พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาของผู้ป่วยทางจิต: ขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้นั้น อาจเป็นเพราะ ศาลสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอ ข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มิได้พิจารณาคำร้องของธ.น้องจำเลยที่อ้างว่าจำเลยวิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณา และพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อนไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และศาลฎีกามีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14 และ 41
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ศาลจำคุก 6 เดือน ต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุรา ศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียว ที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญา และมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือน ศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษซ้ำหลังพ้นโทษ: อำนาจศาลตามมาตรา 14 และ 41 ประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ ศาลจำคุก 6 เดือนต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุราศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปีแต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือนความผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียวที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญาและมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือนศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้