คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 120

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายสถานประกอบกิจการ-สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง-มาตรา 120 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน-คำวินิจฉัยผูกพัน
คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า การที่โจทก์ย้ายโรงงานและสำนักงานแห่งใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ไปรวมกับสำนักงานสาขาที่จังหวัดนครพนม เป็นการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว จำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยตามมาตรา 120 วรรคสี่ โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานจึงเป็นที่สุดและย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรา 120 วรรคห้า ซึ่งยุติไปแล้วมาอ้างในชั้นนี้
จำเลยทั้งสิบสองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 582 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง และระเบียบของโจทก์ฉบับที่ 2 เรื่อง การลา อันเป็นกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่การบอกเลิกสัญญาจ้างในกรณีทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญาภายหลังสืบพยาน: ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาทำร้ายร่างกายถึงบาดเจ็บตามมาตรา295 ในชั้นพิจารณาปรากฏว่าบาดแผลผู้เสียหายถึงอันตรายสาหัสจึงขอเพิ่มเติมฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา297 เช่นนี้ หาใช่เป็นแต่การแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิด คือ บทมาตราในกฎหมายที่บัญญัติความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องกล่าวไว้ในฟ้องเท่านั้นไม่จึงมิต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 164 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสาหัสของบาดแผลนี้เพิ่งมาปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลมิได้ปรากฏมาแต่ในชั้นสอบสวน โจทก์จึงฟ้องคดีในความผิดที่ยังไม่มีการสอบสวนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 (อ้างฎีกาที่750/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตาม ม.120 กรณีมีอาวุธต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ไม่จำเป็นต้องมีจำนวนพักพวกตามที่กฎหมายกำหนด
โจทบันยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกอีกหลายคนมีอาวุธสมคบกันต่อสู้ทำร้ายเจ้าพนักงาน ขอไห้ลงโทสตามม.120 ทางพิจารนาได้ความดังกล่าวนั้นก็ลงโทสตามม.120 ตอน 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสมคบกันต่อสู้เจ้าพนักงาน: ลงโทษตามมาตรา 120(2)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกอีกหลายคนมีอาวุธสมคบกันต่อสู้ทำร้ายเจ้าพนักงาน ขอให้ลงโทษตาม มาตรา120(2) ทางพิจารณาได้ความดังกล่าวนั้น ก็ลงโทษตามมาตรา 120 ตอน 2 ได้