พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินที่ได้รับมอบหมายให้เก็บ – ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ vs. ความผิดฐานหน้าที่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้เก็บเงินค่าวัสดุก่อสร้างจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยเก็บเงินดังกล่าวแล้วมิได้นำส่งโจทก์ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กลับเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้มีอำนาจหน้าที่จัดการทรัพย์สินของโจทก์และจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 353 ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 353 ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนผู้ขนส่ง: ตัวแทนไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้ขนส่งหากไม่ได้รับมอบหมาย
โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ประกอบธุรกิจตัวแทนของผู้ขนส่งในราชอาณาจักร เนื่องจากผู้ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงมอบให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการต่าง ๆ ที่ท่าต้นทางแทน โดยโจทก์จะได้รับบำเหน็จตัวแทนจากจำนวนค่าระวางที่ผู้ส่งชำระให้ โจทก์จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเล ให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 โจทก์เป็นตัวแทนสายการเดินเรือ ว. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่คู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลย ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจตัวแทนผู้ขนส่งฟ้องคดีแทนผู้ขนส่งได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยที่สายการเดินเรือ ว. มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินการ จึงไม่มีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถไม่รู้เห็นการใช้รถขนน้ำมันผิดกฎหมาย มีสิทธิขอคืนรถได้ แม้จะมอบให้ห้างฯ จัดการ
ผู้ร้องนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปเข้าร่วมกิจการรับจ้างขนส่งน้ำมันกับห้างหุ้นส่วนจำกัดส.และมอบให้ห้างฯ ดังกล่าวครอบครองดูแลและจัดการเกี่ยวกับคู่ค้าหรือผู้ขับแทนผู้ร้องห้างหุ้นส่วนจำกัดส.นำรถยนต์ของกลางไปให้ ว. เช่า และ ว. นำเข้าไปร่วมกิจการกับบริษัท ช. โดยผู้ร้องมิได้รู้เห็นด้วย คงได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากห้างฯเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยรถยนต์ของกลางมีการพ่นสีแสดงข้อความและเครื่องหมายของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กับมีชื่อบริษัท ช. เป็นผู้ประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นการสนับสนุนแสดงให้เห็นว่ารถยนต์ของกลางถูกนำไปใช้รับขนส่งน้ำมันเตาให้การปิโตรเลียมฯอย่างเปิดเผย มิใช่มีลักษณะจะนำไปขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผิดกฎหมายทั้งคำว่า "รู้เห็นเป็นใจ" หมายความว่ารู้เหตุการณ์และร่วมใจด้วยส่วนคำว่า "ร่วมใจ" หมายความว่านึกคิดอย่างเดียวกัน การรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงหมายความว่ารู้แล้วว่าจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดและมีความนึกคิดกระทำความผิดด้วยปรากฏว่าขณะเกิดเหตุผู้ร้องมีอายุเพียง 20 ปีเศษ เท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าผู้ร้องจะคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าจะมีการนำรถยนต์ของกลางของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ชอบที่จะขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในเอกสารสำคัญและการดำเนินคดีอาญา ความรับผิดของผู้ที่มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมแม้จำเลยจะมิได้นำเอกสารปลอมไปแสดงด้วยตนเอง แต่จำเลยมอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทน โดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม การที่ ส. ไปดำเนินการยื่นเอกสารปลอมแทนจำเลย ก็มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดในฐานะตัวการ จำเลยต้องแสดงหลักฐานการมอบหมายหน้าที่หรือการครอบครองรถ
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และขณะเกิดเหตุได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดในฐานะดังกล่าวโดยโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ตั้งเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1ในชั้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา แม้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล และสิทธิการฟ้องแย้งของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิง ธ. ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ธ. ตามกฎหมาย แต่เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยเป็นบิดามิชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ การที่โจทก์ทำบันทึกระบุข้อความมอบผู้เยาว์ให้อยู่ในความปกครองของพี่สาวจำเลยจึงเป็นการตั้งผู้ปกครองกันเองย่อมไม่มีผล เพราะการตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะด้วยคำสั่งศาลหรือบิดามารดาตกลงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เท่านั้น ข้อความตามบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ให้อยู่กับพี่สาวจำเลยเท่านั้น และกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาได้สละการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้บิดาหรือมารดาสามารถสละการใช้อำนาจปกครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งมิใช่กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ จำเลยซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องส่งผู้เยาว์ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์โต้แย้งสิทธิ จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
เมื่อจำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์โต้แย้งสิทธิ จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช็คพิพาท: ผู้รับเช็คมีหน้าที่มอบหมายให้เรียกเก็บเงินแทนได้ และเช็คมีมูลหนี้บังคับได้ตามกฎหมาย
เช็คพิพาทมีมูลหนี้เดิมมาจากการซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์กับว. เป็นหุ้นส่วนขายที่ดินให้แก่จำเลย บุคคลทั้งสองจึงต่างมีสิทธิ และมีผลประโยชน์ร่วมกันในเงินค่าที่ดิน แต่หนี้ดังกล่าวได้แปลงหนี้ เป็นหนี้เงินกู้ยืม โดยโจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้ให้กู้และจำเลยออกเช็ค เพื่อชำระหนี้รายนี้ ดังนั้น การที่ว.นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของตนเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทเชื่อได้ว่าโจทก์มอบเช็คพิพาท ให้ว. กระทำการดังกล่าวแทนโจทก์ตามหน้าที่ของตนเท่านั้นโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้เดิมมาจากจำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แล้วมีการแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาเงินกู้และค้ำประกัน ต่อมาจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวรวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และค่าเสียหายตามที่ โจทก์จำเลยตกลงกัน แม้หลังจากนั้นจะมีการทำหนังสือสัญญาเงินกู้และค้ำประกันก็เพื่อให้มีหลักฐานมั่นคงยิ่งขึ้นเท่านั้น การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หาใช่ขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ยังไม่มีหนี้ต่อกันไม่ เมื่อโจทก์มอบให้ว.นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยผู้ออกเช็คจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการมอบหมายให้พนักงานขับรถแทน
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารชนรถจักรยานยนต์โจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจะระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งผู้โดยสาร โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 4 พนักงานขับรถ ใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารขับรถยนต์โดยสารไปส่งผู้โดยสารแทนนั้น เป็นการแสดงออกชัดว่าจำเลยที่ 4 ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนตนในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 , 425 , 427 , 797 และ 820 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8338/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันการซื้อขายโดยการรับสินค้า และการยอมรับการมอบหมายให้สั่งซื้อสินค้า
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลานั้นสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยของทนายโจทก์คนเดิม โดยโจทก์มีแพทย์ ผู้ตรวจร่างกายทนายโจทก์คนเดิมเบิกความยืนยันโดยโจทก์ไม่จำต้องนำเอกสารประวัติคนไข้มาสืบประกอบและเมื่อศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยานแล้ว เห็นว่าทนายโจทก์คนเดิมป่วยจริง ความบกพร่องไม่ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และข้ออ้างของทนายโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานของ โจทก์ไว้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต ให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ทวิ วรรคสองซึ่งบังคับใช้ในขณะนั้น จำเลยได้ทราบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่บริษัท ม.สั่งซื้อเหล็กหล่อเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดิน ของอาคารบ. ยิ่งกว่านั้นในช่วงที่โจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้ตามสถานที่ก่อสร้างขึ้น จำเลยได้เข้ามารับช่วงงานก่อสร้างต่อแล้ว และวัสดุก่อสร้างทุกอย่างที่ส่งมาภายหลังจำเลยก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้จำเลยและจำเลยได้รับไว้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยมิได้อิดเอื้อนหรือส่งคืนแก่โจทก์ ถือได้ว่าการรับสินค้าของจำเลยเป็นการให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการว่าได้มอบหมายให้บริษัทม.เป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว สำหรับบันทึกข้อตกลงที่จำเลยกำหนดให้บริษัท ก.ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคาร บ.จะต้องมีหน้าที่จัดหาเหล็กก่อสร้างให้ไม่เกิน 200 ตัน มอบแก่จำเลย เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ภ. เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์แต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์ส่งเหล็กมาให้จำเลย จำเลยรับไว้แล้วนำไปใช้ในกิจการ ของจำเลยหมด จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โดยเข้ามาให้ สัตยาบันแก่การนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทน vs ผู้รับมอบหมาย
"ผู้ขนส่งอื่น" ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง