐานะผู้ทำการแทนทนายโจทก์ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่ง เพราะคำว่าโจทก์ในบทกฎหมายดังกล่าวย่อมหมายความรวมไปถึงทนายโจทก์ด้วยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์นำตัวโจทก์มาศาลและให้ทนายโจทก์จัดหาทนายความคนอื่นมาว่าความแทน โดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงโทรศัพท์ติดต่อกับทางสำนักงานแล้วแถลงต่อศาลว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีไปในเวลาบ่ายเพื่อติดตามพยาน เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีจากเวลาเข้าไปเวลาบ่ายวันเดียวกันดังกล่าว ก็จะถือว่าการเป็นผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์สิ้นสุดลงไปแล้วในเวลาเช้าหาได้ไม่ เมื่อถึงเวลานัดผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์แถลงว่า ทนายโจทก์ไม่มาศาลและขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและถือว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนด จึงให้ยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
of 5