พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจา นายจ้างต้องแจ้งเหตุผล หากไม่แจ้ง เหตุผลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 ใช้ไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม การบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าจะกระทำเป็นหนังสือหรือกระทำด้วยวาจา นายจ้างต้องระบุเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบ หากทำเป็นหนังสือก็ต้องระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง แต่หากทำด้วยวาจาก็ต้องระบุเหตุผลไว้ในขณะที่บอกเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ด้วยวาจาแต่มิได้ระบุหรือแจ้งเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาจ้างไว้ในขณะที่บอกเลิกสัญญาจ้าง จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุโจทก์ทำผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างภายหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกจ้างด้วยวาจาและการยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119
ในการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้นั้น มีบัญญัติเป็นหลักทั่วไปไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582ซึ่งมิได้กำหนดไว้ว่าการบอกเลิกการจ้างจะต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การบอกเลิกการจ้างจึงอาจจะทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือเพื่อเลิกจ้างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย กำหนดมิให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วยเหตุนี้หากมีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติในสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบ ขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา ส่วนบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคสาม มีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างจะยกขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น มาตรา 17 วรรคสาม จึงมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้นายจ้างบอกเลิกการจ้างด้วยวาจา เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ไว้ในรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งมีสาระสำคัญถึงเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 119 คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยได้บอกเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว แม้จะเป็นการบอกเลิกจ้างด้วยวาจา จำเลยก็อาจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ จึงต้องสืบพยานและฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาสิ้นสุดคดีผิดสัญญาประกัน เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
ในคดีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันผู้ประกันนำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นนัดไต่สวน ถึงวันนัดผู้ประกันไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ประกันไม่ติดใจขอลดค่าปรับและจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับเข้ามาใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ประกันจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาผิดสัญญาประกัน: ผลกระทบจากการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 119
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาประกันฐานผิดสัญญาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ประกันจะฎีกาไม่ได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ซึ่งผู้ประกันจะฎีกาได้หรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ยื่นฎีกานั้นเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหนี้เงินกู้และการแจ้งยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 119
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้เงินกู้ (ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคหนึ่ง) เป็นแต่เพียงหนังสือทวงหนี้หาใช่หนังสือยืนยันหนี้สินอันจะเป็นการแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสี่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง(ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสอง)ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง(ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสอง)ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง