พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามมาตรา 1336 ไม่เป็นบุคคลสิทธิ ไม่มีอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ส. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มชื่อ ท. และ ม.ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในส่วนของ ส. โดยไม่ได้กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจ จำเลยกลับกรอกข้อความเป็นว่าจำเลยมีอำนาจขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของส.ให้แก่จำเลย แล้วจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่จำเลยโจทก์นำคดีมาฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่จำเลยกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนแทน ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนตามมาตรานี้เป็นทรัพยสิทธิ เป็นสิทธิเหนือทรัพย์สิน ซึ่งผู้ทรงสิทธิมีสิทธิติดตามทรัพย์สินของตนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินยังคงสภาพอยู่ มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นบุคคลสิทธิเป็นสิทธิเหนือบุคคลตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163 เดิม คดีโจทก์จึงไม่มีกำหนดระยะเวลาฟ้องร้องหรืออายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามมาตรา 1336 เป็นทรัพยสิทธิ ไม่มีอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าส. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มชื่อท. และม.ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในส่วนของส. โดยไม่ได้กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจจำเลยกลับกรอกข้อความเป็นว่าจำเลยมีอำนาจขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของส.ให้แก่จำเลยแล้วจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่จำเลยโจทก์นำคดีมาฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่จำเลยกระทำไปโดยปราศจากอำนาจซึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนแทนส.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนตามมาตรานี้เป็นทรัพยสิทธิเป็นสิทธิเหนือทรัพย์สินซึ่งผู้ทรงสิทธิมีสิทธิติดตามทรัพย์สินของตนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินยังคงสภาพอยู่มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นบุคคลสิทธิเป็นสิทธิเหนือบุคคลตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา163เดิมคดีโจทก์จึงไม่มีกำหนดระยะเวลาฟ้องร้องหรืออายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน: สิทธิติดตามทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ไม่ผูกพันอายุความทั่วไป
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้มารดาโจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อส. และล. น้องของโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์แต่มารดาโจทก์กลับไปกรอกข้อความดำเนินการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่ตนเองแล้วมารดาโจทก์จะทะเบียนยกให้แก่จำเลยต่อไปและคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือมอบอำนาจกับหนังสือสัญญาขายที่ดินตามฟ้องเป็นโมฆะให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและยกให้ดังกล่าวทั้งขอให้พิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องด้านทิศใต้เนื้อที่6ไร่เป็นของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยมิชอบโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิดังกล่าวเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา227ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200บาทตามตาราง1ข้อ2ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกทรัพย์คืนไม่ใช่ละเมิด: อายุความตามมาตรา 1336 ไม่ใช่กฎหมายละเมิด
เงินสดของสหกรณ์ขาดบัญชี ฟ้องให้ผู้จัดการส่งเงินคืนไม่ใช่อายุความตามลักษณะละเมิด แต่เป็นการฟ้องติดตามเอาทรัพย์คืนตาม มาตรา 1336 ไม่ใช่เรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7730/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเงินคืนจากจำเลยที่ได้รับไปโดยไม่ชอบ ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
เงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ พ 27/2550 เรื่อง การออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2550 ข้อ 4.5 (2) ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนมิใช่ฟ้องเรียกในฐานลาภมิควรได้ อันจะอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรืออายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 การเรียกร้องในกรณีนี้เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนที่จำเลยได้ไปโดยไม่ชอบและโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
เหตุที่กระทรวงการคลังและโจทก์มีระเบียบให้โจทก์จ่ายภาษีเงินได้จากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นภาษีเงินได้ทอดแรกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานก็เพื่อบรรเทาภาระที่จำเลยต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนนี้ ประกอบกับโจทก์ได้หารือไปยังกรมสรรพากรแล้วก็ได้รับคำยืนยันว่าจำเลยไม่ได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าว หากจำเลยไม่ต้องรับภาระจ่ายเงินภาษีเงินได้จำนวนนี้ก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ลักษณะการจ่ายเงินเช่นนี้มิใช่เพื่อจูงใจให้จำเลยลาออกเพราะจำเลยมีผลประโยชน์ในส่วนอื่นที่จะได้รับจากการลาออกอยู่แล้ว เงินภาษีเงินได้ทอดแรกที่โจทก์จ่ายให้จำเลยกับเงินภาษีเงินได้ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กรมสรรพากรคืนให้จำเลยจึงเป็นเงินประเภทเดียวกันซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิได้รับซ้ำซ้อนกันถึงสองครั้ง จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีเงินได้ทอดแรกให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิคิดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดทวงถาม มิใช่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เนื่องจากก่อนทวงถามยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลยหรือไม่
เหตุที่กระทรวงการคลังและโจทก์มีระเบียบให้โจทก์จ่ายภาษีเงินได้จากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นภาษีเงินได้ทอดแรกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานก็เพื่อบรรเทาภาระที่จำเลยต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนนี้ ประกอบกับโจทก์ได้หารือไปยังกรมสรรพากรแล้วก็ได้รับคำยืนยันว่าจำเลยไม่ได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าว หากจำเลยไม่ต้องรับภาระจ่ายเงินภาษีเงินได้จำนวนนี้ก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ลักษณะการจ่ายเงินเช่นนี้มิใช่เพื่อจูงใจให้จำเลยลาออกเพราะจำเลยมีผลประโยชน์ในส่วนอื่นที่จะได้รับจากการลาออกอยู่แล้ว เงินภาษีเงินได้ทอดแรกที่โจทก์จ่ายให้จำเลยกับเงินภาษีเงินได้ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กรมสรรพากรคืนให้จำเลยจึงเป็นเงินประเภทเดียวกันซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิได้รับซ้ำซ้อนกันถึงสองครั้ง จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีเงินได้ทอดแรกให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิคิดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดทวงถาม มิใช่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เนื่องจากก่อนทวงถามยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลยหรือไม่