คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 137

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน และการใช้เอกสารทางทหารที่ไม่แท้จริง ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำฟ้องในข้อหาฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆอีกทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องคือเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวประชาชน.ที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมาซึ่งพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วแม้จะไม่ได้ระบุชื่อของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งมาในฟ้องด้วยก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม. จำเลยเป็นคนญวนยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวโดยอ้างว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย.แม้ผู้รับแจ้งจากจำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวแต่ก็ได้นำเรื่องเสนอต่อช.และว.ซึ่งเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่ฝ่ายบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อตรวจหลักฐานแล้วดำเนินการส่งต่อไปยังกองบัตรประจำตัวประชาชนถือว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267เพราะผู้ที่รับแจ้งจากจำเลยและเป็นผู้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องกันส่วนเงินไม่ใช่การแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำร้องขอกันส่วนเงินของจำเลยเป็นคำคู่ความ การยื่นคำร้องดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 จึงจะนำมาตราดังกล่าวมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้เพราะมาตรานี้มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่การยื่นคำคู่ความต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดมาตรา 137 ต้องมีผู้เสียหายจากการแจ้งเท็จ และโจทก์ในฐานะผู้เช่าไม่ได้รับความเสียหายจากการโอนกรรมสิทธิ์
กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้นนอกจากจะแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแล้วข้อความที่แจ้งต้องอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายด้วยเมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์อาจได้รับความเสียหายอย่างไรแม้จะพิจารณาฟ้องโจทก์ทั้งเรื่องก็ยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่าโจทก์อาจได้รับความเสียหายอย่างไรจากการกระทำของจำเลยในข้อที่โจทก์เป็นผู้เช่าตึกแถวเมื่อมีการโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือแม้แต่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวที่เช่าด้วยสิทธิของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระเทือนโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ต้องมีข้อความสำคัญตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 นั้นหมายถึงคดีที่ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากคำคู่ความหรือพยานหลักฐานแล้วเท่านั้นคดีที่ศาลชั้นต้นพิจารณาฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้องไม่จำต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่ว่าแจ้งเองหรือให้การเป็นพยานเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 นั้น ไม่ว่าจะไปแจ้งเองหรือตอบคำถามที่เจ้าพนักงานเรียกไปสอบสวนเป็นพยาน ก็เป็นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งมาตรานี้ทั้งนั้น