พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208-5211/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบนายจ้างเมื่อมอบหมายงานให้ผู้อื่น กรณีเช่าแรงงานและจ่ายค่าจ้างแทน
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ให้คำนิยาม "นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึง (1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง บริษัท ท. ผู้เช่ากิจการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มาดำเนินการ ได้เช่าแรงงานจากการทำงานของลูกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย การบังคับบัญชาลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 การจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง การจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน บริษัท ท. เป็นผู้ดำเนินการแทนและจ่ายเงินแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงถือว่าบริษัท ท. เป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 (1) และโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 มิได้เลิกจ้างลูกจ้างหรือโอนการจ้างลูกจ้างไปให้บริษัท ท. ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังคงเป็นนายจ้างของลูกจ้างอยู่ตามมาตรา 5 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งที่ไม่เป็นธรรมในการมอบหมายงานนอกหน้าที่และกลั่นแกล้ง, สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกกลั่นแกล้ง
โจทก์ทำงานอยู่แผนกจัดส่ง มีหน้าที่รับส่งและบรรจุน้ำมันลงถังการที่ ว.หัวหน้าแผนกซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งให้โจทก์ไปตักน้ำมัน และไขน้ำมันจากท่อน้ำรวมในโรงงานซึ่งมีน้ำสกปรกไหลผ่าน เป็นการสั่งให้ทำงานนอกหน้าที่ของโจทก์ โดย ว.ไม่เคยใช้ผู้อื่นทำมาก่อน และคำสั่งของ ว.เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ คำสั่งของ ว.ดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม แม้โจทก์จะฝ่าฝืนคำสั่ง จำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งมอบหมายงานพิเศษหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัย นายจ้างมีอำนาจออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณีของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษ ผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาตัวการตัวแทน และการรับผิดชอบค่าจ้างเมื่อมีการมอบหมายงานให้คณะกรรมการ
เดิมจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาได้อนุมัติให้คณะกรรมการการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นซึ่งมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นกรรมการไปดำเนินการและรับผิดชอบในการบริหารงาน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้อง เพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น จึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายงานโดยไม่ชอบ และความผิดฐานยักยอกทรัพย์เจ้าพนักงาน
คำสั่งของบุคคลซึ่งมิได้เป็นผู้บังคับบัญชาที่ได้มอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติ เป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการตามคำสั่งนั้น การที่จำเลยรับเงินค่าดูดสิ่งปฏิกูลของเทศบาลซึ่งมิใช่หน้าที่ของจำเลยแล้วเบียดบังไว้ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 157, และ 161 แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แม้ต่อมาจำเลยจะได้นำเงินจำนวนที่ยักยอกไปดังกล่าวมาชดใช้คืนแก่เทศบาลก็ตาม ก็เป็นเพียงการกระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าเทศบาลซึ่งเป็นผู้เสียหายตกลงให้ระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยเช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่า เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายงานที่มิชอบและการยักยอกทรัพย์ การกระทำจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ไม่ใช่ความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอก
คำสั่งของบุคคลซึ่งมิได้เป็นผู้บังคับบัญชาที่ได้มอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติ เป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการตามคำสั่งนั้น การที่จำเลยรับเงินค่าดูดสิ่งปฏิกูลของเทศบาลซึ่งมิใช่หน้าที่ของจำเลยแล้วเบียดบังไว้จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,157 และ 161แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แม้ต่อมาจำเลยจะได้นำเงินจำนวนที่ยักยอกไปดังกล่าวมาชดใช้คืนแก่เทศบาลก็ตาม ก็เป็นเพียงการกระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าเทศบาลซึ่งเป็นผู้เสียหายตกลงให้ระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยเช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่า เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้จัดการ: การมอบหมายงานนโยบายและการกระทำละเมิดของผู้ช่วย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ตามข้อบังคับของโจทก์ข้อ 53 ระบุว่า หากผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหาย ผู้จัดการต้องรับผิดชอบด้วย แต่ในการแต่งตั้งจำเลยที่ 1 นั้นจำเลยที่1 ขอรับหน้าที่เฉพาะงานนโยบายเท่านั้นซึ่งคณะกรรมการของโจทก์ตกลงยินยอมด้วย ส่วนการบริหารงานร้านโจทก์นั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานของโจทก์แต่ผู้เดียวตลอดมา ดังนี้จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่บริหารงานของโจทก์ และการบริหารงานของจำเลยที่ 2 มิใช่การทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับข้อ 53 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงจะอาศัยข้อบังคับดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากการทำงาน: การมอบหมายงานกีฬาให้ลูกจ้างถือเป็นงานของหน่วยงาน ลูกจ้างถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องจ่ายค่าทดแทน
ผู้ตายเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้แข่งกีฬาสำหรับหน่วยงานภายใน จำเลยที่ 2 ได้รับนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติและมอบให้ผู้ตายเป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อมและลงเป็นคู่ซ้อมทีมแบดมินตันของจำเลยที่ 2 การที่ผู้ตายได้ปฏิบัติตามที่จำเลยที่ 2 สั่งและมอบหมายจึงเป็นการทำงานให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะควบคุมและฝึกซ้อมกีฬาแบดมินตันให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีสิทธิมอบหมายงานหรือไม่ก็ได้ ตราบใดที่ยังจ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้มอบหมายงาน
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องมอบหมายงานให้ลูกจ้างทำและเมื่อไม่ปรากฏว่าสัญญาจ้างได้กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่เช่นนั้น ดังนั้น การที่นายจ้างจะมอบหมายงานให้ลูกจ้างทำหรือไม่จึงเป็นสิทธิของนายจ้างเมื่อนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างแล้วก็ถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของลูกจ้าง ลูกจ้างหามีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้นายจ้างมอบหมายงานให้ลูกจ้างทำไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้าง แม้จะยังไม่มอบหมายงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าครองชีพตามตกลง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อนายจ้างตกลงเปิดงาน กำหนดว่านายจ้างจะให้ประโยชน์ ค่าจ้างและสวัสดิการแก่ ลูกจ้างที่กลับเข้าทำงานเช่นที่ลูกจ้างเคยได้รับ ไม่มีข้อใดให้อำนาจนายจ้างที่จะยังไม่ให้ลูกจ้างบางส่วนเข้าทำงาน นายจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะไม่ให้ประโยชน์ดังกล่าว แก่ลูกจ้างที่ได้รายงานตัวต่อนายจ้างเพื่อเข้าทำงานแล้วแต่ นายจ้างยังไม่เรียกเข้าทำงาน แม้โดยทั่วไปนายจ้างอาจจะไม่มอบงานให้ลูกจ้างทำได้เพราะไม่เป็นที่เสียหายแก่ ลูกจ้าง แต่นายจ้างหามีสิทธิที่จะยกเหตุที่ลูกจ้างไม่ ทำงานเพราะนายจ้างไม่มอบงานให้ทำมาปฏิเสธไม่ให้ ประโยชน์แก่ลูกจ้างได้ไม่นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าครองชีพ ให้แก่ลูกจ้างที่อยู่ระหว่างรอคำสั่งเรียกกลับเข้าทำงาน ด้วย และแม้นายจ้างจะมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขในการ จ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างได้ก็ตามนายจ้างก็หามีอำนาจ กำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าครองชีพให้ขัดกับบันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้วไม่
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องและนายจ้างปิดงาน ถ้าต่างได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว หาอาจอ้างเป็นความผิดของฝ่ายใดไม่
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องและนายจ้างปิดงาน ถ้าต่างได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว หาอาจอ้างเป็นความผิดของฝ่ายใดไม่