พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลความสามารถและมาตรฐานการทำงานของลูกจ้าง
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ของมาตรฐานการทำงานไว้ และโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานตลอดมา ไม่มีช่วงใดเลยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้น แม้ประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์จะลดลงไปบ้าง แต่ต้องถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของจำเลย ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบจึงฟังไม่ขึ้น การที่จำเลยมีรายได้ลดลงตั้งแต่ปี 2543 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันทางธุรกิจของโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือ และบริการโทรทางไกลราคาประหยัดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่เสนอกลยุทธ์ในการตลาดเพื่อแข่งขันกับภายนอก และโจทก์ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแข่งขันกับธุรกิจภายนอกให้เป็นผลสำเร็จดังที่จำเลยอ้าง แต่โจทก์ก็ยังทำงานได้เกณฑ์ตามมาตรฐานของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง จำเลยไม่สามารถเสนองานในตำแหน่งที่เหมาะสมให้แก่โจทก์ได้ จึงยังไม่ใช่เหตุผลสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัสดุก่อสร้างผิดสัญญา: แผ่นยิปซัมไม่ใช่ 'วัสดุก่อเรียบทาสี' ตามสัญญา แม้มีมาตรฐานสากล
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายห้องชุดจากจำเลย โดยมีข้อสัญญาว่าผนังห้องชุดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและวัสดุก่อเรียบทาสี ซึ่งคำว่า "วัสดุก่อเรียบทาสี" นี้น่าจะมีความหมายว่า นำวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐมอญหรืออิฐบล็อกมาเรียงก่อขึ้นเป็นผนังก่อนและฉาบด้วยปูนซีเมนต์ทับผิวให้เรียบแล้วทาสีดังนั้นเมื่อแผ่นยิปซัมเป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นสำเร็จรูป มิใช่วัสดุก่อขึ้นอย่างก่ออิฐฉาบปูนแผ่นยิปซัมจึงไม่เป็นวัสดุก่อเรียบทาสีตามความหมายที่ระบุในสัญญา ซึ่งแม้ตามสัญญาจะให้สิทธิจำเลยที่จะนำวัสดุอื่นที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับผนังที่ก่ออิฐฉาบปูนมาใช้แทนได้โดยจำเลยมีใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประธานกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและหนังสือรับรองมาตรฐานคุณภาพ ไอเอสโอ 9002 ของบริษัท บ. มาแสดงก็ตาม แต่ก็เป็นการรับรองเพียงว่าผลิตภัณฑ์แผ่นยิปซัมที่จำเลยใช้ติดตั้งนั้นเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นถูกต้องตามมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทแผ่นยิปซัมเท่านั้น มิได้เปรียบเทียบกับสินค้าประเภทอื่น ทั้งมิได้มีข้อความรับรองคุณภาพเมื่อใช้กั้นเป็นผนังแล้วจะมีความคงทนเท่าเทียมกับผนังที่ก่อด้วยอิฐฉาบปูนแต่อย่างใด จึงรับฟังได้เพียงว่าแผ่นยิปซัมที่จำเลยนำมาใช้มีคุณภาพอยู่ในระดับหนึ่งของสินค้าประเภทเดียวกันเท่านั้น แต่ไม่มีคุณภาพเท่าเทียมกันกับผนังที่ก่อด้วยอิฐฉาบปูน เมื่อจำเลยใช้วัสดุก่อสร้างผิดจากข้อตกลงในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท อาหารผิดมาตรฐานและไม่บริสุทธิ์ ศาลฎีกาแก้โทษจำเลย
ปัญหาที่ว่า การกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐาน อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(3),60และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1),58 เป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกัน แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ในวันเดียวกัน และอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกันอีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองข้อหาด้วยเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท อาหารผิดมาตรฐาน - ไม่บริสุทธิ์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษปรับ/จำคุก
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็หยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ แม้ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานตามฟ้องข้อ ก. อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา25(3),60 และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องข้อ ข. อันเป็นความผิดตามมาตรา 25(1),58 จะเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกันก็ตาม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวในวันเดียวกันและอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกัน อีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวด้วยเจตนาต่างกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ไม่ ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันรวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้นรวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้นล้วนเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตและจำหน่ายน้ำปลาไม่ได้มาตรฐานตาม พ.ร.บ.อาหาร ถือเป็นความผิด 2 กรรม แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
น้ำปลาของกลางที่จำเลยผลิตขึ้นมีปริมาณไนโตรเจน ซึ่งช่วยเสริมสร้างโปรตีนให้ร่างกายต่ำกว่ามาตรฐานระหว่างร้อยละ 30.5ถึงร้อยละ 72 แสดงว่าน้ำปลาดังกล่าวไม่ได้มาตรฐานมีคุณค่าทางอาหารขาดเกินกว่าร้อยละ 30 ถือได้ว่าเป็นอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 มาตรา 27(2) แล้ว แม้ไม่ก่อให้เกิดโทษหรืออันตรายต่อผู้บริโภคก็ตาม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า"จำหน่าย" หมายความรวมถึงขาย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ในชั้นจับกุมจำเลยรับว่าผลิตน้ำปลาเพื่อจำหน่ายน้ำปลาของกลาง เชื่อได้ว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายถือว่าเป็นการจำหน่ายด้วย การผลิตอาหารปลอมคือน้ำปลาของจำเลย มีกรรมวิธีต่าง ๆจนกระทั่งเป็นน้ำปลาบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายได้ เป็นการกระทำอันหนึ่งเป็นกรรมหนึ่ง ส่วนการจำหน่ายซึ่งรวมถึงการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 เป็นการกระทำอีกอันหนึ่งเป็นอีกกรรมหนึ่งหลังจากกระทำการปลอมอาหารแล้วเป็นสองกรรมต่างกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตอาหารปลอมเกินมาตรฐาน โต้แย้งข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปใจความได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตอาหารประเภทเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห่งที่ต้องละลายก่อนบริโภคบรรจุซองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของเครื่องดื่มเกลือแร่ ๑ ลิตร ต้องมีปริมาณโซเดียม ๔๐ มิลลิอิควิวาเลนท์ แต่เครื่องดื่มเกลือแร่ที่จำเลยทั้งสองผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายมีปริมาณโซเดียมมากถึง๑๑๕ มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อเครื่องดื่มเกลือแร่ ๑ ลิตร มีปริมาณโซเดียมเกินกว่าร้อยละ ๑๘๗.๕ จากเกณฑ์สูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ถึงขนาดส่วนประกอบที่เป็นคุณค่าทางอาหารมีปริมาณเกินกว่าร้อยละ ๓๐ จากเกณฑ์สูงสุดและแตกต่างจากคุณภาพหรือมาตรฐานที่ระบุไว้จนทำให้เกิดโทษหรืออันตรายแก่ร่างกายผู้บริโภค อันเป็นอาหารปลอมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มิได้บรรยายว่าเมื่อบริโภคโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากตามฟ้องแล้วจะทำให้ผู้บริโภคได้รับโทษหรืออันตรายอย่างไร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาหากจำเลยให้การปฏิเสธ
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยทั้งสองจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โซเดียมจำนวนตามที่โจทก์ฟ้องไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายหรือไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ซึ่งมิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยทั้งสองจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โซเดียมจำนวนตามที่โจทก์ฟ้องไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายหรือไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ซึ่งมิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทกระดาษคราฟท์เพื่อเสียภาษี: พิจารณาจากคุณลักษณะและวัตถุดิบการผลิต ไม่ใช่แค่มาตรฐานอุตสาหกรรม
กระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกก็คือ กระดาษสีน้ำตาลที่มีความเหนียวมากกว่ากระดาษธรรมดาที่ใช้พิมพ์หนังสือหรือใช้ทำสมุดทั้งนี้เพราะกระดาษคราฟทเป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทำกล่อง ผิวกล่อง ถุงหลายชั้นหรือชั้นเดียวหรือใช้เป็นกระดาษสำหรับห่อสิ่งของหรือสินค้า ผลการตรวจสอบกระดาษตัวอย่างที่โจทก์ผลิตระบุว่า กระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษสำหรับทำผิวกล่อง (คือกระดาษคราฟทหรือกระดาษเหนียว)ตามที่กล่าวไว้ในมาตรฐานเลขที่มอก.170-2519 แต่มีคุณภาพด้านความเหนียวของกระดาษตัวอย่างต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเท่านั้น มิได้ปฏิเสธว่ามิใช่กระดาษคราฟท ดังนี้ต้องถือว่ากระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกดังที่กำหนดไว้ในบัญชีที่ 3 หมวด 5 สินค้าอื่น ๆ (1) ท้ายพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 โจทก์จึงได้ลดภาษีการค้าลงเหลือร้อยละ 1.5 ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบงานชำรุดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชา เป็นเหตุให้รั้วพังล้มลง แม้โจทก์จะอ้างว่า จำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้น โจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์นั้นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตอันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้รับใบอนุญาตให้ทำมิได้ทำให้เป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหล็กเส้นของกลางไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ผู้รับใบอนุญาตให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเป็นผู้ผลิต แต่ผลิตโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตเหล็กเส้นธรรมดา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานชั่งตวงวัดในการสั่งริบเครื่องวัดที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และสิทธิของเจ้าของเครื่องวัด
มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติมาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจและอำนาจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะที่จะสั่งให้คืนเครื่องวัดชนิดสายแถบผ้าของโจทก์ในเมื่อเห็นว่าพอจะแก้ไขให้ถูกต้องได้ หรือสั่งให้ริบหรือทำลายจนสิ้นเชิงเมื่อเห็นว่าทำไม่ถูกต้องและจะแก้ไขด้วยประการใด ๆ ที่สมควรก็ทำให้ถูกต้องไม่ได้
โจทก์ส่งเครื่องวัดชนิดลายแถบผ้าไปให้จำเลยรับรอง เมื่อเจ้าพนักงานได้ตรวจสอบและเห็นว่าเครื่องวัดชนิดสายแถบผ้าของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่อาจแก้ไขให้ดีได้และได้ใช้ดุลพินิจสั่งริบเครื่องวัดชนิดสายแถบผ้าของโจทก์แล้ว โจทก์จะขอให้ศาลสั่งเป็นอย่างอื่นโดยไม่มีข้ออ้างว่าเจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจไม่สุจริตหาได้ไม่
โจทก์ส่งเครื่องวัดชนิดลายแถบผ้าไปให้จำเลยรับรอง เมื่อเจ้าพนักงานได้ตรวจสอบและเห็นว่าเครื่องวัดชนิดสายแถบผ้าของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่อาจแก้ไขให้ดีได้และได้ใช้ดุลพินิจสั่งริบเครื่องวัดชนิดสายแถบผ้าของโจทก์แล้ว โจทก์จะขอให้ศาลสั่งเป็นอย่างอื่นโดยไม่มีข้ออ้างว่าเจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจไม่สุจริตหาได้ไม่